Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Blue Peacock

บลูพีค๊อค (Blue Peacock) เป็นกับระเบิด (land mind) ชนิดระเบิดนิวเคลียร์​ ที่อังกฤษพัฒนาขึ้นมาในช่วงปี 1950s ในช่วงของสงครามเย็น โดยนำไปวางเอาไว้บริเวณทุ่งราบทางตอนเหนือของเยอรมัน โดยที่กับระเบิดนี้ถูกควบคุมการระเบิด ได้ด้วยการตั้งเวลาล่วงหน้า 8 วัน ,การสั่งผ่านทางสายไฟฟ้าที่ยาว 4.8 กิโลเมตร , และหากมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน

บลูพีค๊อค มีน้ำหนัก 7.2 ตัน โดยดัดแปลงมาจากระเบิดนิวเคลียร์ บลู ดานูบ (Blue Danube) ซึ่งเป็นระเบิดนิวเคลียร์แบบทิ้งลงมาทางอากาศ ประโยชน์ของระเบิดนิวเคลียร์แบบกับระเบิดบลูพีค๊อค คือ นอกจากจะทำลายศัตรูที่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ได้แล้ว ยังป้องกันไม่ให้พื้นที่ตรงนั้นถูกนำไปใช้งานได้อีกด้วย เครื่องจากกัมตรังสีที่ตกค้างหลังการระเบิด 

สถาบันพัฒนาและวิจัยอาวุธแห่งอังกฤษ (Royal Armament Research and Development Establishment, RARDE) ที่อยู่ในเมืองเคนต์ (Kent) เป็นผู้พัฒนาบลูพีค๊อคขึ้นมาในปี 1954 

ต่อมาในปี 1957 อังกฤษนำบลูพีค๊อคไปติดตั้งในเยอรมัน โดยอ้างว่าเป็นอุปกรณ์ในการกำเนิดพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับกองทัพเพื่อใช้งานภาคสนาม 

1958 กุมภาพันธ์, อังกฤษยุติการพัฒนาบลูพีค๊อค เนื่อจากเห็นว่ามีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเนื่องจากไม่สามารถควบคุมกัมมันตรังสีที่ถูกปล่อยออกมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เป็นผลเสียกับตนเองและชาติพันธมิตรด้วย

2004 1 เมษายน, เอกสารเกี่ยวกับโครงการพัฒนาบลูพีค๊อคถูกลดชั้นความลับ และได้เผยแพร่ออกมา ทำให้เห็นว่าเหตุผลหนึ่งที่โครงการถูกยกเลิกไปน่าจะเป็นเหตุผลทางเทคนิค เพราะว่าอากาศที่หนาวเย็นขณะนำบลูพีค๊อคไปฝังใต้ดินในเยอรมัน อาจจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ขัดข้องจนระเบิดไม่ทำงาน แต่ว่าได้มีการเสนอให้เอาไก่เป็นๆ ใส่เอาไว้ในระเบิดด้วย ซึ่งไก่จะได้รับอาหารเพียงพอเป็นอาทิตย์ และอุณหภูมิของตัวไก่จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เย็นเกินไป

แต่เพราะว่าเอกสารถูกเปิดเผยตรงกับวันที่ 1 เมษายน หลายคนจึงคิดว่ามันเป็นเรื่องโกหก 

Don`t copy text!