Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Panic of 1819

วิกฤต 1819

ถูกเรียกว่าเป็นวิกฤตทางการเงินครั้งแรกของสหรัฐฯ โดยลุกลามไปอย่างช้าๆ ตามแนวรัฐผ้าฝ้าย (Cotton Belt) ซึ่งหมายถึงกลุ่ม รัฐทางใต้ของสหรัฐฯ ซึ่งเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการปลูกฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจ 

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากสงครามนโปเลียน (Napoleonic, 1803-1815) ในยุโรป   สหรัฐอเมริกาในเวลานั้นยังคงเป็นประเทศเกิดใหม่ ที่มีประชากร 22 ล้าน และเศรษฐกิจก็ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรมเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยมีพืชเศรษฐกิจสำคัญนอกจากฝ้ายแล้ว ได้แก่ ยาสูบและข้าวสาลี โดยที่นิวยอร์ค, ฟิลาเดลเฟีย และบอสตัน เป็นเมืองหลักที่เป็นศูนย์กลางในการทำการค้า แต่ว่าระบบการเงินยังอ่อนแอ โดยเงินของสหรัฐฯ ในเวลานั้นอ้างอิงกับโลหะมีค่าสองตัว คือ โดยเหรียญแบบอ้างอิงกับทองคำ และเหรียญที่สองอ้างอิงกับโลหะเงิน โดยเหรียญเงินถูกผลิตมาจากอังกฤษ, โปตุเกส และฝรั่งเศส

1803 อเมริกาซื้อหลุยส์เซียน่า (Louisiana) มาจากฝรั่งเศส แต่ว่ารัฐบาลของเจฟเฟอร์สัน (Jefferson) ขณะนั้นไม่มีเงิน ซึ่งได้ออกพันธบัตรกระทรวงการคลังมุลค่า 11.25  ล้านเหรียญขายให้กับนักลงทุนทั้งในแต่ต่างประเทศ โดยให้ดอกเบี้ย 6 เปอร์เซ็นต์  ส่วนการชำระเงินค่าซื้อรัฐหลุยส์เซียน่านั้น มีกำหนดที่จะต้องจ่ายเงินงวดแรกเป็นทางคำให้กับฝรั่งเศสในปี 1818

1811 ธนาคาร The First Bank of the United States ล่ม

1812 เมื่อเกิดสงครามในปี 1812 (War of 1812) ระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษ

มิถุนายน, สหรัฐฯ ประกาศสงครามกับอังกฤษ ด้วยเหตุผลว่าอังกฤษปิดล้อมทางเศรษฐกิจต่อฝรั่งเศสมีผลกระทบกับสหรัฐฯ ,​ การที่อังกฤษบังคับให้ชาวอเมริกันต้องไปเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, และการที่อังกฤษสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆ ทะเลสาบเกรทเลค (the Great Lakes)ที่ต่อต้านอเมริกา นอกจากนั้นสหรัฐฯ ยังหวังที่จะได้ดินแดนแคนนาดาและฟลอริด้า ที่ขณะนั้นอยู่ในครอบครองของอังกฤษ 

หลังการประกาศสงคราม สหรัฐฯ ก็ส่งทหารบุกแคนาดา 

1814 เมษายน, นโปเลียน ถูกบังคับให้ต้องสละราชสมบัติ เมื่ออังกฤษเป็นฝ่ายมีชัยในสงครามในยุโรป หลังจากนั้นอังกฤษก็ทุ่มเททรัพยากรทางทหารเพื่อมารบกับสหรัฐฯ 

สิงหาคม, อังกฤษยึดวอชิงตัน ดี.ซี (Washington, D.C.) เอาไว้ได้ และก็จัดการเผาทำเนียบขาว 

กันยายน, สหรัฐเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะหลายครั้งในการรบทางทะเลกับอังกฤษ 

14 ฮันวาคม, สหรัฐฯ และอังกฤษ ได้ทำสนธิสนัญญาเก็นต์ (Threaty of Ghent) เพื่อยุติสงคราม 1812 ระหว่างกัน 

1815 หลังสงคราม อังกฤษ และยุโรปต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพราะว่าความสูญเสียจากสงคราม โรงงานต่างๆ ในอังกฤษซึ่งเคยผลิตสินค้าอุตสาหกรรมป้อนกองทัพก็ต้องปิดตัวลงเพราะความต้องการสินค้าจากกองทัพหายไป คนจำนวนมากก็ว่างงาน

อังกฤษพยายามแก้ปัญหาการว่างงานและการปิดโรงงานด้วยการส่งเสริมการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ด้วยการทุ่มตลาด เมื่อสินค้าคุณภาพดีจากอังกฤษหลั่งไหลเข้ามาสุ่สหรัฐฯ ในราคา ซึ่งทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันพึงพอใจ แต่บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ​ ก็เรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ

แต่ภารการเกษตรของยุโรปนั้นเผชิญกับปัญหาผลผลิตตกต่ำ จนไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงประชากร ทำให้ เกิดการบูมในภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เพื่อผลิตสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกไปขายอย่างยุโรป

พรรค  Federalist Party พ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง และหมดอิทธิพลในการเมืองสหรัฐฯ ไป ในขณะที่พรรคเดโมแครต-รีพับพลิกัน (Democratic-Republican Party) ซึ่งสนับสนุนแนวคิดแบบเสรีนิยมของโธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ก็เข้ามากุมกำนาจ

เมื่อสงครามยุติ เศรษฐกิจของอเมริกาก็ยิ่งขยายตัว ระหว่างปี 1815-1818 

ประกอบกับการที่ภูเขาไฟตามโบร่า (Mount Tambora) ในอินโดนีเซีย เกิดระเบิดครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติที่มีการบันทึกเอาไว้ 

1816 ด้วยอิทธิพลการระเบิดของภูเขาไฟในอินโดนีเซีย ปี 1816 ถูกเรียกว่าเป็นปีที่ไร้ฤดูร้อน ( A Year without summer) เพราะเถ้าถ่านจากภูเขาไฟปกคลุมไปทั่วโลก การที่แสงแดดไม่เพียงพอทำให้ผลผลิตการเกษตรตกต่ำไปทั่วยุโรป และราคาสินค้าก็เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นอากาศยังหนาวผิดปกติ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยุโรปต้องนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ​ จำนวนมาก

Tariff of 1816 (Dallas Tariff) เป็นกฏหมายภาษีศุลกากรฉบับแรกของสหรัฐฯ ซึ่งออกมาเพื่อคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศจากคู่แข่งจากต่างประเทศ 

Second Bank of the United State (SBUS) ถูกตั้งขึ้นมา ซึ่งทำหน้าที่เสมือนธนาคารกลางของรัฐ คอยดูแลเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ   SBUS เริ่มก่อตั้งด้วยเงินทุน 35 ล้านเหรียญ มีบทบาทสำคัญในการให้เครดิตเพื่อให้เกษตรกรไปซื้อที่ดินราคาถูกในด้านตะวันตก เพื่อขยายการผลิตฝ้าย  ยาสูบและข้าวสาลี นอกจากนั้นเงินกู้ยังถูกนำไปซื้อทาสเพื่อเป็นแรงงานในการผลิต

โดยเงินทุนของ SBUS ลดลงเหลือ 22 ล้านเหรียญในปี 1818 และเหลือ 12 ล้านเหรียญ ในปี 1819 

ที่ดินการเกษตรจากเดิมราว 1 ล้านเอเคอร์ ในปี 1815 ถูกเพิ่มเป็น 3.5 ล้านเอเคอร์ในปี 1819 โดยที่ดินเหล่านี้ประชาชนไปกู้เงินเพื่อมาซื้อจากรัฐบาล โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของอเมริกานั้นที่จริงไม่มีเงินในการซื้อที่ดิน แต่ว่ารัฐบาลยอมให้พวกเขาซื้อโดยใช้เครดิต

1817 วิลเลี่ยม โจนส์ (William Jones) ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดีเจมส์ เมดิสัน (James Madison) ให้เป็นประธานของ the Second Bank of the United States

มีนาคม, เจมสห์ มอนโร (James Monroe) รับตำแหน่งประธานาธิบดี

ราคาข้าวสาลีเริ่มตกลง และราคาฝ้ายก็ตกลงอย่างรวดเร็ว เพราะอังกฤษสามารถซื้อข้าวสาลีและฝ้ายจำนวนมากได้เพียงพอจากทั้งแหล่งในสหรัฐฯ​ และอินเดีย

เมื่อราคาข้าวสาลีและฝ้ายตกลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาฟองสบู่ในภาคการเงิน อสังหาริมทรัพย์ จากการปล่อยกู้ของธนาคารเพื่อซื้อที่ดิน ก็เริ่มมีปัญหา เกษตรกรไม่สามารถขายสินค้าได้ราคาเหมือนที่คาดไว้เพื่อมาจ่ายคืนเงินกู้ที่ครบกำหนดเวลา

1819 การเกษตรของยุโรปกลับมาเป็นปกติทำให้ราคาสินค้าเกษตรของอเมริกาตกต่ำลง เพราะยุโรปเป็นตลาอดส่งออกสินค้ากว่า 70% ของอเมริกา โดยครึ่งหนึ่งเป็นอังกฤษ

ภาวะความรุ่งเรืองของการค้า การส่งออกมาถึงช่วงที่หยุดชะงัก เกษตรกรไม่มีเงินที่จะไปชำระเงินกู้ที่กู้มา

ประกอบกับเมื่อถึงกำหนดในการชำระเงินค่างวดในการซื้อรัฐหลุยส์เซียน่า ธนาคาร SBUS ไม่มีเงินสำรองเพียงพอ ธนาคารจึงได้เรียกเงินคืนกู้จากเกษตรกรที่กู้ไปซื้อที่ดินในทันที ทำให้เกษตรกรไม่มีเงินจ่ายและพากันล้มละลาย เป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤต 1819 

ฟองสบู่แตกออกมาให้เห็นชัดเจน GDP ของสหรัฐฯ ตกลงเกือบ 20%

1820 รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฏหมาย the Land Act of 1820 โดยประกาศลดราคาที่ดินลงจาก 2 เหรียญต่อเอเคอร์ เหลือ 1.25 เหรียญ ,ลดขนาดที่ดินขั้นต่ำจาก 160 เอเคอร์เหลือ 80 เอเคอร์ เพื่อช่วยให้คนยากจนเข้าถึงที่ดินได้ง่ายขึ้น

1821 รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฏหมาย the Relife Act of 1821 อนุญาตให้เกษตรกรที่ซื้อที่ดินก่อนปี 1820 ซึ่งมีราคาสูง สามารถคืนที่ดินให้กับรัฐบาล

1823 วิกฤตจบลง

Don`t copy text!