โอลก้า แห่ง เคียฟ
ปีเกิดของโอลก้านั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดราวปี c.890–925 โดเปลสคอฟ, เคียฟรัสเซีย (Pleskov, Kievan Rus) โดยนางสืบเชื้อสายมาจากชาวไวกิ้ง (Viking)
เมื่ออายุราว 15 ปี โอลก้าได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชาย อิกอร์ แห่ง เคียฟ (Prince Igor I of Kiev) ซึ่งเป็นพระโอรสของรูริค (Rurik) ชาวไวกิ้ง ผู้ก่อตั้งราชวงศ์รูริค (Rurik dynasdy) ขึ้นในนอฟโกรอด (Novgorod) ซึ่งราชวงศ์รูริคเป็นราชวงค์ปฐมของรัสเซีย
โอลก้าและเจ้าชายอิกอร์มีโอรสหนึ่งองค์ คือเจ้าชาย สเวียโตสลาฟ (Sviatoslav)
หลังจากกษัตริย์รูริค สวรรคต อิกอร์ก็ขึ้นครองราชย์ แต่ว่าอยู่ภายใต้การดูแลของ โอเล็ก (Oleg) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งโอเล็กได้ทำสงครามขายอาณาจักร พิชิตชนเผ่าข้างเคียงและรวบรวมดินแดนเข้ามา และได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ คือ กรุงเคียฟ (Kiev) ซึ่งเป็นการถือกำเนิดของอาณาจักรเคียฟรัสเซีย , หรือคีวานรัส (Kievan Rus)
ต่อมาคีวานรัส ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีอาณาไบเซนไทน์ (Byzantine Empire) ซึ่งในสงครามนี้มีชนเผ่าเดรฟเลียน (Drevlians) ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ยอมสวามิภักดิ์ให้กับคีวานรัสเข้าร่วมรบด้วย นอกจากนี้เผ่าเดรฟเลียนยังได้ส่งบรรณาการณ์ให้กับเคียฟรัสเซียด้วย
แต่เมื่อโอเล็ก ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการณ์ฯ เสียชีวิตลง ชาวเผ่าเดรฟเลียนก็หยุดที่จะส่งบรรณาการณ์ให้กับทางเคียฟรัส
945 อิกอร์ได้นำทหารบุกกรุงอิสโกรอสเท็น (Iskorosten) เมืองหลวงของเดรฟเลียน และบังคับให้เดรฟเลียนกลับมาส่งบรรณาการณ์ให้ดังเดิม ซึ่งในตอนแรกเดรฟเลียนยอมที่จะส่งบรรณาการณ์เหมือนเดิม แต่เมื่ออิกอร์เสด็จกลับ ระหว่างทางพระองค์ก็เห็นว่าบรรณาการณ์ที่ได้มานั้นมันน้อยเกิน จึงได้นำทหารเดินทางมุ่งหน้ากลับมายังกรุงอิสโกรอสเท็นอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าเมื่อเข้ายังบริเวณชายแดนของพวกเดรฟเลียน อิกอร์ก็ถูกประทุษร้ายจนพระองค์สวรรคต
หลังจากอิกอร์สววรคต โอลก้าก็ขึ้นมาปกครองเคียฟรัสเซีย ในฐานะผู้สำเร็จราชการฯ แทนเจ้าชายสเวียโตสลาฟ ซึ่งยังคงพระเยาว์ มีพระชมษ์เพียง 3 ชันษา
ฝ่ายเดรฟเลียนที่ดีใจกับการที่สามารถปลงพระชนม์อิกอร์ได้ ก็ฮึกเหิมและได้ส่งสานส์มายังโอลก้า เสนอให้พระองค์อภิเษกกับเจ้าชายมาล (Prince Mal) ของชาวเดรฟเลียน
ชาวเดรฟเลียนได้ส่งเจ้าหน้าที่ทูตหลายคนมายังเคียฟ เพื่อยื่นข้อเสนอของกษัตริย์ของพวกเขาให้กับโอลก้า แต่ว่าโอลก้าได้สั่งให้จับตัวคณะทูตเหล่านั้นไปฝังดิน
ต่อมาเดรฟเลียนได้ส่งทูตคณะที่สองตามมา โดยที่ไม่ได้รู้ถึงชะตากรรมของทูตคณะแรก คณะทูตชุดที่สองนี้ถูกหลอกให้ไปอาบน้ำก่อนที่จะเข้าเฝ้า แต่ว่าเมื่อพวกเขาไปอาบน้ำ โอลก้าก็สั่งให้ทหารจุดไฟเผาห้องอาบน้ำ จนเหล่าทูตถูกไฟครอกตายทั้งเป็น
หลังจากนั้นโอลก้าได้ส่งราชสาส์นไปยังกษัตริย์ของเดรฟเลียน โดยในสาส์นได้บอกให้ชาวเดรฟเลียนเตรียมสุราเมรัยเอาไว้ให้พร้อม เพราะโอลก้าจะเสด็จไปยังเมืองที่อิกอร์ถูกสังหารและจะได้จัดงานพระศพไว้อาลัยให้กับอิกอร์
และเมื่อถึงเวลาที่นัดหมายเอาไว้ โอลก้าได้เสร็จไปยังสุสานที่ฝังพระศพของอิกอร์และประกอบพิธีไว้อาลัยจริง โดยที่ชาวเดรฟเลียนที่เข้าร่วมในพิธีต่างพากันดื่มสุรากันอย่างหนัก จนเมามายจนหมดสติ โอลก้าจึงได้ถือโอกาสนี้สั่งให้ลูกน้องที่ติดตามพระองค์มาสังหารชาวเดรฟเลียนเหล่านั้น ซึ่งภายในคืนดังกล่าวพงศาวดารบันทึกเอาไว้ว่ามีชาวเดรฟเลียนถูกสังหารถึงห้าพันคน และหลังจากวันนี้โอลก้าได้กลับมายังเคียฟและเตรียมกองทัพเพื่อกลับไปกวาดล้างชาวเดรฟเลียนที่ยังคงรอดชีวิต
โอลก้านำกองทัพบุกเมือง Iskorosten ซึ่งโอลก้าปิดล้อมเมืองเอาไว้กว่าหนึ่งปีแต่ยังไม่สามารถเอาชนะได้ โอลก้าจึงได้คิดอุบายขึ้นเพื่อเอาชนะ .. โอลก้าได้ส่งสาสน์ถึงชาวเมือง Iskorosten ให้ยอมแพ้และยอมเสียเงินบรรณาการณ์ แล้วทุกคนจะได้กลับไปใช้ชีวิตทำไร่ทำสวนกันอย่างสันติสุข
ชาวเดรฟเลียนตอบโอลก้ามาว่า พวกเขาจะยอมเสียเงินบรรณาการณ์แต่ว่ายังไม่อาจจะไว้ใจโอลก้าว่าจะหยุดแก้แค้นให้พระสวามีจริงหรือ ?
โอลก้าจึงได้ตอบกลับไปอีกว่า พระองค์ได้สังหารทูตที่ถูกส่งไปถึงสองครั้ง และยังได้สังหารชาวเดรฟเลียนอีกมากมายในคืนที่ทำพิธีไว้อาลัยแก่อิกอร์ นั่นเพียงพอแล้วสำหรับนาง … และโอลก้าก็เขียนข้อเรียกร้องเล็กๆ น้อยๆ ลงไปในสาส์น : โอลก้าขอให้ชาวเมืองมอบนกพิราบและนกกระจิ๊บเพียงบ้านละสามตัวเป็นบรรณาการณ์
ชาวเดรฟเลียนในเมืองซึ่งเห็นข้อเรียกร้องที่โอลก้าต้องการเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ จึงเกิดความยินดีและเต็มใจจะหานกตามที่โอลก้าต้องการมาให้เพื่อแลกกับสันติภาพ
ครั้นเมื่อโอลก้าได้นกมาแล้ว พระนางก็สั่งให้ทหารเอาเศษผ้าติดกับตัวนกทุกตัว จนกระทั้งเมื่อถึงยามค่ำ พระนางก็สั่งให้จุดไฟที่เศษผ้าที่ติดกับตัวนก แล้วปล่อยให้นกบินกลับรังของมันในเมือง นั่นทำให้เกิดไฟลุกไหม้เมือง Iskorosten อย่างรวดเร็ว จนประชาชนต้องพากันหนีตายจากการถูกไฟครอกออกมา แล้วโอลก้าก็สั่งให้ทหารสั่งหารคนที่หนึเพลิงออกมา ไม่ก็จับไปเป็นทาส
หลังจากสงครามกับเดรฟเลียน โอลก้ายังคงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระโอรสและปกครองเคียฟรัส พระองค์ได้มีการปรับปรุงกฏหมายใหม่ มีการสร้างเส้นทางเดินเรือตามแม่น้ำ และเมืองท่าสำหรับการค้า ปรับปรุงระบบการเก็บบรรณาการณ์
950s ราวปี 955-957 โอลก้าเสด็จไปยังคอนสแตนติโนเปิ้ล (Constantinople) เมืองหลวงของไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) ในเวลานั้น ซึ่งเป็นสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน ที่ 7 (Constantine VII) ซึ่งจักรพรรดิและพระสังฆราชได้ช่วยให้โอลก้าเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ โดยทรงได้รับพระนามใหม่ว่า เฮเลน่า (Helena) แต่ว่าเมื่อโอลก้ากลับมายังเคียฟ พระนางไม่สามารถที่จะโน้มน้ามให้กษัตริย์สโตเวียสลาฟเปลี่ยนมานับถือคริสต์ได้
968 Siege of Kiev, ชนเผ่าเพเชเน็กส์ (Pechenegs) ซึ่งป็นชนเผ่าเชื้อสายเติร์ก กึ่งเร่ร่อนในอาศัยจังหวะที่กษัตริย์สเวียโตสลาฟ ยกทัพอิอกไปทำสงครามกับบัลกาเรีย บุกกรุงเคียฟ และปิดล้อมเมืองเอาไว้ ขณะนั้นโอลก้าก็ยังคงอยู่ในเมืองและเกือบจะยอมแพ้ แต่ว่าสเวียโตสลาฟได้กลับมาช่วยปลดปล่อยเคียฟได้ทัน
969 โอลก้าสวรรคตจากอาการประชวร
988 วลาดิมีร์ (Vladimir the Great) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของโอลก้า สามารถเปลี่ยนคีวานรัส เป็นคริสต์ได้สำเร็จ
1547 คริสต์รัสเซียนออโธดอกซ์ ได้แต่งตั้งให้โอลก้าเป้นนักบุญ (Saint)