มนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) เป็นฟอสซิลโฮโม อิเร็กตัส (Homo erectus pekinensis) ซึ่งค้นพบในปี 1921 บริเวณถ้ำโจวโควเตี้ยน (Zhokoudian cave) ในมณฑลปักกิ่ง ของจีน ซึ่งถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำที่มีการขุดพบชิ้นส่วนของโฮโม อิเร็กตัสมากที่สุดของโลก
โดยในปี 1921 อ๊อตโต้ ซดานสกี้ (Otto Zdansky) นักบรรพชีวินวิทยา (palaeontologist) ชาวออสเตรีย ซึ่งทำงานเป็นผู้ช่วยของโจฮัน แอนเดอร์สัน (Johan Gunnar Anderssson) นักโบราณคดีชาวสวีเดน และวอลเตอร์ แกรนเจอร์ (Walter Granger) นักโบราณคดีชาวอเมริกา ร่วมกันสำรวจบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และซดานสกี้ได้ขุดพบชิ้นส่วนของฟันของมนุษย์ปักกิ่ง (PMU M3550) แต่ว่าในขณะนั้นเขาไม่ได้รายงานการค้นพบดังกล่าว จนกระทั้งปี 1926
1926 เดวิสัน แบล๊ก(Davidson Black) ซึ่งทำงานอยู่ที่วิทยาลัยแพทย์ปักกิ่ง (Peking Union Medical College) และได้รับทุกจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ให้ทำการสำรวจถ้ำโจวโควเดี้ยน แบล๊ก จึงได้รับตัวอย่างฟันกล้ามที่ซดานสกี้เก็บเอาไว้ และแบล๊กคิดว่ามันเป็นฟันของมนุษย์สายพันธุ์หนึ่งที่แตกต่างจากปัจจุบัน เขาจึงตั้งชื่อ Sinanthropus pekinensis ให้กับมนุษย์ปักกิ่ง
1927 16 ตุลาคม, แอนเดอร์ โบห์ลิน (Anders Birger Bohlin) นักศึกษาโบราณคดีจากสวีเดน ขุดพบชิ้นส่วนฟันของมนุษย์ปักกิ่ง (K11337:3) อีก
1937 การขุดสำรวจที่ถ้ำโจวโควเตี้ยน ต้องยุติลง หลังจากญี่ปุ่นบุกจีน
1941 ในช่วงของสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเป็นช่วงเวลาเดียวกับสงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 (2nd Sino-Japanese war) ซากฟอสซิลของมนุษย์ปักกิ่งราว 40 ชิ้น ถูกนำใส่กล่องไม้ เพื่อที่จะส่งไปขึ้นเรือ SS President Harrison (USMC 58751) ซึ่งเป็นเรือโดยสารและขนสินค้าแบบไอน้ำ ปกติวิ่งในเส้นทางระหว่างฟิลิปปินส์และจีน เรือ SS President Harrison มีกำหนดที่จะมาจอดที่ท่าเรือเมืองฉินฮวงเต๋า (Qinhuagdao Port) โดยหวังว่าจะนำชิ้นส่วนฟอสซิลเหล่านี้ไปเก็บไว้ในยังสถานที่ปลอดภัยในสหรัฐฯ ระหว่างที่เกิดสงคราม
7 ธันวาคม, ระหว่างที่เรือกำลังมุ่งหน้าไปยังฟิลิปปินส์ กัปตันเรือก็ได้รับข่าวว่าญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) กัปตัน โอเรล เพียร์สัน (Orel A. Pierson) จึงได้ตัดสินใจย้อนกลับมายังจีน แต่ว่าระหว่างทางถูกเรือของญี่ปุ่นตรวจเจอและติดตาม
8 ธันวาคม, กัปตันโอเรล เพียร์สัน เมื่อรู้ว่ามีเรือรบญี่ปุ่นไล่ติดตามเรือ SS President Harrison เขาจึงตัดสินใจที่จะรักษาชีวิตลูกเรือ โดยการนำเรือ SS President Harrison เข้าเกยตื้นที่เกาะ Shaweishan Island และใช้เรือชูชีพลำเลียงลูกเรือขึ้นเกาะ แต่ว่าต่อมาทหารญี่ปุ่นตามมาจับลูกเรือทั้งหมดบนเกาะเป็นเชลยสงคราม และยึดเรือ SS President Harrion เอาไว้
ต่อมาทหารญี่ปุ่นได้กู้เรือออกจากบริเวณน้ำตื่นได้ โดยที่เล่ากันว่าทหารญี่ปุ่นได้ทิ้งสิ่งของบรรทุกหลายสิบตันออกจากเรือ เพื่อให้เรือเบาลงและสามารถลากออกจากแนวน้ำตื่นได้
เรือถูกนำไปซ่อมที่ท่าเรือในกังนาม (Gangnam shipyard) และต่อมาก็นำมาซ่อมที่เซียงไฮ้ ซึ่งหลังจากซ่อมเสร็จถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Kakko Maru และต่อมาเปลี่ยนเป็น Kachidoki Maru (勝鬨丸) และตกเป็นสมบัติขององค์การไปรษณีย์ญี่ปุ่นในเซียงไฮ้
1944 12 กันยายน, เรือ Kachidoki Maru ถูกตอร์ปิโดของสหรัฐฯ ยิงจนจมลงในทะเล
ชิ้นส่วนฟอสซิลของมนุษย์ปักกิ่งที่ถูกขนออกมานั้นสูญหายไปอย่างไรร่องลอย ทำให้เกิดข่าวลือขึ้นมาหลากหลายเกี่ยวกับฟอสซิลมนุษย์ปักกิ่งเหล่านี้ อาทิ
– ฟอสซิลของมนุษย์ปักกิ่ง หายไปก่อนที่จะถูกนำขึ้นเรือ SS President Harrion เพราะทหารญี่ปุ่นยึดขบวนรถไฟที่ขนฟอสซิลมาด้วยระหว่างที่กำลังจะส่งไปลงเรือ SS President Harrrison
– ฟอลซิล อาจจะถูกโยนลงทะเลบริเวณเกาะ Shaweishan Island
– ฟอสซิลถูกส่งไปถึงสิงคโปว์แล้ว แต่ว่าต่อมาถูกลำเรียงขึ้นเรือ MV Awa Maru ของญี่ปุ่น แต่ว่าเรือ MV Awa Maru ถูกยิงจนจมลงในทะเลในปี 1945 พร้อมกับฟอสซิล
-ทหารสหรัฐฯ ริชาร์ด โบเวน (Richard Bowen) อ้างว่าในปี 1947 เขาเคยเห็นหีบที่ใส่ฟอสซิลถูกฟังเอาไว้บริเวณค่ายทหารในเมืองฉินฮวงเต๋า ซึ่งหากข้ออ้างของโบเวนเป็นจริง ฟอสซิลของมนุษย์ปักกิ่งอาจจะยังถูกฝังอยู่ใต้ถนนหรืออาคารในเมืองฉินฮวงเต๋า
1987 ถ้ำโจวโควเตี้ยน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
2011 ฟอสซิลของฟันของมนุษย์ปักกิ่ง ถูกค้นพบในห้องของพิพิธภัณฑ์วิวัฒนาการ (the Museum of Evolution) ของมหาวิทยาลัยอัพสาลา (Uppsala University) ซึ่งเป็นฟอสซิลที่ถูกขุดพบในจีนในช่วงปี 1920s และถูกส่งมาศึกษาที่สวีเดน แต่ฟอสซิลถูกทิ้งเอาไว้ในหีบโดยที่ไม่ได้ถูกเปิดดูมาก่อน