Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Averroes

[miniorange_social_login]

อเวอร์โรเอส (Abū al-Walīd Muḥammad ibn Ahmad Ibn Rushd)

นักปรัชญา เป็นพหูสูตชาวมุสลิม

อเวอร์โรเอส เกิดเมื่อปี 1126 ในคอร์โดว่า (Cordova) ครอบครัวของเขาเป็นชาวแอนดาลุเซีย (Andalusia) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสเปนในปัจจุบัน พ่อของเขาเป็นผู้พิพากษา เช่นเดียวกับปู่ของเขา ตระกูลของเขามีอิทธิพลมาก โดยเฉพาะปู่ที่ชื่อ อบิน รุสห์ (Ibn Rushd) ซึ่งนอกจากเป็นผู้พิพากษาแล้วยังเป็นผู้ที่แต่งหนังสือด้านกฏหมายเอาไว้หลายเล่ม 

เขาได้เรียนกฏหมายกับ อิบิน ริซก์ (al-Hafiz Abu Muhammad ibn Riza) และ อิบิน ชาชกุวัล(Ibn Bashkuwal) ซึ่งทั้งสองคนเป็นลูกศิษย์ของปู่ของเขา

ตอนที่อเวอร์โรเอสมีอายุ 22 ปี ตระกูลอัลโมฮัดส์ (Almohads) ได้ขึ้นมามีอำนาจในแอนดาลูเซียและมาเกร็บ (Maghreb) ทำให้ตระกูลของอเวอร์โรเอสซึ่งใกล้ชิดมีอำนาจยิ่งขึ้นไปด้วย

1153 มาอยู่ในมาร์ราเกสห์ (Marrakesh) ปัจจุบันคือประเทศมอร็อกโค แต่ในขณะนั้นมาร์ราเกสห์เป็นเมืองหลวงของรัฐอัลโมฮัด (Almohad Caliphate) อเวอร์โรเอสมาที่เมืองนี้เพื่อร่วมในโคงการสร้างวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้นมา และเขายังเดินทางมาเพื่อสำรวจดวงดาวทางดาราศาสตร์ โดยหวังว่าจะหาคำตอบเกี่ยวกับกฏเกณฑ์การเคลื่อนที่ของดวงดาวซึ่งยังไม่เป็นที่รู้ในขณะนั้น ซึ่งความพยายามของอเวอร์โรเอสก็ไม่ประสบความสำเร็จ

เล่ากันว่าระหว่างอยู่ในมาร์ราเกสห์ อเวอร์โรเอส ได้รู้จักกับ อิบิน ทูเฟล (Ibn Tufayl) นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ทั้งสองคนสนิทสนมกันแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านความเชื่อ 

1169 เพราะคำแนะนำจากอิบิน ทูเฟล ทำให้อเวอร์โรเอส ได้เข้าเฝ้ากาหลิบอาบู ยูซุฟ (Abu Yaqub Yusuf) กาหลิบแห่งรัฐอัลโมฮัด ซึ่งเล่ากันว่ากาหลิบอาบู ยูซุฟ เป็นผู้ที่ถามอเวอร์โรเอส ว่า สรรค์มีจริงหรือไม่มีจุดเริ่มต้นและจะคงอยู่ตลอดไปหรือไม่ ? ซึ่งอเวอร์โรเอสไม่ได้ตอบคำถามนี้เพราะเกรงว่าคำตอบจะทำให้เขาได้รับภัยอันตรายในตอนแรก แต่เมื่อกาหลิบได้แสดงทัศนะของพระองค์และอ้างถึงมุมมองของนักปรัชญาหลายคน อย่างเพลโต (Plato) อริสโตเติ้ล (Aristotle) และนักปรัชญามุสลิมคนอื่นๆ ทำให้อเวอร์โรเอสกล้าที่จะแสดงความเห็นของตนเองออกมา และชื่นชมในกาหลิบที่พระองค์เป็นผู้ใฝ่ความรู้

และเมื่อกาหลิบมีความไม่เข้าใจในงานเขียนของอริสโตเติ้ล อเวอร์โรเอสก็ทำหน้าที่คอยให้คำอธิบาย นั้นทำให้อเวอร์โรเอสกลายเป็นคนโปรดของกาหลิบอาบู ยูซุฟ จนกระทั้งพระองค์สวรรคตในปี 1184  ซึ่งการที่กาหลิบมีความสนใจงานของอริสโตเติ้ลและมักสอบถามข้อสงสัยกับอเวอร์โรเอส ทำให้ช่วงเวลานี้อเวอร์โรเอสสร้างงานเขียนที่เกี่ยวกับการวิพากษ์อริสโตเติ้ลออกมาจำนวนมาก 

1171 ได้รับตำแหน่ง  qadi (ผู้พิพากษา) ในเมืองคอร์โดว่าบ้านเกิดของเขา ซึ่งตำแหน่งนี้ทำให้อเวอร์โรเอสสามารถให้ความเห็นทางคดีตามกฏหมายอิสลามได้

1179 ได้รับตำแหน่ง qadi ในเมืองเซวิลล์ (Seville) 

1182 ได้รับตำแหน่งหัวหน้าคณะ qadi ในเมืองคอร์โดว่า ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่ปู่ของเขาเคยได้รับมาก่อน

1184 กาหลิบอาบู ยูซุฟ สวรรคต และกาหลิบอาบู ยากับ (Abu Yusuf Yaqub) ได้สืบทอดอำนาจต่อมา ซึ่งอวเรอ์โรเอสก็ยังได้ทำงานรับใช้ราชสำนักอยู่อีกหลายปี ก่อนที่จะถูกปลดจากตำแหน่งในปี 1195

1195 อเวอร์โรเอส ถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา โดยเฉพาะเกี่ยวกับคำสอนของเขา ซึ่งมีการเรียกร้องให้เผาหนังสือที่อเวอร์โรเอสเขียนขึ้นทั้งหมด

1198 10 ธันวาคม, เสียชีวิตในมาร์ราเกสห์ (Marrakesh)

ผลงานเขียนบางส่วน

  1. The Incoherence of the Incoherence (تهافت التهافت Tahāfut al-Tahāfut)
  2. the Kashf al-Manāhij
  3. the Faṣl al-Maqāl
  4. Kulliyāt (General Medicine)
  5. al-Kulliyat fi al-Tibb (The General Principles of Medicine)
  6. Bidāyat al-Mujtahid wa Nihāyat al-Muqtaṣid (Primer of the Discretionary Scholar)
Don`t copy text!