Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Month: June 2023

  • Sir Henry Yule

    เซอร์ เฮนรี่ ยูล (Sir Henry Yule) นักประวัติศาสตร์ผู้เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับเอเชีย และเป็นผู้แปลผลงานของมาร์โค โปโล (Marco Polo) และเขียนดิกชั่นนารีภาษาอังกฤษ-อินเดีย (Hobson-Jobson) เฮนรี่ ยูล เกิดวันที่ 1 พฤษภาคม 1820 ในเมืองอินเวเรสก์ (Inveresk, Midlothian) ในสก๊อตแลนด์ เขาเป็นลูกชายคนที่สามของ วิลเลี่ยม ยูล (William Yule, 1744-1839) กับอลิซาเบธ (Elizaberth Paterson)  วิลเลี่ยมเคยเป็นเจ้าหน้าที่ในกองกำลังเบงกอล (the Bengal army of the East India Company) ของบริษัทอีสต์อินเดีย และได้เกษียณออกมาในปี 1806 วิลเลี่ยมนั้นยังเป็นนักแปลภาษาเปอร์เซียและอารบิก ส่วนอลิซาเบธนั้นครอบครัวมีเชื้อสายมาจากพวกฮิวกูน็อท (Huguenot) เธอเสียชีวิตตั้งแต่ยูลอายุแค่แปดปี หลังจากน้นพ่อก็มาครอบครัวย้ายมาอยู่ในอีดินเบิร์ก ซึ่งยูลเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยม Royal High School  1833 ถูกส่งตัวมาฝึกงานกับเฮนรี่…

  • Hans Morgenthau

    ฮันส์มอนเจนทัว (Hans Morgenthau) ผู้เขียน Politics Among Nations ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ว่ารากฐานของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบ Classical Realism ฮันส์ เกิดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1904 โคเบิร์ก, จักรวรรดิเยอรมัน (Coburg, German Empire) โดยครอบครัวมีเชื้อสายยิวอัชเคนาซี (Ashkenazi Jew) 1923 ฮันส์เรียนหนังสือที่หลายมหาวิทยาลัยระหว่างที่อยู่ในเยอรมัน ทั้ง มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน, มหาวิทยาลับแฟรงค์เฟิร์ต,​ มหาวิทยาลัยมิวนิค   1927 จบปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟิร์ต ทางด้านกฏหมายระหว่างประเทศ โดยได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง International Jurisdiction : Its Nature and Limits หลังจากนั้นได้รับการบรรจุเข้าเป็นสมาชิกของสภาทนายความ และได้รับตำแหน่งรักษาการประธานศาลแรงงานประจำเมืองแฟรงเฟิร์ต (the Labour Law Court in Frankfurt) 1929 มีผลงานเขียนตีพิมพ์เล่มแรก The International Administration…

  • Operation Ukraine: Bandera’s Dark Shadow

    Ugly truth about Ukraine’s national hero Today Stepan Bandera is Ukraine’s national hero. Ukrainian authorities name streets after him and organize processions in his honor. However, this individual is far from a decent role model. As a young man, Bandera trained his will and ruthlessness through sadistic acts towards defenceless animals. In his early youth…

  • The Frontline Grind – RTD

    What daily routines of the ‘Crimea’ Battalion’s fighters looks like Many ‘Crimea’ Battalion soldiers could hardly ever imagined they’d join the military. However, the 2014 coup d’état in Ukraine made them dramatically change the course of their lives and stand up to fight against the Ukrainian nationalists, in order to protect their homes and loved…

  • Takashima Shunan

    ทากาชิม่า ชูฮัน (高島秋帆) ซามูไรและวิศกรทหารของญี่ปุ่นในยุคบากุมัตสุ (Bakumatsu period) เป็นผู้บุกเบิการสร้างปืนใหญ่แบบตะวันตกในญี่ปุ่น โดยเลียนแบบจากปืนของดัตช์ และถูกเรียกว่า ทากาชิม่าสไตล์ (Takashima style)  ชูฮัน เกิดวันที่ 24 กันยายน 1798 ในนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นยุคที่ถูกเรียกว่าบากุมัตสุ (Bakumatsu period) ซึ่งหมายถึงยุคที่ตระกูลโตกุกาว่า (Tokugawa) กำลังจะสิ้นอำนาจ และนโยบายการปิดประเทศของญี่ปุ่นสิ้นสุดลง ตระกูลทากาชิมา นั้นเป็นตระกูลซามูไร สาขาหนึ่งของตระกูลซามูไรซาซากิ (Sasaki clan)  ชูฮัน นั้นเป็นบุตรชายคนที่สามของขิโรเบ ชิเกกิ (四郎兵衛 茂,Shirobei Shigeki) ข้าราชการระดับสูงคนหนึ่งของเมืองนางาซากิน ซึ่งเขาคุมกำลังทหารอยู่บนเกาะทากาชิม่า ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ที่ถมขึ้นมาเพื่อใช้เป็นค่ายทหาร อยู่ในอ่าวของนางาซากิ พ่อของเขาทำงานเป็นหัวหน้าของสำนักงานนากาซากินไกโช (Nagasaki Kaisho) ซึ่งเป็นสำนักงานผู้แทนของโชกุนที่ติดต่อการค้ากับสถานีการค้าของดัตซ์ (Dutch trading post) ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเดจิม่า (Dejima) ชูฮัน นั้นได้เรียนรู้ศาสตร์การใช้ปืน ที่เรียกว่าโอกิโนะ (荻野流,…

  • The Hammer and Sickle

    เคียวและค้อน (Серп и Молот)  ค้อนและเคียว (The Hammer and sickle) (ภาษารัสเซียกับภาษาอังกฤษลำดับของค้อนและเคียวสลับกัน)  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงถึงความรุ่งเรืองและอำนาจของสหภาพโซเวียตในอดีตนั้น เป็นผลงานการออกแบบของเยฟกินี่ คัมโซลกิ้น (Yevgeny Kamzolkin) ซึ่งรัฐสภาของสหภาพโซเวียตให้การรับรอง ในเดือน กรกฏาคม 1918 เพื่อใช้เป็นตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ แต่ก่อนหน้านั้นก็มีผู้ส่งผลงานการออกแบบเข้าประกวดหลายชิ้น อย่าง ค้อนกับคราด ค้อนกับไม้เกี่ยวฟาง ซึ่งผลงานมีคอนเซ็ปต์ไปในทางเดียวกัน คือ ความสามัคคีของกรรมาชีพและเกษตรกร ตามแนวคิดของคอมมิวนิสต์ ซึ่งโดยทั่วไปตีความว่าค้อนเป็นสัญลักษณ์ของแรงงาน (worker) และเคียวเป็นสัญลักษณ์แทนเกษตรกร (peasant)  อย่างไรก็ตาม คัมโซลกิ้น ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์ค้อนและเคียวนี้ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์  ตัวของเขาเองนั้นเป็นคนเคร่งศาสนา มาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย และคัมโซลกิ้นยังเป็นสมาชิกของสมาคมลับดาวินชี (Society of Lenoardo da Vinci)  สัญลักษณ์คอนและเคียวของคัมโซลกิ้น จึงถูกตีความว่ามีความหมายแฝงอย่างอื่น อาทิ เป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมกับฟรีเมสัน (Freemason) เพราะว่าเป็นการออกแบบที่เลียนแบบ สัญลักษณ์ค้อนและสิ่ว (The Hammer and Chisel)  หนังสือ…

  • Simon Kuznets

    ไซม่อน คุซเน็ตส์ (Семен Абрамович Кузнец) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล 1971 เป็นที่รู้จักจากการศึกษาการเติบโตทางเศรษฐกิจและ Kuznet Curve  คุชเน็ตส์ เกิดวันที่ 30 เมษายน 1901 ในพินส์ก (Pinsk) จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันเมืองที่เขาเกิดอยู่ในเบลารุส ครอบครัวของเขามีเชื้อสายยิว-ลิธัวเนีย  คุชเน็ตส์เริ่มเรียนหนังสือในคาร์คอฟ (Kharkov) ในยูเครนปัจจุบัน 1918 เข้าเรียนที่สถาบันการพาณิชย์คาร์เคียฟ (Kharkiv Institute of Commerce) ทางด้านเศรษฐศาสตร์ 1920 มีผลงานเขียน “Moneytary wages and salaries of factor workers in Kharkov” 1922 ครอบครัวอพยพเข้ามาอยู่ในสหรัฐฯ และคุชเน็ตส์ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University)  1923 จบปริญญาตรี 1924 จบปริญญาโท 1926 จบปริญญาเอก  หลังจากนั้นได้ทุนวิจัยทำงานที่สภาวิจัยสังคม (the Social…

  • Donbass : Restoring Childhood – RTD

    Donbass: Restoring Childhood Orphans from Donbass hope for a better future in Russia Lidiya Kovaleva grew up in an orphanage. She had a tough childhood, but became determined to overcome any challenges that came her way, and vowed to support as many children as possible, who are in similar situations. As Lidiya matured, she started…

Don`t copy text!