Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

The Hammer and Sickle

เคียวและค้อน (Серп и Молот)

 ค้อนและเคียว (The Hammer and sickle) (ภาษารัสเซียกับภาษาอังกฤษลำดับของค้อนและเคียวสลับกัน)  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงถึงความรุ่งเรืองและอำนาจของสหภาพโซเวียตในอดีตนั้น เป็นผลงานการออกแบบของเยฟกินี่ คัมโซลกิ้น (Yevgeny Kamzolkin) ซึ่งรัฐสภาของสหภาพโซเวียตให้การรับรอง ในเดือน กรกฏาคม 1918 เพื่อใช้เป็นตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ แต่ก่อนหน้านั้นก็มีผู้ส่งผลงานการออกแบบเข้าประกวดหลายชิ้น อย่าง ค้อนกับคราด ค้อนกับไม้เกี่ยวฟาง ซึ่งผลงานมีคอนเซ็ปต์ไปในทางเดียวกัน คือ ความสามัคคีของกรรมาชีพและเกษตรกร ตามแนวคิดของคอมมิวนิสต์ ซึ่งโดยทั่วไปตีความว่าค้อนเป็นสัญลักษณ์ของแรงงาน (worker) และเคียวเป็นสัญลักษณ์แทนเกษตรกร (peasant) 

อย่างไรก็ตาม คัมโซลกิ้น ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์ค้อนและเคียวนี้ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์  ตัวของเขาเองนั้นเป็นคนเคร่งศาสนา มาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย และคัมโซลกิ้นยังเป็นสมาชิกของสมาคมลับดาวินชี (Society of Lenoardo da Vinci) 

สัญลักษณ์คอนและเคียวของคัมโซลกิ้น จึงถูกตีความว่ามีความหมายแฝงอย่างอื่น อาทิ เป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมกับฟรีเมสัน (Freemason) เพราะว่าเป็นการออกแบบที่เลียนแบบ สัญลักษณ์ค้อนและสิ่ว (The Hammer and Chisel) 

หนังสือ The Scarlet and Beast ของจอห์น เดเนียล (John Daniel) อ้างว่า ค้อนและเคียว นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ได้มาจาก Grand Orient de France (GODF) ซึ่งเป็นองค์กรฟรีเมสันที่เก่าแก่ที่สุดและมีสำนักงานใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส GODF จึงถูกเรียกว่าเป็น ลอด์จแม่ (mother lodge) แห่งยุโรป ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1773

ในปี 1877 GODF ได้ประกาศว่า พระเจ้าตายแล้ว (God is dead) ตัวอักษร “G” ซึ่งเคยอยู่ตรงกลางของสัญลักษณ์ ไม้ฉากและวงเวียน (The Square and Compasses) ฟรีเมสัน จึงถูกแทนที่ด้วย ค้อนและเคียว ซึ่งถูกจัดวางในลักษณ์ของ ตัว “G” ที่กลับหลังเพื่อแสดงการต่อต้านพระเจ้า 

เชื่อกันว่า GODF เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างของคอมมิวนิสต์ อย่างการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) หรือการตั้ง ปารีสคอมมูน (Paris Commune)

นอกจากนั้น ค้อน (Молот) และ เคียว (Серп)  เมื่อนำมารวมเป็นคำเดียวกัน Молотсерп และเรียงอักษรจากหลังไปหน้า จะได้คำว่า Престолом ซึ่งแปลว่า โต๊ะบูชา (thorne) ตรงกลางแท่นบูชา (Altar) ภายในโบสถ์

ค้อนและเคียว ยังเป็นสัญลักษณ์ของ ชีวิตและความตาย เพราะค้อนสื่อถึงการสร้าง การผลิต ในขณะที่เคียวในหลายชาติถือว่าเป็นสักษณ์ของวิญญาณ ความตาย 

Don`t copy text!