มนุษย์พิลต์ดาวน์ (Piltdawn man)
พิลต์ดาวน์เป็นซากมนุษย์ดึกดำบรรพปลอม ที่ถูกทำขึ้นมา อ้างว่าเป็น หลักฐานวิวัฒนาการที่ขาดหายไป (missing link) ระหว่างมนุษย์กับลิง
1912 ในปี 1912 ชาร์ล ดาวซัน (Charles Dawson) ได้อ้างว่าค้นพบ ซากดึกดำบรรพที่จะเป็น
“missing link” ระหว่างมนุษย์กับลิง เขาจึงได้ติดต่อกับอาร์เธอร์ สมิธ วู๊ดวาร์ด (Arthur Smith Woodward) ผู้อำนวยการของแผนกธรณีวิทยาของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ (Natural History Museum) โดยบอกว่าตัวของเขาเองนั้นได้พบซากฟอสซิล ที่คล้ายกับมนุษย์ ในหมู่บ้านพิลต์ดาวน์, ซัสเซกซ์ตะวันออก (Piltdown, East Sussex) บริเวณชั้นหินยุคไฟรโตซีน (Pleistocene gravel beds)
และเมื่อสมิธและดาวซันได้ทำการขุดสำรวจพื้นดินบริเวณพิลต์ดาวน์เพิ่มเติม พวกเขาก็ได้ค้นพบชิ้นส่วนกระดูกอีกหลายชิ้นและสิ่งของเครื่องมืดในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อสมิธนำชิ้นส่วนที่ขุดค้นพบมาประกอบเข้าด้วยกันใหม่ เขาก็ตั้งสมมุติฐานว่าซากฟอสซิลมนุษย์ลิงนั้นน่าจะมีอายุกว่า 500,000 ปีก่อน และได้ประกาศการค้นพบต่อที่ประชุมของสมาคมภูมิศาสตร์ (Geological Society)
ซากมนุษย์พิลต์ดาวน์ ถูกตั้งชื่อเป็นภาษาลาตินว่า Eoanthropus dawsoni (Dawson’s dawn man)
18 ธันวาคม, ในที่ประชุมของสมาคมธรณีวิทยาแห่งลอนดอน (Geological Society of London) ดาวซัน ได้อ้างว่าเขาได้ชิ้นส่วนของมนุษย์พิลต์ดาวน์ชิ้นแรกตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน โดยที่มีคนงานคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเป็นผู้พบ และนำมาให้เขา ดาวซันอ้างว่าตอนแรกเขาเชื่อว่ามันเป็นฟอสซิลของกะลามะพร้าว และได้เดินทางไปสำรวจด้วยตัวเองอีกหลายครั้ง ก่อนที่จะค้นพบชิ้นส่วนมาขึ้นและได้ติดต่อกับอาร์เธอร์ วู๊ดวาร์ด ในที่สุด
ซึ่งเมื่อมีการประกอบชิ้นส่วนฟอสซิลที่พบ เขาก็พบว่ากระโหลกหลายส่วนมีความคล้ายคลึงกับมนุษย์ ยกเว้นบริเวณท้ายของกระโหลก (occiput) และขนาดกระโหลกที่เล็กกว่ามนุษย์ปัจจุบัน ราวสองในสาม นอกจากนั้นบริเวณขากรรไกร ยังมีฟันกลามสองซี่ ที่คล้ายกับมนุษย์
ดาวซัน เสนอสมมุติฐานว่า มนุษย์พิลต์ดาวน์เป็น วิวัฒนาการที่ขาดหายไประหว่างลิงกับมนุษย์ และอ้างว่าลิงวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์โดยเริ่มจากส่วนของสมอง
1913 ดร.อาร์เธอร์ ไคท์ (Sir Prof. Arthur Keith) ได้จำลองสร้างมนุษย์พิลต์ดาวน์ขึ้นมาใหม่จากชิ้นส่วนที่
ค้นพบ และเรียกว่า “Homo piltdownensis”
สิงหาคม, มีการค้นพบฟันเขี้ยว (canine teeth) เพิ่มเติมจากพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ดร.อาร์เธอร์ ไคท์ เห็นว่าชิ้นส่วนของฟันเขี้ยว นั้นไม่สมเหตุสมผล เพราะว่าเขาเชื่อว่ามันเป็นอุปสรรคต่อวิวัฒนาการของฟันกลาม ซึ่งเกิดจากการที่มนุษย์บดเคี้ยวอาหาร ฟันเขี้ยวจึงไม่มีทางที่จะยาวกว่าฟันกลาม
ฟอสซิลของมนุษย์ฟิลต์ ดาวน์ จึงถูกตั้งข้อสงสัยและถกเถียงกันมาโดยตลอดว่าเป็นของจริงหรือไม่
1915 ดาวซัน อ้างว่าค้นพบชิ้นส่วนมนุษย์พิลต์ดาว คนที่ 2 (Piltdown II) จากพื้นที่ซึ่งห่างจากพื้นที่เดิมไปอีก 3 กิโลเมตร แต่ว่าเขาไม่ยอมเปิดเผยตำแหน่งของพื้นที่ที่แท้จริงให้ใครทราบ
1921 เฮนรี่ ออสบอร์น (Henry Fairfield Osborn) ประธานของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา (American Museum of Natural History) เป็นคนหนึ่งที่ได้ตรวจสอบฟอสซิลของมนุษย์พิลต์ดาวน์และยืนยันว่าเป็นของจริง
1923 ฟรานซ์ ไวเดนไรช์ (Fran Weidenreich) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทำการตรวจสอบมนุษย์
พิลต์ดาวน์ และเป็นคนหนึ่งที่สรุปว่าโครงกระดูกนั้นจาจากหัวกระโหลกของมนุษย์ และส่วนของขากรรไกรนั้นมาจากลิงอุรังอุตัง (orangutan) และฟันนั้นถูกแต่งรูปทรงขึ้นมา
1938 23 กรกฏาคม, ดร.อาร์เธอร์ ไคท์ ได้ทำการเปิดอนุเสาวรีย์ขึ้นบริเวณที่มีการขุดค้นพบมนุษย์พิลต์
ดาวน์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยเขาได้กล่าวสุนทรพจน์ในการเปิดอนุเสาวรีย์เอาไว้ว่า
ตราบเท่าที่มนุษย์เรายังคงสนใจในประวัติศาสตร์อันยาวนานของตนเอง, ในความผันแปรทั้งหลายที่บรรพบุรุษก่อนพวกเขาได้เผชิญ และความสูญเสียที่พวกเขาต้องจ่ายเพื่อตอบแทน ชื่อของชาร์ล ดอว์ซันควรจะต้องถูกจารึกเอาไว้ ณ.มุมสถานที่อันสวยงามนี้ในซัสเซกซ์ เพื่อรำลึกถึงการค้นพบของเขา และผมรู้สึกเป็ฯเกียติในการเปิดแท่นหินเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่อุทิศให้กับความทรงจำที่มีต่อเขา
(So long as man is interested in his long past history, in the vicissitudes which our early forerunners passed through, and the varying fare which overtook them, the name of Charles Dawson is certain of remembrance. We do well to link his name to this picturesque corner of Sussex—the scene of his discovery. I have now the honour of unveiling this monolith dedicated to his memory)
โดยบนแท่นหินได้จารึกเอาไว้ว่า
(Here in the old river gravel Mr Charles Dawson, FSA found the fossil skull of Piltdown Man, 1912–1913, The discovery was described by Mr Charles Dawson and Sir Arthur Smith Woodward, Quarterly Journal of the Geological Society, 1913–15)
บริเวณนี้เป็นร่องน้ำเก่าซึ่ง นายชาร์ ดาวซัน ได้คนพบฟอสซิลของมนุษย์พิลต์ดาวน์, 1912-1913, และการค้นพบได้ถูกอธิบายเอาไว้โดย ชาร์ล ดาวซัน และเซอร์อาร์เธอร์ สมิธ วู๊ดวาร์ด, วารสารสมาคมธรณีวิทยา, 1913-1915
1949 ดร.เคนเน็ต โอ๊คเลย์ (Dr. Kenneth Oakley) นักธรณีวิทยาของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ได้ทำการทดสอบอายุของซากฟอสซิลมนุษย์พิลต์ดาวน์อีกครั้ง โดยใช้เทคนิคฟลูโอไรน์ (Fluorine absorption dating) ซึ่งผลการตรวจสอบโดย ดร.โอ๊คเลย์ นั้นบอกว่า ส่วนของกรามและกระโหลกของฟอสซิลนั้นมาจากชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตที่ต่างสปีชีย์กัน โดยเป็นลิงและมนุษย์
1953 พฤศจิกายน, แม็กกาซีน Time ของสหรัฐฯ ตีพิมพ์หลักฐานซึ่งพิสูจน์ว่า มนุษย์พิลต์ดาวน์ นั้นเป็นของ
ปลอม โดยใช้หลักฐานการพิสูจน์จากนักวิทยาศาสตร์หลายคน ทั้ง ดร.เคนเน็ต โอ๊คเลย์, เซอร์ วิลฟริด เลอ จรอส คล๊าก (Sir wilfrid Edward Le Gros Clark) และโจเซฟ ไวเนอร์ (Joseph weiner)
ซึ่งอธิบายเอาไว้ว่า หัวกระโหลกของมนุษย์พิลต์ดาวน์ นั้นมาจากกระโหลกของมนุษย์ในยุคกลาง โดยที่ขากรรไกรส่วนล่าง (lower jaw) เป็นของลิงอุรังอุตัง อายุราว 500 ปีก่อน และส่วนของฟันนั้นมาจากฟอสซิลของลิงชิมแปนซี และมีการตกแต่งรูปทรง ในขณะที่กระดูกบางส่วนถูกทำให้ดูเก่า ด้วยส่วนผสมของเหล็กและกรดโครมิก (chromic acid)