Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Manimegalai

มณีเมขลา (ทมิฬ : மணிமேகலை)

มณีเมขลา เป็น 1 ใน 5 วรรณกรรมคลาสสิคของทมิฬ รัฐทางใต้ของอินเดียในปัจจุบัน   โดยถูกแต่งขึ้นมา ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2-6 โดยผู้แต่งคือ จิทาลัย จาทนา (Chithalai Chathanar) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สัทธานาร์ (Satthanar)

เนื้อเรื่อง

มณีเมขลา นั้นเป็นลูกสาวของ โควาลาน (Kovalan) กับนาง มาทวี (Madhavi) ซึ่งมณีเมขลานั้นเป็นผู้หญิงที่สระสวยและมีรูปร่างดี แต่เมื่อนางเติบโตขึ้นมา นางเลือกที่จะเป้นนักเต้นระบำและออกบวชตามอย่างมารดา โดยมณีเมขลาและสุธามาธี (Sudhamathi) เพื่อนสนิทได้ออกบวชด้วยกัน

จนเมื่อเจ้าชายอุดายกุมาร (Udayakumara) แห่งอาณาจักรโจละ (Chola) ได้บังเอิญมาเจอกับมณีเมขลา เจ้าชายก็หลงไหลนางในทันที แต่ว่าในเวลานั้นมณีเมขลาได้ออกบวชเป็นชีอยู่ในวัดนิกายมหายาน นางจึงปฏิเสธความรักของเจ้าชาย และเลือกที่จะปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระอาจารย์ อะราวานะ อดิกาล (Aravana Adikal) กับเหล่าเทวดา ที่มาเป็นอาจารย์สอนเธอ ให้หลุดพ้นจากความกลัว 

มณีเมขลาพยายามที่จะหนีเจ้าชายที่ติดตามเธอมา เทวดาองค์หนึ่งจึงได้ช่วยให้มณีเมขลาหายตัวไปยังเกาะไกลโพ้นแห่งหนึ่ง แต่ว่าเจ้าชายก็ยังไม่หยุดที่จะติดตามนางไป

เทวดาจึงประทานอิทธิวิเศษให้กับมณีเมขลาในการแปลงร่างให้กลายเป็นผู้อื่นได้ และมอบชามวิเศษให้กับมณีเมขลาเอาไว้ จึงชามใบนี้จะได้รับการเติมน้ำจาก เทพมณีเมขลา (Mani Mekalai Theivam) เทพีแห่งท้องทะเล อยู่ตลอด 

ในตอนสุดท้ายมณีเมขลาแปลงร่างของเธอให้เหมือนกับผู้หญิงคนหนึ่งบนเกาะ ซึ่งเป็นผู้หญิงที่มีสามีอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อเจ้าชายอุตายกุมารได้ตามมาเจอ พระองค์รู้ว่าตัวจริงของผู้หญิงคนนั้นคือมณีเมขลาก็เข้าไปเกี้ยวพาราสี แต่ว่าสามีของผู้หญิงคนนั้นซึ่งไม่รู้ความจริง ได้กลับมาเห็นว่าภรรยากำลังถูกลวนลาม จึงได้เข้าไปสังหารเจ้าชายอุตายกุมารจนสิ้นพระชนม์ 

เมื่อกษัตริย์และราชินีแห่งโจละทราบว่าเจ้าชายอุตายะกุมารสิ้นพระชนม์ ก็ทรงกริ้ว จึงได้สั่งให้ทหารไปจับนางมณีเมขลามา และสั่งลงโทษประหารชีวิต 

แต่ว่าเทวดาได้ปรากฏกายขึ้นมาช่วยชีวิตนางมณีเมขลาเอาไว้ก่อนที่จะถูกประหาร โดยแสดงการล่องหนให้เห็น กษัตริย์และพระราชินีเมื่อเห็นดังนั้นก็รู้สึกสำนึกถึงความผิดผลาด ทรงอภัยโทษให้มณีเมขลา และขอให้นางด้วยสอนธรรมะให้กับพระองค์แทน 

ในตอนสุดท้าย หลังมณีเมขลาได้รับฟังธรรมเรื่องอริยสัจสี่ และปฏิจจสมุปบาท (Pratītyasamutpāda) จากอาจารย์ของนาง แล้วมณีเมขลาจึงได้ออกเดินทางไปยังวัดกันนาคี (Kannaki temple) ในอาณาจักรเชระ (Chera Kingdom) เพื่อสดับรับฟังคำสอนจากศาสนาอื่นๆ และบำเพ็ญทุกข์กิริยาอย่างหนักเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายคือการนิพพาน

Don`t copy text!