Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Thibaw Min

พระเจ้าทีบอว์ มิน (พระเจ้าสีป่อ, သီပေါ‌မင်း)

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของพม่า

เจ้าชายทีบอร์ ทรงพระบรมราชสมภพวันที่ 1 มกราคม 1859 ในเมืองมันดาเลย์ , พม่า (Mandalay, Konbaung Burma) ซึ่งมันดาเลย์ขณะนั้นเป็นเมืองหลวง พระบิดาของพระองค์คือ กษัตริย์มินดอน (King Mindon) กับพระมารดาหลวงชี ไมบายา (Laungshe Mibaya) ซึ่งเป็นหนึ่งในสนมของกษัตริย์มินดอน ซึ่งหลังจากหลวงชีให้กำเนิดเจ้าชายทีบอร์ ก็ถูกคำสั่งห้ามมีให้ได้พบกับพระโอรส หลวงชีจึงทรงออกผนวชเป็นธิลาชิน (แม่ชี, Thilashin) จนกระทั้งสิ้นพระชนม์

เจ้าชายทีบอร์นั้นศึกษาพระพุทธศาสนาภายในวัดหลวง (Kyaung) และทรงสอบผ่านพระธรรมเปรียญ (Pahtamabyan) ตามหลักสูตร์ของพม่า ทำใหพระองค์เป็นที่โปรดปราณของกษัตริย์มินดอน 

อภิเษกกับ สุพายาลัต (စုဖုရားလတ်, Supayalat) ซึ่งเป็นพี่น้องพ่อเดียวกน เพราะสุพายาลัตเป็นพระธิดาของกษัตริย์มินดอน กับนางสนมอาวุโส ฮสินบุมาชิน (Hsinbyumashin, ဆင်ဖြူမရှင်) ฉายานางช้างเผือก

1866 เจ้าชายไมยินกัน (Prince Myingun) และเจ้าขายไมยินกันดาอิง (Prince Myingundaing) พระโอรสของกษัตริย์มินดอน พยายามทำการปฏิวัติ โดยอ้างว่ามงกุฏราชกุมารกานาอง (Crown Prince Kanaung) นั้นทรงเป็นคนโหดเหี้ยม  ซึ่งในเหตุการณ์นี้ทำให้มงกุฏราชกุมารกานาองถูกสังหาร แต่ว่ากษัตริย์มินดอนนั้นทรงหลบหนีออกมาได้ แต่ต่อมาคณะปฏิวัติของเจ้าชายไมยินกันก็ถูกปราบปรามลง เจ้าชายไมยินกันต้องหลบหนีลงเรือกลไฟ ไปอยู่ในเขตยึดครองของอังกฤษในพม่า 

หลังจากเหตุการณ์นองเลือดในครั้งนี้ กษัตริย์มินดอน ก็ไม่ได้แต่งตั้งใครขึ้นมาเป็นมงกุฏราชกุมารอีกเพราะเกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งในราชสำนักอีก 

1878 เจ้าชายทีบอว์ ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของพม่าสืบต่อจากกษัตริย์มินดอน  โดยได้รับการสนับสนุนจาก ฮสินบุมาชิน ซึ่งในช่วงปลายรัชสมัยของกษัตริย์มินดาวนั้น ฮสินบุมาชินมีอิทธิพลสูงในราชสำนักพม่า การขึ้นครองราชย์เป็นไปอย่างนองเลือด เพราะว่าฮสินบุมาชินได้สั่งให้สังหารรัชทายาทองค์อื่นๆ ทุกพระองค์ ที่เข้าข่ายที่จะมีสิทธิในการสืบราชสมบัติ รวมแล้วกว่า 80 คน เล่ากันว่าศพของเจ้าชายและเจ้าหญิงที่ถูกสังหารถูกนำใส่ถุงสีม่วงก่อนที่จะนำไปให้ช้างเหยียบจนแหลก

ในช่วงที่เจ้าชายทีบอว์ขึ้นครองราชย์นั้น ดินแดนที่เรียกว่าพม่าตอนล่าง (Lower Burma) ซึ่งล้วนเป็นรัฐที่ติดกับทะเลตั้งแต่อินเดียเรื่อยมา อาทิ ย่างกุ้ง, ยะไข่, รัฐมอญ, ตะนาวศรี (Tanintharyi region) ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของอังกฤษ

ในรัชสมัยของกษัตริย์ทีบอว์ พระองค์จึงดำเนินนโยบายที่จะกอบกู้เอกราชคืนจากอังกฤษโดยหันไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส

1885 เมื่อกษัตริย์ทีบอว์ทรงมีพระราชกฤษฏีกาสั่งให้ข้าราชการในเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การยึดครองของอังกฤษต่อสู้เพื่อปลดปลอยดินแดนที่ถูกยึดครอง อังกฤษจึงส่งนายพลแฮร์รี่ เพรนเดอร์กาสต์ (Gerneral Harry Prendergast) พร้อมทหาร 11,000 นาย บุกพม่าอีกครั้ง

7-29พฤศจิกายน,(Third Angol-Burmese war) ทหารอังกฤษใช้เวลาเพียงแค่วันเดียว หลังจากเดินทางถึงมันดาเลย์ และปิดล้อมพระราชวังมันดาเลย์ และออกคำสั่งให้กษัตริย์ทีบอว์ยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข

หลังจากนั้นอังกฤษได้จับกษัตริย์ทีบอว์และพระมเหสีพร้อมกับพระธิดาสองพระองค์ซึ่งยังเป็นทารกเอาไว้ พร้อมสมาชิกในราชวงศ์คนอื่นอีก และส่งตัวไปยังรัตนะคีรี, บริติชอินเดีย (Ratanagiri, British India) เมืองริมฝังทะเลอะราเบีย (Arabian sea) ซึ่งอยู่ในรัฐมหารัชตะ (Maharashtra) ของอินเดียปัจจุบัน

กษัตริย์ทีบอว์ทรงถูกกักบริเวณอยู่อาคารเอาต์แรม (Outram Hall) ในเมือง ดารังกอน (Dharangaon) ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินรัฐมหารัชตะ เป็นเวลากว่า 24 ปี

1886 1 มกราคม, อังกฤษผนวกพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ โดยพม่าอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้่ว่าการของบริติชอินเดีย

1906 อังกฤษได้ใช้เงิน 125,000 รูปี เพื่อสร้างบ้านสองชั้นบนที่ดิน 50 ไร่ ให้เป็นที่พำนักฐาวรกับกษัตริย์ทีบอว์ และครอบครัว โดยอาคารแห่งนี้ถูกเรียกว่า พระราชวังทีบอร์ (Thibaw’s Palace)   และรัฐบาลอินเดียก็มอบเงินรายปีให้ ปีละ 35,000-100,000 รูปี

1916 15 ธันวาคม,​ กษัตริย์ทีบอว์สวรรคต ขณะมีพระชนม์ 56 ชันษา

พระศพของพระองค์ถูกนำไปฝังในสุสานชาวคริสต์เล็กๆ ข้างกับสนมนางหนึ่งของพระองค์ชื่อ หทัยสุ พระยากาเลย์ (Hteisu Phaya Galay) 

อื่นๆ

– หลังกษัตริย์ทีบอว์สวรรคต สมาชิกในครอบครัวของพระองค์ซึ่งเหลืออยู่ย้ายกลับมายังพม่าในปี 1919 

– เจ้าหญิง มยาต พระยา กยี (Myat Phaya Gyi) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์โตของกษัตริย์ทีบอว์ ได้แต่งงานกับชาวอินเดีย ซึ่งเป็นนักบอลชื่อ โกบาล สวันต์ (Gopal sawant) และมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคนชื่อตูตู้ (Tutu) ซึ่งเมื่อพวกเขากลับมายังอินเดีย ก็ดำรงค์ชีวิตกันอย่างยากจน โดยมีอาชีพทำดอกไม้กระดาษไปขายในตลาด 

ต่อมาตูตู้ก็ยังมีลูกอีก 12 คน ซึ่งต่างก็มีฐานะยากจน

– มยาต พระยา ลัต (Myat Phaya Lat)  พระธิดาองค์ที่สองของกษัตริย์ทีบอว์ ได้แต่งงานกับ คิน เมือง ลัต (Khin Muang Lat) ซึ่งเป็นเลขาของกษัตริย์ทีบอว์ แต่ว่าทั้งคู่ไม่มีลูกด้วยกัน 

– มยาต พระยา (Myat Phaya) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์ที่สาม ซึ่งประสูติในอินเดีย ได้แต่งงาน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกได้แต่งงานกับเจ้าชายพม่า ฮเตียก ติน โกดาวกยี (Hteik Tin Kodawgyi) และมีลูก 2 คน 

หลังจากหย่า ก็ได้แต่งงานอีกครั้งกับเจ้าชาย-นักกฏหมายชาวพม่า เอ็ดเวิร์ด ตาว พระยา (Prince Edward Taw Phaya)

– มยาต พระยา กาเลย์ (Myat Phaya Galay) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์ที่ 4 และเกิดในอินเดีย ได้แต่งงานกับ โก โก เนียง (Ko Ko Naing) ชาวพม่า และมีลูกด้วยกัน 6 คน

Don`t copy text!