Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

MOU 43

บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก

รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ปรารสนาที่จะกระชับความผูกพันแห่งมิตรภาพที่มีอยู่ระหว่างประเทศทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เชื่อว่าการปักปันเขติแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาจะช่วยระงับความขัดแย้งตามชายแดนที่เกิดจากปัญหาเขตแดน และจะกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีอยู่ระหว่างประเทศทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและเอื้ออำนวยต่อการเดินทางแะความร่วมมือของประชาชนของประเทศทั้งสองตามแนวชายแดน ระลึงถึงแถลงการณ์ร่วมของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยกับนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาฉบับลงวันที่ 13 มกราคม 2537 (ปี ค.ศ. 1997) ซึ่งไดตกลงกันจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ที่จะได้รับมอบหมายภารกิจให้จัดทำหลักเพื่อชี้แนวเขตแดนทางบกระหว่างประเทศทั้งสอง ได้ตกลงกันดังต่อไปนี่

ข้อ 1

จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไททยกับราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้

(ก) อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพื่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่  3 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 112 (ปี ค.ศ. 1893) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ. กรุงปารีส เมื่อวันที่  13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 122 (ปี ค.ศ. 1904)

(ข) สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ปี ค.ศ. 1907) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ปี ค.ศ. 1907) และ

(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระห่างสยามกับอินโดจีนซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี  ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

ข้อ 2

1. ให้มีคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า “คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม” ประกอบด้วยประธานร่วม 2 คนและกรรมาธิการอื่นๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลของแต่ละฝ่าย ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป้นประธานร่วม รัฐบาลของประเทศทั้งสองจะแจ้งการแต่งตั้งดังกล่าวต่อกันภายในหนึ่งเดือนหลังจากบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เริ่มบังคับใช้

2. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมจะประชุมกันปีละครั้งในประเทศไทยและประเ?สกัมพูชาสลับกัน ในกรณีที่จำเป็น คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมอาจประชุมกันสมัยพิเศษเพื่อหารือเรื่องเร่งด่วนที่อยู่ในขอบข่ายของอำนาจหน้าที่

3. ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมมีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้

(ก) รับผิดชอบให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมเป็นไปตามข้อ 1

(ข) พิจารณาและรังรองแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วม

(ค) กำนหดความเร่งด่วนของพื้นที่ที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

(ง) มอบหมายงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมซึ่งจะกล่าวถึงในข้อ 3 ต่อไป และควบคุมดูแลและติดตามการดำเนินการให้เป็นผลตามที่ได้รับมอบหมาย

(จ) พิจารณารายงานหรือข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เสนอโดยอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม

(ฉ) ผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก และ

(ช) แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการใดๆ เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะรายใด ๆ ที่อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม

ข้อ 3

1. ให้มีคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมประกอบด้วยประธานร่วม 2 คนและอนุกรรมาธิการอื่นๆ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งจากประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมของแต่ละฝ่าย

2. ให้คระอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมมีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้

(ก) พิสูจน์ทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของหลักเขตแดน 73 หลัก ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักกปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโอจีนเมื่อปี ค.ศ. 1909 และ ค.ศ. 1919 และรายงานผลการพิสูจน์ทราบต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมเพื่อพิจารณา

(ข) จัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางปกร่วม (ค) แต่งตั้งชุกสำรวจร่วมเพื่อปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมธิการเขตแดนร่วม

(ง) เสนอรายงานหรือข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนต่อคณะกรรมธิิการเขตแดนร่วม

(จ) จัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้ว

(ฉ) แต่งตั้งผู้แทนผุ้ได้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่จำเป็น เพื่อควบคุมดูแลงานสนามแทนประธานอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม

(ช) แต่งตั้งคณะทำงานของเทคนิคใด ๆ เพื่อช่วยงานเฉพาะรายใด ๆ ที่อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม

3. ในการปฏิบัตงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ใด ๆ ชุดสำรวจร่วมจะได้รับการบืนยันความปลอดภัยจากกับระเบิดเสียก่อน

ข้อ 4

1. เพื่อความมุ่งประสงค์ของงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ให้แบ่งเขตแดนทางบกร่วมกันตลอดแนวออกเป็นหลายตอนตามที่คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมจะได้ตกลงกัน

2. เมื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนแล้วเสร็จแต่ละตอน ให้ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจและแผนที่ที่จะแนบบันทึกความเข้าใจดังกล่าวซึ่งแสดงตอนที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไว้

ข้อ 5

เพื่ออำนวยความสะดวกให้การสำรวจตลอดแนวเขตแดนทางบกร่วมกันเป็นไปอย่างประสิทธิผลหน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้นจะงดเว้นการดำเนินการใด ๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมเพื่อประโยชน์ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

ข้อ 6

1. รัฐบาลแต่ละฝ่ายรับผิดชอบค่าใช่จ่ายของฝ่ายตนในการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

2. รัฐบาลทั้งสองจะรับผิดชอบค่าวัสดุสำหรับหลักเขตแดนหรือมุดหมายพยานกับการจัดทำและผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้วอย่างเท่าเทียมกัน

ข้อ 7 

1. รัฐบาลของประเทสทั้งสองจะเตรียมการที่จำเป็นเกี่ยวกับการเข้าเมือง การกักกันโรคติดต่อ และพิธีการศุลการกรเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

2. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปกรณ์ วัสดุ และเสบียงในปริมาณที่สมควรและสำหรับชุดสำรวจร่วมใช้เฉพาะในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก แม้ว่าได้นำข้ามแดน จะไม่ถือเป็นการส่งออกจากประเทสหนึ่งหรือนำเข้าอีกประเทสหนึ่ง และจะไม่ต้องชำระอากรศุลกากรหรือภาษีอื่น ๆ เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกหรือนำเข้าซึ่งสินค้า

ข้อ 8

ให้ระงับข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดจากการตีความหรือบังคับใช้ความเข้าใจฉบับนี้โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาและการเจรจา

ข้อ 9

บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเร่ิมใช้บังคับในวันลงนามบันทึกความเข้าใจโดยผู้แทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเป็นพยายานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้จากรัฐบาลของแต่ละฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจนี้ไว้เป็นสำคัญ

ทำขึ้นเป็นคู่ฉบับ ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 เป็นภาษาไทย ภาษาเขมร และภาษาอังกฤษ ตัวบททุกฉบับใช้เป็นหลักฐานเท่าเทียมกัน ในกรณีที่มีการตีความแตกต่างกันระหว่างตัวบทใด ๆ ให้ใช้ตัวบทฉบับภาษาอังกฤษ

ลงนามโดย

ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย)

นายวาร์ คิม ฮง (ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพุชา)

download เอกสาร  MOU 2543 ต้นฉบับ

Don`t copy text!