your grace never been forgotten

Vitus Bering

 วิตัส โจนาสเซน เบอริ่ง (Vitus  Jonanssen Bering)

เกิดในประเทสเดนมาร์ก เมืองฮอเซน , จัทแลนด์ (Horsens,Jutland) ในปี 1681 พ่อของเขาชื่อ โจนัส สเวนด์เซน (Jonas Svendsen ) เป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากร และแม่ของเขาแอนนา (Anna Pedersdatter Bering)  เบอริ่งรักทะเลมาตั้งแต่ตอนยังเด็ก และออกทะเลพร้อมด้วยเรียนวิชาการเดินทะเลจากเรือทั้งจากเนเธอแลนด์และเดนมาร์กเอง  เคยออกเดินทะเลไปกับเรือของบริษัทเดนิสอีสต์อินเดีย

ปี 1703 ขณะอายุ 22 ปี เขาได้พบกับ นอร์เวเจียน ครุย์ส (Norwegian corneliis Cruys) รองผู้บัญชาการกองเรือรัสเซีย ซึ่งตอนนั้นกำลังมองหาลูกเรือจำนวนมาก ในอัมสเตอร์ดัม และเบอริ่งได้กลายเป็นหนึ่งในลูกเรือที่ถูกจ้าง ร่วมกับชาวเดนมาร์กและนอร์เวย์หลายสิบคน ทำให้ได้ประจำในกองเรือรัสเซีย ซึ่งตอนนั้นเป็นยุคของซาร์ปีเดอร์ ที่ 1 มหาราช

เบอริ่งเข้าไปทำงานในกองเรือรัสเซียในทะเลบอลติก ซึ่งตอนนั้นรัสเซียทำสงครามทางทะเลกับสวีเดนอยู่ เรียกว่า the Great Nordic War (1700-1721)  ในยุคนั้นรัสเซียและสวีเดนเป็นศัตรูตัวฉกาจระหว่างกัน

ประมาณปี 1710-1712 เบอริ่ง ถูกส่งไปทำงานในกองเรือในทะเลเอซอฟ (Azov Sea) ที่เมืองตากานรอก (Taganrog) ซึ่งตอนนั้นรัสเซียก็มีสงครามกับตุรกี เบอริ่ง ได้รับการแต่งตั้งเป็นกัปตัน และผู้บัญชาการเรือ

ปี 1718 เขาแต่งงานกับแอนนา เพียลซี (Anna Christina Piillse of Viborg) ซึ่งเป็นลูกสาวคนเล็กของพ่อค้าชาวเดนมาร์ก มาเธียส เพียลซี  (Mathias Pillse)

ปี 1724 ซาร์ปีเตอร์ ที่ 1 ได้สั่งให้เบอริ่ง เดินทางสำรวจคามชัคก้า (Kamchatka Expedition 1725-1730) ซึ่งเป็นดินแดนตะวันออกไกลของรัสเซย ว่ากันว่ารัสเซียต้องการที่จะหาทางเชื่อมต่อไปยังอเมริกา เพื่อติดต่อกับเรือสินค้าในยุโรป และพิสูจน์ว่าสามารถสร้างทางเชื่อมสองดินแดนเข้าด้วยกันทางบกหรือไม่ นอกจากนั้นรัสเซียอาจต้องการครอบครองอาณานิคมในอเมริกาด้วย ตอนนั้นเคยมีการสำรวจเน้นทางทะเลบริเวณประเทศจีนและไซบีเรียมาแล้ว ในปี 1648 โดย เซมยอน เดซ์นยอฟ (Semyon Dezhnyov) โดยมีการแล่นเรือผ่านช่องแคบเบอริ่งด้วย แต่ว่าเอกสารเกี่ยวกับเส้นทางหายไป จนกระทั้งมาพบใหม่ในปี 1736 โดย เจอราร์ด มิลเลอร์  (Gerard Miller)

6 มกราคม 1725 ไม่กี่อาทิตย์ก่อนการเสียชีวิตของซาร์ , ซาร์ปีเตอร์ ที่ 1 ได้ทรงมอบคำสั่งใหม่ให้กับเบอริ่งผ่านนายพล ปีเตอร์ อปรากซิน (Pyotr Apraksin) เพื่อให้มอบกับเบอริ่ง โดยทรงตั้งใจสั่งให้เบอริ่งสำรวจเส้นทางจากฝั่งตะวันออกของคัมชัตก้า โดยอนุญาตให้สร้างเรือลำหรือสองลำ แล้วเดินทางขึ้นไปทางเหนือเพื่อดูว่าชายฝั่งไปสิ้นสุดที่ไหน จากนั้นก็ให้เดินทางไปยังประเทศ หรือเมืองที่ตกเป็นอาณานิคม และสร้างแผนที่ขึ้นมา ตอนนั้นแม้แต่สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซียก็เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นานและไม่มีประสบการณ์ในการสร้างแผนที่ ดังนั้นงานต่างๆ ก็ตกเป็นภาระกิจของเบอริ่ง

เบอริ่งและลูกเรือของเขาออกเดินทางจากเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 1725 และพอเดือนมีนาคม ก็ไปถึงเมืองโตบอลสซ์ (Tobolsk) ไซบีเรีย ในเดือนมีนาคม ที่นี่พวกเขาต้องจัดหาอุปกรณ์สำหรับการประกอบเรือ พร้อมทั้งปืนใหญ่ 8 กระบอก สมอ และชิ้นส่วนที่ต้องเป็นเหล็ก ยกเว้นไม้ที่สามารถหาได้จากที่เมืองอื่น พวกเขาเดินทางด้วยม้า ผ่านเออกุต์ส (Irkutsk) ยากุต์ส (Yakutsk) จนไปถึง ออคโคตส์ (Okhotsk) ตลอดทางต้องผ่านแม่น้ำและทะเลสาบมากมาย ที่ออคโคตส์นี้พวกเขาเริ่มต่อเรือลำแรก สำหรับการผจญไปคาบสุมทรคัมชัคก้า และเมื่อถึงคัมชัคก้า พวกเขาก็ต่อเรือขึ้นอีกลำหนึ่ง ให้ชื่อว่า เซนต์เกลเบรียล (St.Gabriel)  ที่เหมาะสำหรับการเดินทางในทะเล

วันที่  25 กรกฏาคม พวกเขาล่องเรือที่สร้างเสร็จ ออกแม่น้ำคัมชัคก้า และมุ่งไปทางเหนือตามแนวชายฝั่ง

9 สิงหาคม ผ่านเขาเอนาดีร์ (Anadyr Mouth)

21 สิงหาคม พวกเขาค้นพบเกาะมหึมาเกาะหนึ่ง ภายหลังเกาะนี้มีชื่อว่า เกาะ เซนต์ลอว์เรนส์  (St.Lawrence) จากนั้นพวกเขาก็เดินทางผ่านเกาะดิโนเมด (Diomede) และมุ่งหน้าไปยังตะวันออก และค้นพบเกาะรัทมานอฟ (Ratmanov island) เป็นการค้นพบซ้ำ ซึ่งเดซ์นยอฟ ได้เคยค้นพบเกาะนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว เรือเซนต์เกเบรียล มุ่งหน้าไปทางเหนือจนไปถึงบริเวณที่เรียกกันว่าช่องแคบเบอริ่งในปัจจุบัน ซึ่งทวีปเอเซียและอเมริกา เกือบจะเชื่อมติดกันที่สุด ตอนนั้นเบอริ่งไปถึงที่นั้น ก็ไม่เห็นว่ามีแผ่นดินตรงไหนที่สามารถไปทางตะวันออกได้อีก เขาจึงเดินทางกลับ

ฤดูร้อนปี  1730 รัสเซียเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ เป็นของซาดิน่า แอนนา เอียนนอฟน่า (Empress Anna Ioannovna) เบอริ่งที่กลับมาถึงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ถูกตำหนิที่ไม่ได้เดินทางไปยังแผ่นดินอเมริกาจริงๆ ตอนนั้นลูกห้าคนของเขาเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับผ่านไซบีเรีย เบอริ่งได้มีการเตรียมตัวออกเดินทางสำรวจครั้งที่สอง ซึ่งกลายมาเป็นการเดินทางสำรวจครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก เรียกว่า Great Nordic Expedition (1733-1743) มีการใช้กำลังทั้งทหาร ลูกเรือ และช่างไม้ รวมกันว่า 10,000 คน พวกเขาเดินทางไปยังอเมริกาเหนือได้สำเร็จ จนกระทั้งไปถึงดินแดนที่ถูกยึดครองโดยมหาอำนาจเสปนหรือชาติอื่น เขาแตกขบวนนักสำรวจออกเป็นสี่กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจากเมืองอาร์ตแองเจิ้ล(Arkhangelsk) ไปยังเขาต้นน้ำของแม่น้ำอ๊อบ (Ob River)  และจากแม่น้ำอ๊อบไปยังเขาเยนิซี (Yenisey) ต่อไปยังแม่น้ำลีน่า (Lena river) ไปยังคาบสมุทรชุกชิ (Chukchi peninsula) และคัมซัตก้า ซึ่งการสำรวจครั้งนี้สร้างคุณค่ามหาศาลและเป็นการปลดปล่อยทางวิชาการหลายสาขา ทั้งประวัติศาสตร์ธรรมชาติภูมิศาสตร์ทำแผนที่ประวัติศาสตร์โบราณคดีและภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ ทำให้รัสเซียได้รู้จักดินแดนของตัวเองมากขึ้น และมีการสร้างเอกสารและตัวอย่างทางวิชาการทิ้งเป็นหลักฐานไว้มากมาย คณะสำรวจไปถึงโอคอตส์ก

ในปี 1735 เบอริ่งได้คนท้องถิ่นสองคนคือมาการ์ (Makar Rogachev) และ คอซมิน (Andrey Kozmin) ช่วยในการต่อเรือสองลำ ชื่อ เซนต์ ปีเตอร์ และ เซนต์พอล (St.Peter, St.Paul) เรือแต่ละลำมีปืนใหญ่ 14 กระบอกและสามารถบรรทุกลูกเรือกได้ 76 คน พวกเขาใช้เวลากว่าสามปีในการสร้างเรือ ภรรยาของเบอริ่ง แอนนา คริสติน่า เดินทางมาสมทบกับเขาที่โอคอตส์กนี้ในปี 1739 ปีนั้นเบอริ่งสั่งให้ อิวาน เยลากิน (Ivan Yelagin) มุ่งไปทางฝั่งตะวันออกของคัมชัตก้า เพื่อสร้างฐานและบ้านพักสำหรับลูกเรือ โดยฐานดังกล่าวอยู่ที่อ่าวอวาชา (Avacha Bay) ตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็นอ่าวปีโตรปาฟลอฟสก์ ( Petropavlovsk) เพืิ่อเป็นเกียรติแก่เรือทั้งสองลำ จากจุดนี้พวกเขาเดินหน้าสำรวจอเมริกา

ในปี 1741 ในวันที่ 4 มิถุนายน 1741 เบอริ่งล่องเรือออกจากคัมชัตก้า โดยอยู่บนเรือ เซนต์ปีเตอร์ โดยที่เรือ เซนต์พอล สั่งให้ ลูตินานต์ ชิริคอฟ (Lieutenant Aleksey Chirikov) เป็นคนบัญชาการ  ในตอนแรกเรือสองลำมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงใต้หา ดินแดนที่เรียกว่า ดากาม้า (da GAMA ) ซึ่งปรากฏในแผนที่ฉบับแรก  ทว่าพวกเขาถูกกระแสน้ำที่แปรปรวนทำให้หลงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และไม่พบดินแดนที่ว่า

20 มิถุนายน เรือทั้งสองลำ ผลัดลงออกจากกัน เพราะว่าหมอกที่ลงจัด

15 กรกฏาคม ชิริคอฟ เดินทางไปจนถึงชายฝั่งตะวันตกของเกาะปริ๊นออฟเวลส์ (Prince of Wales island) เขาสั่งให้ลูกเรือขึ้นฝั่งเพื่อสำรวจ ทว่าลูกเรือของเขาหายไป ชิริคอฟ บันทีกว่าในวันที่ 26  กรกฏาคม พวกเขาเห็นภูเขาสูงมาก ปกคลุมไปด้วยหิมะ และตีนเขาเป็นทางลาดเอียงเล็กน้อย มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม เขาคิดว่ามันเป็นอเมริกา แต่เขาและลูกเรือที่เหลือไม่สามารถที่จะขึ้นฝั่งได้ ชิริคอฟตัดสินใจกลับรัสเซีย โดยที่ต้องถ้าทายกับอากาศโหดร้ายในเดือนนั้นของทะเลแบริ่ง บริเวณที่ชิริคอฟเห็นนั้นปัจจุบันเรียก อ่าวซิทก้า (Sitka harbor) ชิริคอฟ กลับถึงเปโตรปาฟลอฟสก์ ในเดือนตุลาคม

ส่วนเบอริ่ง หลังจากเรือพลัดหลงกันแล้ว เขามุ่งหน้าไปยังหมู่เกาะอเล็กซานเดอร์ (Alexander Archipelago) หรืออาจจะเป็นเกาะพรินส์ออฟเวลส์ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอลาสก้า ตอนนั้นนักธรรมชาติวิทยาและแพทย์ ชาวเยอรมัน ชื่อ จอร์จ วิลเฮล์ม สเตลเลอร์ (Georg Wilhelm Steller) ได้ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้เหยียบพื้นดินของอลาสก้า ซึ่งต่อมาเขาก็บ่นว่า เขาใช้เวลาในการเดินทางหาทวีปใหม่ 10 ปี แต่ว่ามีเวลาในการศึกษามันแค่ 10 ชั่วโมง เพราะว่าเบอริ่งต้องการรีบเดือนทางต่อไปทางเหนือเพื่อวาดแผนที่ต่อไป และด้วยความกังวลว่าสภาพเรือจะไม่ปลอดภัยจนกระทั้งตอนเวลาเดินทางกลับ เบอริ่งสามารถสำรวจได้แค่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของอ่าวอลาสก้า คาบสมุทรอลาสคาน (Alaskan Peninsula) หมู่เกาะอลัวเทียน (Aleutian islands) ลูกเรือได้พบเห็นภูเขาไฟที่กำลังปะทุด้วย เขาตั้งชื่อภูเขาไฟลูกนั้ยว่า เซนต์ อีเลียส (St.Elias) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันมาตราบปัจจุบัน มีลูกเรือคนหนึ่งเสียชีวิตและถูกนำร่างไปเผาบนเกาะ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า เกาะชุมากิน (Shumagin island)

พอวันที่ 10 สิงหาคม เบอริ่งตัดสินใจที่จะนำเรือกลับรัสเซีย เพราะว่าอาการที่เตรียมมาเหลือน้อยลง  อากาศในฤดูหนาวของทะเลเบอริ่งรุนแรงมาก ขนาดที่เหลือลูกเหลือเพียงแค่ 3 คนที่ทำงานบนดาดฟ้าเรือได้

เรือเซนต์ปีเตอร์แล่นมาจนกระทั่ง 4 พฤศจิการยน 1741 นั้นแหละถึงจะเริ่มมองเห็นแผ่นดินอีกครั้ง ตอนนั้นใบเรือฉีกขาดและโครงเรือก็เริ่มจะแตกออกจากกัน พวกเขาภาวนาให้แผ่นดินที่เห็นเป็นคัมชัคก้า ที่พวกเขาเดินทางจากมา ลูกเรือจำเป็นต้องรีบนำเรือขึ้นฝั่งเพื่อซ่อมแซม ทว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นกลับเป็นเกาะที่มีผาสูงชั่น ลูกเรือกลุ่มหนึ่งถูกส่งให้ขึ้นฝั่งไปสำรวจ และเก็บไม้มาทำเป็นอาวุธเพื่อว่าจะต้องต่อสู้กับสัตว์ป่า เบอริ่งสรุปว่าเกาะที่พวกเขาพบนั้นไม่ใช่คัมชัคก้าเพราะว่าสัตว์ต่างๆ ไม่มีทีถ้าจะกลัวมนุษย์เลย เบอริ่งรีบขึ้นเรือไปบอกกับตันที่ล้มป่วยใกล้จะตายนอนอยู่บนเตียง เขาคิดว่ามันไม่ใช่คัมชัตก้าและนี่จะต้องเป็นการค้นพบเกาะแห่งใหม่  เบอริ่งพยายามบอกกับลูกเรือที่เหลืออย่างสงบ ว่าเรือเซนต์ปีเตอร์คงไม่สามารถที่จะซ่อมได้อีกแล้ว  ลูกเรือทั้งหมดติดอยู่ในฤดูหนาวบนเกาะแห่งนี้ ช สร้างกระท่อมด้วยไม้ โดยฝั่งตัวอยู่ในทราย พวกเขาอยู่ด้วยความอดอยาก

และ 19 ธันวาคม เบอริ่ง เสียชีวิต

ช่างไม้คนเดียวที่ยังคงรอดชีวิตอยู่ ซาฟว่า สตาโรดับต์เซฟ (Savva Starodubtsev) พร้อมด้วยลูกเรือที่มีชีวิตรอดได้สร้างเรือเล็กๆ ลำใหม่จากซากเรือลำเก่า เรือลำใหม่นี้มีความยาวเพียงแค่ 12.2 เมตร และยังคงใช้ชื่อว่า เซนต์ ปีเตอร์หลังจากเหตุการณ์นี้เรือลำนี้ยังอยู่ใช้งานอีก 12  ปี โดยแล่นไปกลับคัมชัตก้าไปโอคอตสก์ จนปี 1755 

14 สิงหาคม 1742 ลูกเรือที่เหลืออยู่ออกจากเกาะที่ภายหลังเรียกว่าเป็นเกาะเบอริ่ง และมุ่งหน้าไปยังคัมชัตก้า พอ 26 สิงหาคม พวกเขาก็มาถึงเปโตรปาฟลอฟสก์  เป็นเวลาเกือบ 2 ปีที่พวกเขาเดินทางจากไป ชาย 77 คน เหลือรอดกลับมาเพียง 46 คน พวกเขาใช้ฤดูหนาวในเมืองนี้ ก่อนที่จะกลับไปโอคอตส์ก ในปีถัดมา คนที่ได้พบเห็นพวกเขาต่างประหลาดใจ เพราะคิดถอดใจไปแล้วว่าคงไม่มีผู้ใดรอดกลับมา

หลายปีต่อมา มีการสร้างแผนที่ใหม่อย่างช้าๆ จากข้อมูลที่ได้มาจากลุกเรือหลังกลับไปถึงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก แผนที่ใหม่นี้เปลี่ยนโฉมหน้ารัสเซียที่รู้จัก ให้ยิ่งใหญ่ออกไปอีก ไซบีเรีย ขยายออกไปอีก 30 องศาลองติจูต  แต่การสำรวจของเบอริ่ง ไม่ได้ถูกรวมรวมไว้สมบูรณ์ จนกระทั้งมีการสำรวจในครั้งหลังโดยเจมส์ คุก  (James Cook) โดยอาศัยข้อมูลของเบอริ่งและชิริคอฟ ซึ่งการสำรวจทั้งหมดทำให้เกิดการขุดทองและนักล่าสมบัติเข้าไปยังไซบีเรียตะวันออก และอเมริกากันมาก เพื่อหาแร่มีค่า นั้นทำให้ดินแดนใหม่และอลาสก้าอยู่ภายใต้รัสเซียยาวนานถึงปี 1867 ก่อนที่จะขายอลาสก้าไปในราคาแค่ 7.2 ล้านเหรียญ

ชื่อของนักสำรวจ อย่างเบอริ่ง และ ชิริคอฟ , สเตฟาน มาลินกิน (Stepan Malygin), ฟิโอดอร์ มินิน (Fyodor Minin), ดมิทรี โอฟซิน (Dmitry Ovtsyn) ,วาสิลี โปรนชิชเชฟ (Vasily Pronchishchev) , เชลยูสกิน (Chelyshkin) , คาริตอน (Khariton) , ดมิทรี ลาฟเตฟ (Dmitry Laptev) ถูกจารึกตระง่านท่ามกลางกระแสแห่งเวลาที่รุนแรงว่าคลื่นลมในทะเลในฐานะนักสำรวจที่ยิ่งใหญ๋ ทั่วโลกรู้จักช่องแคบเบอริ่ง ทะเลเบอริ่ง และเกาะเบอริ่ง ที่อุทิศแด่ผู้ค้นพบ

ส่ิงหาคม 1991 หลุมฝั่งศพของเบอริ่งและลูกเรือห้าคนถูกคนพบโดยทีมสำรวจของโซเวียตและเดนมาร์ก ร่างที่เหลืออยู่ถูกนำกลับมายังมอสโคว์ เพื่อตรวจสอบ ชิ้นส่วนฟันของเบอริ่งบอกว่าเขาไม่ได้ตายด้วยโรคเลือดออกตามไรฟันอย่างที่เขาใจ นอกจากนั้นนิติวิทยาศาสตร์บอกว่าเบอริ่ง เป็นชายกำยำ มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ภาพเขียนที่เชื่อกันว่าเป็น วิตัส โจนาสเซน เบอริ่ง ในรูปร่างอ้วน ตุ้ยนุ้ย ปัจจุบันเชื่อว่าน่าจะเป็นภาพลุงของแม่ของเบอร์ริ่ง มากกว่า ร่างของวิตัส เบอริ่ง และลูกเรือ ยังคงถูกนำกลับไปเผายังเกาะเบอริ่งในปี 1992


 

Don`t copy text!