Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Aleksandr Solzhenitsyn

อเล็กซานเดอร์ โซลเชนิตซิน (Александр Исаевич Солженицын

นักเขียนรางวัลโนเบลของรัสเซีย ทัั้งยังเป็นนักประวัติศาสตร์ เขาเป็นผู้ทำให้ทั่วโลกรู้จักนิยามของ “กุลัก” ค่ายนักโทษในไซบีเรีย โซลเชนิตซิน เกิดในครอบครัวชาวคอสแซค พ่อของเขาชื่อ ไอแซค (Isaak) ของเขาเกิดในเมือง กิสโลโวดสก์(Kislovodsk) ตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัส ไอแซคเข้าเรียนสาขาปรัชญาในมหาวิทยาลัยมอสโคว์ แต่ว่าพอเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 เขาก็ลาออกมาสมัครเป็นทหาร และไปประจำการในแนวหน้ารบกับเยอรมัน ระหว่างสงครามนี้เองที่ได้พบกับภรรยา ชื่อ เทียสย่า สเชเบอร์บาก (Taisya Shchberbak) พวกเขาแต่งงานกันระหว่างที่สงครามดำเนินไป จนกระทั้งปี 1918 ถึงได้เดินทางกลับบ้าน แต่ว่าไม่นานจากนั้นก็เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุจากการออกล่าสัตว์ ซึ่งการแพทย์ที่แย่ทำให้เขาตายไปก่อนที่ โซลเชนิตซิมจะเกิดเพียง 6 เดือน

เทียสย่า รับหน้าที่เลี้ยงลูกเพียงลำพัง โดยไม่เคยได้แต่งงานใหม่ เธอเป็นหญิงมีการศึกษาดี พูดได้ทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ เธอหาเลี้ยงครอบครัวโดยการทำงานเป็นนักพิมพ์และนักชวเลข ในปี 1924 ทั้งแม่ลูกมาเช่ากระท่อมหลังเล็กๆ ในเมือง รอสตอฟออนดอฟ (Rostov-on-Dov) อยู่ ตอนนั้นรัฐบาลไม่สามารถหาห้องพักให้พวกเขาได้ จนถึงอายุได้ 15 ปี รัฐจึงจัดหาห้องให้พวกเขาอยู่ได้ โซลเชนิตซิน ต้องการเป็นนักเขียนมาตั้งแต่ตอนวัยรุ่น เขาอยากจะไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเดียวกับพ่อ แต่ว่าแม่ของเขาไม่สามารถส่งเสียให้ได้ จึงเลือทกี่จะเรียนด้านฟิสิกข์คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยในรอสตอฟออนดอฟ ในปี 1937

ปี 1940 , เขาแต่งงานกับ นาตาลย่า เรเชตอฟสกาย่า (Natalya Reshetovskaya) ระหว่างที่กำลังเรียนอยู่ โดยนาตาลย่าเรียนด้านเคมี . แต่ว่าในปีนี้ แม่ของเขาก็เสียชีวิต

ปี 1941 , เขาเรียนจบ เป็นเวลาเพียงไม่กี่วันก่อนที่สงครามโลก ครั้งที่ 2 จะเริ่มต้นขึ้น โซลเชนิตซิน ได้ทำงานเป็นครูสอนวิชาฟิสิกข์ให้กับโรงเรียนมัธยมแห่งโมโรสอฟก้า (School of Morozovka) ในเขตรอสตอฟ แต่ว่าไม่นานสงครามก็ทำให้อาชีพครูของเขายุติลง เขาถูกส่งไปประจำการในกองทัพ มีหน้าที่ขับรถลำเลียงของกองทัพแดง แต่เนื่องจากวุฒิทางการศึกษาของเขา กองทัพจึงได้โอนเขาไปฝึกโรงเรียนการยิงปืนใหญ่ในเดือนพฤศจิกายน 1942 หลักการฝึก เขาถูกส่งไปยังหน่วยในเขตกอร์กี จากนั้นก็ถูกส่งเข้าไปยังหน่วยรบในแนวหน้าในเลนินกราด และสมรภูมิในโปแลนด์ ปรัสเซีย ซึ่งตลอดเวลาเป็นทหารในแนวหน้าตลอด จนกระทั้ง 1945 เขาได้รับเหรียญรางวัล Order of the Patriotic War Class II และ Order of the Red Star เขาเองได้รับแต่งตั้งเป็นยศ กัปตัน

แต่ว่าระหว่างที่เป็นทหารอยู่นี้ เขาเขียนข้อความโจมตีสตาลินบ่อยๆ โดยใช้ชื่อเรียกแฝง อย่างไรก็ดี วันหนึ่งเขาก็ถูกจับได้ และถูกลงโทษ โซลเชนิตซิม ถูกนำตัวไปยังคุกลุบยานก้า (Lubyanka prison) ในมอสโคว์ และถูกตัดสินลงโทษให้ไปทำงานหนักในค่ายแรงงานเป็นเวลา 8 ปี เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 1945 เขาถูกส่งตัวไปยังค่ายในมอสโคว์ก่อนห้าเดือน เพื่อฝึกในการก่อสร้าง แต่ว่าในปี 1946 เขาถูกส่งตัวไปยังสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ในมอสโคว์แทน เพราะความรู้จากวิทยาศาสตร์ของเขา ทำให้เขาอยู่ที่นี่เป็นเวลา 4 ปี

1950 เขาถูกส่งไปยังค่ายนักโทษในคาซัคสถาน ซึ่งสร้างเฉพาะนักโทษการเมือง เขาใช้โทษที่เหลืออยู่อีกสามปีที่นี่ ทำงานเป็นแบกอิฐ แบกปูน และช่างหลอม ตามแต่จะได้รับคำสั่ง ระหว่างนี้เองที่เขาเริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็ง แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดแต่ก็ไม่ได้ดีขึ้น กับภรรยาเขานั้นเขาได้หย่าขาดกับเธอ ระหว่างที่ถูกลงโทษอยู่ เพราะว่าไม่อยากให้ภรรยาต้องเดือดร้อนไปด้วย เธอได้แต่งงานใหม่และมีบุตรด้วยกันสองคน

พฤษภาคม 1953 เขาพ้นโทษออกมา ตอนนั้นสตาลินเพิ่งจะเสียชีวิตไป หลังพ้นโทษแล้ว เขาถูกเนรเทศให้ไปอยู่ในเมือง กอกเตเรก (Kokterek) ตอนใต้ของคาซัคสถาน ระหว่างนี้เขามีอาการเจ็บปวดจากมะเร็งเป็นช่วงๆ และต้องไปรักษาในอุซเบกิซถาน เป็นช่วงๆ

ปี 1956 เขาไดกลับไปยังรัสเซียอีกครั้ง โดยไปอยู่ในเขตวลาดิมีร์ ก่อนที่จะย้ายไปเรียซาน (Ryazan) ห่างจากมอสโคว์ 160 กิโลเมตร ภรรยาเก่าของเขาได้กลับมาหาเขาอีกครั้งหลังจากเขาพ้นโทษ โซลเชนิตซิม ทำงานเเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ และเป็นนักเขียนในเวลาว่าง ส่วนนาตาเลีย ภรรยาทำงานเป็นอาจารย์ในสถาบันโพลีเทคนิคแห่งเรียซาน (Ryazan Polytechnical Institute) ช่วงปี 1960s ทั้งคู่ได้ย้ายมายังออกนินส์ก (Obninsk) เมืองศูนย์กลางวิทยาศาสตร์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงมอสโคว์ โซเชนิตซิม ได้ตีพิมพ์งานเขียนเล่มแรกของเขาออกมาในปี 1962 , “One Day in the Life of Ivan Denisovich” กับสำนักพิมพ์โนวีเมียร์ ( Novy Mir) เขาเขียนหนังสือเล่มนี้เสร็จหลา่ยปีแล้ว ตั้งแต่ 1958 แต่ว่าไม่ได้ส่งมันตีพิมพ์ จนกระทั้งทวาร์ดอฟสกี (Tvardovsky) บรรณาธิการสำนักพิมพ์ได้อ่านงานของเขาและขออนุญาตพรรคคอมมิวนิสต์ในการตีพิมพ์ หนังสือของเขาประสบความสำเร็้จมากในสหภาพโซเวียต จนเขาตัดสินใจที่จะหยุดเป็นครูสอนหนังสือและมาเขียนหนังสือ

เขามีงานเขียนเรื่องสั้น อย่าง Matryona’s Homestead, An Incident At Krechtovka Station, For the Good of the Cause ในปีถัดมา

แต่ว่าหนังสือเรื่อง The First Circle (1964) และ The Cancer Ward (1966) งานเขียนของเขาถูกห้ามตีพิมพ์ในโซเวียต แต่ได้มีการลักลอบเอาออกจากโซเวียตและถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ และพิมพ์จำหน่ายในปี 1968 ในอังกฤษ และยุโรป

1970 เขาแยกทางกับภรรยาเก่า และได้แต่งงานใหม่กับ นาตาเลีย สเวตโลว่า (์Natalya Svetlova) ครูสอนคณิต ในปี 1973 มีลูกชายด้วยกันด้วยกันสามคน เยอร์โมเลย์(Yermolay) สเตปาน(Stepan) และอิกแนท(Ignat) และลูกชายที่ติดมากับสเวตโลว่ากับสามีเก่าอีกหนึ่งคน ชื่อ ดมิทรี (Dmitry) เดือนตุลาคม

1973 อเล็กซานเดอร์ โซลเชนิตซิม ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม แต่ว่าเขาเองไม่ได้รับอนุญาตให้ออกไปรับรางวัล เพราะโซเวียตกลัวว่าจะกลายเป็นเครื่องมือของตะวันตกในการโจมตีโซเวียต ตอนนั้นงานเขียนเรื่อง The Gulag Archipelago ของเขาก็เสร็จแล้ว แต่ว่าต้องซ่อนเอาไว้ และลักลอบนำไปตีพิมพ์ในปารีสเดือนธันวาคม 1973 เป็นงานเขียนที่สะท้อนการทรมานนักโทษ ในค่ายผู้ใช้แรงงานในไซบีเรีย ทันทีที่ถูกตีพิมพ์ก็กลายเป็นเหมือนข้อมูลให้ชาติตะวันตกเอามาโจมตีโซเวียตอย่างได้ผล

โซลเชนิตซิม ถูกจับในเดือนกุมภาพันธ์ 1974 ถูกนำตัวไปขังอย่างคุกเลฟอร์โตโว (Lefortovo Prison) แต่ว่าก็เป็นเรื่องประหลาดที่ในวันต่อมาเขาถูกเนรเทศออกจากโซเวียต ซึ่งดูจะเหมือนเป็นความกรุณามากกว่าถูกลงโทษ เขาไปอาศัยอยู่ในสวิสเซอร์แลนก่อนที่จะย้ายไปสหรัฐอเมริกาในปี 1976

มีผลงานเขียนมหากาพย์เรื่อง The Red Wheel ที่บอกเล่าเหตุการณ์ก่อนการปฏิวัติรัสเซีย ประวัติศาสตร์ เขาดิสเครดิตการปฏิวัติตุลาคม 1917 ว่าไม่ใช่ผลงานของบอลเชวิค แต่ว่าเป็นปัญญาสังคมที่เรื้อรังมายาวนานก่อนหน้านั้นระหว่างผู้ปกครองและสังคมปัญญาชน ซึ่งเมื่อการปกครองเดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการสังคมได้ เมื่อระบบการปกครองเดิมล้มลง มันก็เหมือนเรือที่ล่มก็ต้องโทษกัปตันเรือ

โซลเชนิตซม อยู่ในเวอร์มอนต์ สหรัฐเป็นเวลากว่า 20 ปี รัฐบาลโซเวียตของมิคาเอล กอร์บาเชฟ คืนสิทธิพลเมืองให้กับเขาในปี 1990 ก่อนทีี่จะได้เดินทางกลับรัสเซ๊ยในปี 1994 มีการใช้ชื่อเขาเป็นเป็นรางวัลแต่นักเขียนในปี 1997 เขาบอกว่าระบบที่เขาต้องการให้รัสเซียเป็นนั้นไม่ใช่การลอกเลียนแบบชาติตะวันตก แต่ว่าเป็นแสวงหาคุณค่าของค่านิยมของสลาฟและศาสนา วัฒนธรรมของตนขึ้นมา เขาค่อนข้างพึงพอใจสภาวะที่เริ่มดีขึ้นของรัสเซียในยุคของปูติน

โซลเชนิตซิม เสียชีวิตเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 เมื่ออายุ 89 ปี

Don`t copy text!