Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Vladimir Behkterev

Vladimir Bekhterev (www.vokrugsveta.ru)

วลาดิมีร์ เบก์คเตเรฟ (Владимир Михайлович Бежтерев)

 นักวิทยศาสตร์ผู้วางรากฐานการศึกษาด้านสมองและจิตวิทยา

เกิดในหมู่บ้านโซราลิ (Sorali) เขตเวียตก้า (Viatka Region)  เมื่อวันที่ 20 มกราคม 1857  พ่อของเขาเป็นข้าราชการระดับล่าง เสียชีวิตในปี 1865 ด้วยโรควัณโรค เบก์คเตเรฟ เข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดวีแยตก้า (Vyatka gymnasium)

1878 จบการศึกษาทางด้านแพทย์ศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แห้งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (St.Peterburg Medical-Surgical Academy)

1879 ได้เป็นสมาชิกของสมาคมแพทย์ St.Peterburg Society of Psychiatrists ไม่นานหลังจากนั้นเขาก็แต่งงานและย้ายจากเมืองบ้านเกิดไปที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

1881 จบปริญญาเอก เขาโฟกัสการศึกษาของเขาไปที่เรื่องของระบบประสาทและจิต เขายังได้รัหน้าที่สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แห่งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

1882 ผลงานวิจัยเกี่ยวกับสมองและกระดูกสันหลังตีพิมพ์ ชื่่อ The Conduction Paths in the Brain and Spinal Cord

1883 ทำการศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของการกดจุด (Refloxology) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมอง และในปีนี้เขายังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสมาคมแพทย์แห่งอิตาลี (Italian Society of Psychiatrists)

1884 เริ่มทำงานในคลีนิกเพื่อรักษาผู้ป่วยทางจิต แต่ว่าไม่นานก็ได้รับทุน และถูกส่งไปยังเยอรมันและฝรั่งเศสเพื่อศึกษาและทำการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตอนไปฝรั่งเศส เขาได้แสดงความประสงค์ที่จะทำงานร่วมกับ ดร. Jean-Martion Chacot ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแผนกวิชาเกี่ยวกับผู้ป่วยทางประสาทวิทยาคนแรกของโลก นอกจากนั้นยังได้ทำงานกับนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกอีกหลายคน อย่าง Wilhelm Wundt, Paul Emil Flechsig, Theodor Meynert, Carl Fredrich Otto Westphal, Emil du Boris-Reymond ในปีนี้ ศจ. เบก์คเตเรฟ  พิมพ์ผลงานวิจับเกี่ยวกับการทำงานของสมองกว่า 58 เรื่อง

1885 ตอนอยู่เยอมันเขาได้ตอบรับข้อเสนอจากมหาวิทยาลัยคาซาน ให้เป็นคณะบดีของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ทำให้ปีนี้เขาเดินทางกลับมารัสเซีย ทำหน้าที่เป็นศาสตร์จารย์ในมหาวิทยาลัยคาซาน (Kazan University) เขาปรับปรุงระบบภายในขณะใหม่ และเริ่มการศึกษาระบบประสาทอย่างจริงจัง โดยเฉพาะโครงสร้างของสมอง และยังได้ก่อตั้งนิตยสารด้านระบบประสาท ชื่อ  Neurology Weekly (Неврологический вестник)

1894 ได้รับตำแหน่งกรรมการทางด้านการแพทย์ของกระทรวงมหาดไทย

1895 ได้เป็นสมาชิกของสภาวิทยาศาสตร์และการทหาร สังกัดกระทรวงกลาโหม (Military and Scientific council , War Minister)

1897 เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่วิทยาลัยแพทย์สตรี (The Women’s Medical University)

1902 พิมพ์หนังสือ Mind and Life ที่เขาอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของระบบจิต เบก์คเตเรฟ ได้รับรางวัล Bair’s Prize จากผลงานวิจัยในหนังสือของเขา

1903 The Fundamentals of the Theory of Function of the Brain อธิบายเกี่ยวกับการทำงานของสมองและระบบประสาท ปรากฏการณ์รีเพล็ก(การตอบสนองแบบอัตโนมัติ)  ผลงานการวิจัยของเบก์คเตเรฟ ทำให้เกิดกระแสความสนใจในการศึกษาสมองและจิตวิทยากันอย่างมากในเวลา จนเรียกว่าเป็น Behaviorism

1907 เขียนหนังสือเรื่อง The Objective Psychology  เขาก่อตั้งสถาบัน St.Peterburg State Medical Academy1913 ถูกบังคับให้ลาออกจาก ศจ. ในวิทยาลัยแพทย์ทหาร (Military Medical Academy in St.Peterburg) แต่ว่าได้กลับเข้ารับตำแหน่งใหม่หลังการปฏิวัติหนึ่งปี

1917 หลังการปฏวิัตตุลาคม 1917 เขาได้ทำงานให้กับกระทรวงสาธารณะสุข และได้ริเริ่มให้มีการก่อตั้งสถาบันวิจัยทางสมองและการทำงานของจิต ซึ่งกลายเป็นสถานที่ทำงานของเขาจนกระทั้งเสียชีวิต ก่อตั้งสถาบัน Institure of Studying Brain Mental Activities ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของเบก์คเตรอฟ จนกระทั้งเสียชีวิต 

1927 เบก์คเตรอฟ เสียชีวิต ในวันที่ 24 ธันวาคม 1927 ในวัย 70 ปี ซึ่งมีผู้นำเป็นเขียนเป็นเรื่องลึกลับว่าเขาถูกสตาลินสั่งฆ่า เพราะว่าเบก์คเตรอฟ ซึ่งเคยเป็นแพทย์ให้กับเลนิน ถูกสตาลินเรียกเข้าไปตรวจดูสุขภาพ แล้วลือกันว่า เขาวินิจฉัยว่าสตาลินเป็นโรควิตกจริต (grave paranoid) ทำให้เขาถูกสังหารในวันต่อมา แต่นี้เป็นเพียงเรื่องเล่าลือสมมุติ ซึ่งไม่มีหลักฐานใดยืนยัน
ชื่อของเบก์คเตเรฟ ไม่ได้ถูกจำได้มากนักที่อื่นในโลก เมื่อเทียบกับ Ivan Pavlov คู่แข่งในสาขาเดียวกันของเขา แต่ว่าเขามีผลงานอันยิ่งใหญ่และเป็นผู้บุกเบิกทางด้านประสาทวิทยาและสมองคนสำคัญ ทำให้เรามีความเข้าใจการทำงานของประสาทและสมองมากขึ้น เขาเป็นผู้วางรากฐานในการศึกษาจิตวิทยา จุดกระแสการวิจัยพฤติกรรม จนเรียกว่าเป็น Behaviorism  มีโรคทางประสาทและการตอบสนองอัตโนมัติหลายชนิดที่ใช้ชื่อของเบก์คเตเรฟ เช่น Bekhterev’s Disease, Bekhterev’s Reflex, Bekhterev-Jacobsohn reflex etc.

Don`t copy text!