In Remembrance of King Bhumibol Adulyadej
5 December 1927 – 13 October 2017

Pavel Sukhoi

ปาเวล ซูคอย (Павел Осипович Сухой)

เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 1895 ในหมู่บ้านเล็กๆ ใกล้กับเมืองวิเตปส์ก (Vitebsk) ปัจจุบันอยู่ในเบลารุส  ในครอบครัวของข้าราชการครู

1905 เข้าเรียนในโรงเรียนโกเมล (Gomel Gymnasium) เล่ากันว่าเครื่องบินลำแรกที่เขาเห็น คือ Farman biplane เครื่องบินแบบปีกสองชั้นของฝรั่งเศส ระหว่างที่กำลังเดินกลับจากโรงเรียนพรอ้มกับเพื่อน นั่นทำให้เขาสนใจการบินและเริ่มการประกอบโมเดลเครื่องบินมาตัั้งแต่เล็ก

1914 จบการศึกษา

1915 เข้าศึกษาต่อที่ Imperial Moscow Technical School (Bauman) ทางด้านฟิสิกข์และคณิตศาสตร์

ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 1 ซึ่งเริ่มในปี 1917 ซูคอย เข้ารับใช้ในกองทัพด้วย แต่ว่าก็ได้รับการปลดประจำการในปี 1920 เพราะปัญหาเรื่องสุขภาพ ทำให้เขากลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัยต่อจนจบ ระหว่างที่เรียนนั้นเขาเป็นลูกศิษย์ของแอนดรีย์ ตูโปเลฟ (Andrey Tupolev) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการสร้างเครื่องบินคนสำคัญของรัสเซีย ซูคอย ทำวิทยานิพนธ์ตอนจบการศึกษาเรื่อง “Chasseur signle-engine aircraft of 300 cv” โดยที่ตูโปเลฟเป็นที่ปรึกษา

1925 หลังจากเรียนจบแล้ว ซูคอย เข้าทำงานที่โรงงานออกแบบเครื่องบินตูโบเรฟ (Tupoev Design Bureau) ส่วนหนึ่งของสถาบัน TsAGI  งานแรกของซูคอย คือ ร่วมในทีมสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิด TB-1, TB-3  หลังจากนั้นช่วงปี 1930s ได้ทำงานในโครงการ ANT-25 โครงการทดสร้างเครื่องบินระยะไกลของโซเวียต ซึ่งในที่สุดสามารถสร้างเครื่องบิน ANT-37 (Motherland) เครืองบินทิ้งระเบิดแบบบินระยะไกลลำแรกของโซเวียตได้สำเร็จ นอกจากนั้นเขายังพัฒนาเครื่องบินอีกหลายแบบ รวมทั้งระบบควบคุม และเครื่องยนต์มากมายซึ่งเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญในอุตสาหกรรมด้านนี้ของโซเวียต

1939 วันที่ 29 กรกฏาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าโรงงานออกแบบแห่งใหม่ ในคาร์คอฟ (Kharkov) ซึ่งกลายมาเป็น Sukhoi Design Bureau  ซึ่งได้รับมอบหมายให้สร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดระบะกลาง BB-1 ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ Su-2  และกลายเป็นต้นแบบของเครื่องบินทิ้งระเบิดอีกหลายรุ่นตามมา 

1943 ซูคอย ได้รับรางวัล USSR State Prize จากผลงานการสร้างเครื่องบินท้ิงระเบิด Su-6

1945 เขาสร้างเครื่องยนต์เทอร์โบแบบใหม่ Reactive Air Engines ซึ่งติดตั้งในเครื่องบิน Su-9(Subsonic flighter) ซึ่งมีความเร็วสูงใกล้เสียง แบบสองเครื่องยนต์ ติดตั้งระบบเบรกโดยใช้ร่มชูชีพ เพื่อย่นระยะรันเวย์ในการลง และยังมีระบบดีดตัวนักบินออกจากเครื่องยามฉุกเฉินด้วย

1949-1953 ถูกบังคับให้กลับไปทำงานที่โรงงานตูโปเลฟ โดยได้รับตำแหน่งผู้ช่วยออกแบบ แต่ว่าเมื่อสตาลินเสียชีวิตในปี 1953 เขาได้รับอนุญาตให้กลับไปสร้าง Sukhoi Design Bureau ขึ้นใหม่1955  Su-7 เครื่องบินรบความเร็วเหนือเสียง

1959 Su-9 เครื่องบินขับไล่ แบบเครื่องยนต์เดียว  แบบปีกสามเหลี่ยม ซึ่งเครื่องบิน Su-9 รุ่นปรับปรุงสามารถทำสถิติโลกที่บินขึ้นไปสูง 28,852 กิโลเมตรได้สำเร็จ ในวันที่ 4 กันยายน 1962 หลังจากนั้นเขาได้พัฒนาเครื่องบินรบอีกหลายรุ่น เพื่อแก้ปัญหาที่ยังมีอยู่ใน SU-7,SU-9 และทำให้เครืองบินรุ่นใหม่สามารถโหลตอาวุธได้มากขึ้น ซึ่งเครื่องบินรุ่นต่อมา Su-9, Su-11(SU-15),SU-17 เป็นเครื่องรุ่นต่อมาที่มีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะ Su-15 เป็นเครื่องบินขับไล่หลักที่รับใช้โซเวียตจนกระทั่งล่มสลายไป เขายังออกแบบ Su-27 ที่ยังใช้กันในปัจจุบันด้วย ทว่าตัวเขาเองไม่มีโอกาสเห็นตอนมันสำเร็จ

1958-1974 ซูคอย ได้รับตำแหน่งในซุพรีมโซเวียต
ปาเวล ซูคอย เสียชีวิตในวันที่ 15 กันยายน 1975 ในมอสโคว์ ชั่วชีวิตเขาได้รับรางวัล

  • Order of the Red Star (1933)
  • Order of the Badge of Honor (1936)
  • Order of the Red Banner of Labor (1938)
  • Stalin Prize (1943)
  • Order of Lenin   (1945,1957,1975)
  • Hero of Socialist Labor (1957)
  • Orders of October Revolution
  • Lenin Przie (1968) 
  • USSR State Prizes (1975)

 และยังได้รับตำแหน่ง รางของเขาถูกประกอบพิธีที่สุสาน Novodevichy Cemetery และมีการตั้งชื่อถนนใจกลางมอสโคว์ไว้เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาได้

Don`t copy text!