Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Lavrentiy Beria

ลาฟเรนตี เบเรีย (Лаврентий Павлович Берия)

หัวหน้าตำรวจลับ NKVD ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ในยุคของสตาลิน

เกิดในหมู่บ้านเมอร์คูลิ (Merkheuli ) ใกล้กับเมืองสุคุมิ (Sukhumi) ในวันที่ 29 มีนาคม 1899 เมืองหลวงของประเทศอับคาเซียปัจจุบัน ซึ่งในยุคนั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย เขาเป็นชนเชื้อสายมินกรีเลียน (Mingrelian) คนพื้นเมืองในจอร์เจีย

พ่อของเขาชื่อว่า ปาเวล (Pavel Khukhaevich Beria,(Павел Хухаевич Берия),1872-1922) เป็นเจ้าของที่ดินฐานะดีคนหนึ่งในอับคาเซีย

มารดาของเบเรีย ชื่อว่า มาร์ต้า จาเกลลิ (Marta Vissarianovna Jakeli (Марта Виссарионовна Джакели ),1868-1955) เป็นคนที่เคร่งศาสนาคริสต์นิกายออโธด็อกซ์มาก เธอโตมาและจากไปโดยใช้ชีวิตส่วนใหญ่กับโบสถ์ ก่อนที่จะแต่งงานกับพ่อของเบเรีย เธอผ่านการแต่งงานมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อสามีคนแรกเสียชีวิตเธอทำงานเป็นคนรับใช้ มีฐานะที่ยากจน

เบเรียมีพี่ชายและน้องสาว แต่ว่าพี่ของเขานั้นไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร เสียชีวิตตอนยังเล็กด้วยโรคฝีดาษ ส่วนน้องสาวชื่อว่า แอนนา (Anna) ซึ่งเป็นใบหูหนวกมาตั้งแต่กำเนิด

1915 เขาเรียนหนังสือชั้นมัธยมปลายจบในปีนี้ที่โรงเรียนในเมืองสุคุมิและเข้าเรียนต่อที่ วิทยาลัยเทคนิคและเครื่องกลแห่งบากู (Baku School of Mechanics and Technical College)

1917 เข้าร่วมกับพรรคบอลเชวิค ในเดือนมีนาคม มิถุนายน – ธันวาคม เข้าร่วมในสงครามด้านโรมาเนีย (Romanian Campaign) ในฐานะช่างซ่อมไฮโดรลิก แต่ก็ล้มป่วยและต้องเดินทางกลับบากู

1918 ทำงานเคลื่อนไหวภายในเมืองบากูให้กับพรรคบอลเชวิค แต่ว่าตอนเดือนกันยายน กรุงบากู ก็ถูกเมนเชวิค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตุรกี ยึดเอาไว้ได้ แต่เบเรียก็ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ภายในเมือง

1919 ตอนอายุ 20 ปี เข้าทำงานในบริษัทน้ำมันแห่งหนึ่ง เป็นเสมียร ก่อนที่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ เขาก็เริ่มทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ (state security) โดยทำงานให้กับหน่วยความมั่นคงในอาเซอร์ไบจัน (Azerbaijan Democratic Republice) ซึ่งเป็นศัตรูของบอลเชวิค แต่ภายหลังยืนยันว่าเพราะได้รับคำสั่งจากผู้นำพรรคบอลเชวิคในอาเซอร์ไบจาน (A. Mikoyan) ให้ทำงานเป็นสายลับ ระหว่างนี้เขากลับไปเรียนหนังสือต่อ ที่จนจบการศึกษาด้านสถาปัตย์การก่อสร้าง

1920 เมษายน โซเวียตสามารถยึดอำนาจในอาเซอร์ไบจานคืนมาได้ เบเรียถูกพรรคส่งไปยังจอร์เจีย แต่ว่าก็ถูกจับทันที แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือและปล่อยตัวมาภายในเวลา 3 วัน โดยถูกเนรเทศออกจากจอร์เจียแทน แต่เขาก็พยายามกลับเข้าจอร์เจียอีก และถูกจับกุมขังไว้ ในเรือนจำกุเตียสิ (Kutaisi) ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฏาคม แต่ว่าเขายังไม่ทันจะถูกลงโทษ ก็ได้รับความช่วยเหลือเจรจาให้ปล่อยตัว โดยเซอร์เกย์ กีรอฟ (Sergei Kirov) ระหว่างที่อยู่ในคุกนั้น เบเรีย พบรักกับ นิน่า เกเกซโกริ (Nina Gegechkori,Нино Теймуразовна Гегечкори) ซึ่งอยู่ในห้องขังเดียวกัน เธอมีอายุเพียง 17 ปี เป็นนักวิทยาศาสตร์มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี

ในปีนี้เขาเข้าทำงานกับตำรวจลับเชก้า (Cheka) นอกจากนั้นยังเข้าเรียนที่วิทยาลัยโพลีเทคนิค (Baku Polytechnic Institute)

1921  บอลเชวิคเริ่มโจมตีจอร์เจียอย่างหนักเพราะเป็นฐานที่มั่นของเมนเชวิค (Menshevik) โดยหน่วยเชก้ามีบทบาทอย่างมากในการรบครั้งนี้ จนสามารถยึดเอาจอร์เจียไว้ได้

1922 เบเรียได้รับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาของ OGPU ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่สืบทอดจากเชก้า

1924 เบเรียเป็นผู้นำการปราบปรามกลุ่มชาตินิยมจอร์เจียที่ลุกฮือขึ้นต่อต้าน มีการสังหารกลุ่มต่อต้านไปกว่า 10,000 คน ผลงานนี้ทำให้เขาได้รบตำแหน่งหัวหน้า OGPU ประจำเขตทรานคอเคซัส และได้รางวัล Order of the Red Banner

1926 ได้รับตำแหน่งผู้นำของ OGPU ประจำจอร์เจีย ทำให้เขาได้รู้จักกับสตาลิน โดยการแนะนำของเซอร์โก้ อ็อดโซนิิคิดเซ่ (Sergo Orzhonikidze) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ประจำคอร์เคซัส เซอร์โก้เป็นคนหนึ่งที่ช่วยปกป้องภูมิหลังของเบเรียจากการถูกครหา เบเรียมีผลงานการกวาดล้างเครือข่ายสายลับชองตุรกีและอิหร่านที่มีอยู่มากในภูมิภาคคอเคซัสในช่วงนั้น เขาใกล้ชิดกับสตาลินมากจนกลายเป็นผู้คอยดูแลความปลอดภัยให้สตาลินระหว่างพักผ่อนในจอร์เจีย ทำให้แม้แต่ภรรยาของสตาลิน ,เซอร์โก้ ภายหลังก็ไม่ถูกชะตากับเบเรีย

1931 ได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งจอร์เจีย และในปีถัดมา 1932 ก็ได้รับตำแหน่งเลขาธิการประจำภูมิภาคทรานคอเคซัส

1934 ได้เป็นคณะกรรมการกลางพรรคอมมิวนิสต์ ทำให้เขามีอำนาจมากและเริ่มกวาดล้างศัตรูทางการเมืองของเขาเอง อย่าง เกียออซ (Gaioz Devdariani) รัฐมนตรีการศึกษาประจำจอร์เจีย และบริวาร ซึ่งถูกเบเรียกล่าวหาว่าเป็นพวกต่อต้านการปฏิวัติ เกียออซ ถูกตัดสินลงโทษในปี 1938

1935 เบเรียเขียนหนังสือ On the History of the Bolshevik Organizations in Transcaucasia(К вопросу об истории большевистских организаций в Закавказье)  ซึ่งยกย่องบทบาทของสตาลิน ระหว่างการเหตุการณ์การกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน (Great Purge,1934-1938) เบเรียมีหน้าที่โดยตรงในการรับคำสั่งไปปฏิบัติ มีคนมากมายที่ถูกสังหารไปทั้งที่เป็นผู้ต่อต้าน เคยเป็นพวกเดียวกัน หรือคนที่ถูกกล่าวหา เบเรียกลายเป็นคนหนึ่งที่สตาลินให้ความไว้วางใจมากที่สุด

1937  เบเรีย กล่าวสุนทรพจน์เอาไว้ในเดือนมิถุนายนว่า

Let our enemies know that anyone who attempts to raise a hand against the will of our people, against the will of the party of Lenin and Stalin , will be mercilessly crushed and destroyed

จงทำให้ศัตรูของเราได้รับรู้ว่าใครก็ตามที่พยายามยกมือขึ้นต่อต้านเจตจำนงค์แห่งประชาชนของพวกเรา ใครที่ต่อต้านเจตจำนงของพรรคแห่งเลนินและสตาลิน , มันจะต้องถูกกำจัดและทำลายล้างอย่างไม่ปราณี

1938 สิงหาคม สตาลินแต่งตั้งให้เบเรียดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการหน่วย NKVD โดยผู้บังคัญบัญชาขณะนั้นคือนิโคไล เยซอฟ (Nikolai Yezhov) ซึ่งยังคงมีการดำเนินกวาดล้างศัตรูทางการเมืองอยู่และมีคนนับล้านทั่วโซเวียตที่โดนลงโทษ แต่ผลของปฏิบัติการนี้ก้ทำให้ประเทศสูญเสียมากมายทั้งโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจและจำนวนกำลังพลเอง ทำให้สตาลินจำเป็นต้องหยุดการกวาดล้างไปก่อน วันที่ 25 พฤศจิกายน เบเรียได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการของ NKVD แทนนิโคไล เยซอฟ ซึ่งเบเรียมีการกระทำที่ขัดแย้งกับภาพลักษณ์เดิมของเขาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ดำเนินการกวาดล้าง เบเรียมีการปล่อยตัวนักโทษกว่าแสนคนออกจากค่ายแรงงาน โดยที่รัฐบาลยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดและไม่ยุติธรรม โดยยกความผิดว่าเป็นผลงานของของเยซอฟ 1939 เบเรียถูกเสนอชื่อเป็นแคนดิเดต ที่จะได้นั่งในเก้าอี้โพลิตบุโร

1940 ตุลาคม เขาเริ่มการกวาดล้างเจ้าหน้าที่ในกองทัพและเจ้าหน้าที่โรงงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทหาร (Purge of the Red Army ,1940-1942) โดยเป็นช่วงเวลาก่อนที่เยอรมันจะบุกโซเวียตไม่นาน เจ้าหน้าที่กว่า 300 คน ถูกลงโทษในข้อหาสายลับ หรือต่อต้านโซเวียต

1941 กุมภาพันธ์ ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยประธาน ในคณะกรรมการสภาประชาชน (Council of People’s Commissars) และเมื่อเยอมันบุกโซเวียตในเดือนมิถุนายน เบเรียกได้เป็นสมาชิกในสภากลาโหม (State Defense Committer) มีนาคม เบเรีย เขียนจดหมาย ฉ. 794/B รายงานไปยังสตาลิน ว่าหน่วยของเขาได้จับนักโทษโปแลนด์ ทั้งสายลับ หมอ นักบวชและอื่นๆ รวมกว่า 22,000 คน เอาไว้ในเรือนจำ และแนะนำให้สตาลินอนุญาติให้สังหารนักโทษพวกนี้ซะ ซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ ในป่าแคตีน (Katyn massacre)

ในสงครามโลกเบเรียมีหน้าที่สำคัญคือการควบคุมการผลิตอาวุธ เครื่องบิน และอื่นๆ เบอเรียนำเอานักโทษหลายล้านคนที่ถูกขังไว้มาเป็นกำลังสำคัญในการผลิต

1944 หลังสงครามโลก เบเรียถูกตั้งข้อหาว่าให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏในโซเวียต อย่างเชชเนีย อินกุช พวกตาตาร์ และชาวเยอรมันในโวลก้า

1944 เขารับผิดชอบโครงการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ของโซเวียต ซึ่งระดมผู้เชียวชาญกว่า 10,000 คน และแรงงานกว่า 300,000 คน

1945 หน่วยงานด้านตำรวจของโซเวียต ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ โซเวียตจึงไม่มีตำรวจมาตั้งแต่นั้น ส่วนเบเรีย ก็ได้ติดยศเป็น จอมพล (Marshal) ซึ่งแม้ว่าตัวเขาเองจะไม่ได้มีประสบการณ์ด้านการทหารเลย

1946 มกราคม เขาลาออกจากตำแหน่งผู้บังคับบัญชาของ NKVD และ Sergie Kruglov ได้ตำแหน่งนี้ไปแทน ในขณะที่ตำแหน่งรัฐมนตรีความมั่นคงตกเป็นของ Viktor Abakumov ซึ่งทั้งคู่เป็นคู่แข่งของเบเรีย เบเรียเองเหลือแต่ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลงานด้านความมั่นคง

สตาลิน เริ่มให้การสนับสนุน อบากูมอฟ มากขึ้นในการสร้างเครือขายอำนาจของตน เพื่อใช้คานอำนาจของเบเรีย หลังสงครามโลก ในขณะที่สตาลินมีอายุเกือบจะ 70 ปี แล้ว จึงมีการคาดหมายผู้ที่จะมาสืบทอดอำนาจต่อจากเขา เบเรีย เป็นหนึ่งในนั้น เขาได้จับมือกับ มาเลนกอฟ (Malenkov) เพื่อชิงอำนาจกับ แอนดี ซดานอฟ (Andrei Zhdanov) ซึ่งเป็นตัวเก็งที่จะได้รับสืบทอดเช่นกัน แต่ว่าเขาเสียชีวิตไปอย่างกระทันหันในเดือนสิงหาคม 1948 ก่อนเสียชีวิตนั้นเขาจับมือกับอบูกามอฟ

1949 29 สิงหาคม การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ ลูกแรกของโซเวียตประสบความสำเร็จ เบเรียได้รับรางวัล Stalin Prize ในวันเดียวกัน และยังได้รางวัล Hero of Soviet Union

หลังการเสียชีวิตของซดานอฟ เบเรีย ร่วมมือกับมาเรนกอฟ ในการกำจัดเครือข่ายอำนาจของชดานอฟ โดยคนของชดานอฟ อย่าง อเล็กซี คุซเนตซอฟ (Aleksei Kuznetsov) ผู้ช่วย , นิโคไล โวชเนสเซนสกี (Nikolai Voznesensky) รมต.เศรษฐกิจ และผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในเลนินกราด ปีเตอร์ ปอฟคอฟ (Pyotr Popkov) ก็ถูกประหาร ในคดี Leningrad Affiar ซึ่งพวกเขาถูกกล่าวหาว่าพยายามรวมกลุ่มกันต่อต้านโซเวียต แต่ก็เชื่อกันว่าสตาลินสนับสนุนการประหารคนเหล่านี้ด้วย เพราะต้องการรักษาอำนาจ ทั้งหมดถูกยิงเป้า ในวันที่ 1 ตุลาคม 1950

1953 มีข้อสงสัยกันว่า เบเรีย และครุสเชฟ อาจเป็นคนวางแผนสังหารสตาลิน โดยใช้วอร์ฟาริน (Warfarin) โดยเมื่อสตาลินมีอาการหมดสติในบ้านพักในเขตคุนต์เซโว (Kuntsevo) ประมาณตอนตีสาม วันที่ 2 พฤษภาคม , เบเรีย และมาเลนกอฟ เป็นคนกลุ่มแรกจากโพลิบุโรที่เข้าไปดูสถานที่เกิดเหตุ เบเรียสั่งไม่ให้รบกวนสตาลิน และปล่อยให้เขาพักผ่อน กว่าที่จะมีการตามแพทย์มาก็เสียเวลาไปกว่า 12 ชั่วโมง

หลังการเสียชีวิตของสตาลิน เบเรียกลายเป็นรองนายกหมายเลขหนึ่ง และได้กลับเข้าบัญชาการใน MVD อีก ในขณะที่เมเลนกอฟ เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งคู่กลายเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในประเทศเวลานั้น

แต่ว่าครุสเซฟเอง ขัดขวางไม่ให้ทั้งคู่จับมือกันแต่ว่าไม่สามารถทำได้สำเร็จ จนกระทั้งโอกาสมาถึง ในเดือนมิถุนายน เมื่อมีการจราจลในเยอรมันตะวันออก เบเรีย ถูกสงสัยว่าเขาพยายามจะรวมเยอรมันเข้าด้วยกัน โดยร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะขอรับความช่วยเหลือทางการเงินมหาศาล นั้นทำให้ครุสซอฟ หันไปขอการสนับสนุนจากแกนนำในพรรคและก่อการปฏิวัติโค่นเบเรียได้สำเร็จ โดยมาเลนกอฟยอมจำนนไม่ขัดขวางการปฏิวัตินี้

26 มิถุนายน เบเรีย ถูกจับตัวได้ เขาถูกนำตัวไปขังในสถานที่ลับใกล้กรุงมอสโคว์ และมีการประชุมสภาเปรสซิเดียมในวันเดียวกัน ครุสเชฟ เริ่มกล่าวโจมตีเบเรียในเรื่องการทรยศและจ่ายเงินให้กับสายลับอังกฤษ แต่ปรากฏว่าเบเรียเดินทางเข้ามาในห้องประชุมด้วย สร้างความประหลาดใจให้กับสมาชิก แต่โมโลทอฟ (Molotov) และคนอื่นยังกล่าวโจมตีเบเรียต่อ เบเรียเริ่มรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา เขามองไปที่มาเลนกอฟ และขอให้ช่วยลุกขึ้นแก้ต่างให้เขา แต่ปรากฏว่ามาเลนกอฟกลับนิ่งและหนีสายตาเบเรีย

มาเลนกอฟ กดปุ่มที่โต๊ะของเขา เรียกเจ้าหน้าที่ที่ติดอาวุธเข้ามาจับตัวเบเรีย เขาถูกนำตัวไปไว้ที่บังเกอร์แห่งหนึ่งในมอสโคว์ ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมนิโคไล บุลกานิน (Nikolai Bulganin) ได้สั่งให้หน่วยทหารรถถังและหน่วยปืนไรเฟิ้ลมาป้องกันไว้ เพื่อไม่ให้กำลังที่สนับสนุนเบเรียมาช่วย หลังจากนั้นก็มีการจับตัวผู้สนับสนุนเบเรียอีกหลายคน

หนังสือพิมพ์ปราพด้ามีการให้ข่าวเรื่องการจับเบเรียในวันที่ 10 กรกฏาคม โดยยกย่องมาเลนกอฟ และกล่าวหาเบเรียว่ากระทำอาชญากรรมต่อพรรคและประเทศ การสอบสวนเบเรียโดยศาลสูงของโซเวียต ในวันที่ 23 ธันวาคม พบว่าเขากระทำผิด 3 ข้อหา

1. ทรยศ , เบเรียเคยพยายามที่จะเจรจาสงบศึกกับฮิตเลอร์ ในช่วงปี 1941 ผ่านทางทูตประจำบัลกาเรีย ซึ่งศาลเห็นว่าเป็ฯการกระทำที่ทรยศ และในปี 1942 เขาเคยให้กับสนับสนุนกลุ่ม The Defense of the North Caucasus เพื่อเปิดทางให้เยอรมันเข้าปกครองภูมิภาคคอเคซํส และยังมีความพยายามยกดินแดนโซเวียตหลายส่วนให้ต่างชาติ อย่างคาลินินกราดให้เยอรมัน คาเรเลียให้ฟินแลนด์ ยกมอลดาเวียให้โรมาเนีย และมอบหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่น เบเรียอ้างว่าทั้งหมดเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

2. ก่อการร้าย, จากการที่เขาสั่งประหารนักการเมือง 25 คน ในปี 1941 โดยไม่สอบสวน

3. ต่อต้านการปฏิวัติระหว่างเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในรัสเซีย (Russia Civil war) ศาลตัดสินให้มีการประหารชีวิตเขา ซึ่งว่ากันว่าเบเรียคุกเขาอ้อนวอนขอความเมตตา ก่อนที่จะล้มลงกับพื้นและร้องไห้

เบเรียถูกนำตัวไปยิงเป้าทันทีหลังคำพิพากษา โดยผู้ลั่นกระสุนใส่เขาคือนายพลบาติตสกี (Gen Pavel Batitsky) โดยยิงเข้าที่แสกหน้าของเขา ร่างของเบเรียถูกนำไปเผาในป่าในมอสโคว์

Don`t copy text!