Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Rosa Luxemburg

โรซ่า ลักเซมเบิร์ก 

ผู้นำการปฏิวัติเยอรมัน, นักทฤษฏีด้านสังคมนิยม

เกิดในครอบครัวชาวยิว มีฐานะปานกลาง ในโปแลนด์ (Congress Poland) ส่วนซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของรัสเซียในช่วงเวลานั้น เธอเป็นลูกคนที่ห้าของครอบครัวพ่อค้าไม้สน พ่อชื่อ อีเลียส (Eliasz Luxemburg) ทำธุรกิจค้าไม้สน และแม่ ไลน์ โลเวนสไตน์ (Line Lowenstein) เป็นคนที่อ่านหนังสือเก่งและปฏิบัติตนเคร่งครัดตามหลักศาสนา โรซ่า เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1871

ตอนอายุ 5 ขวบ โรซ๋ามีอาการป่วยอย่างหนัก หลังจากหายป่วยแล้วเธอกลายเป็นคนเดินเอียง เขย่ง

1880 เธอเติบโตมาในวอร์ซอ โรซ่าเรียนหนังสือที่ยิมเนเซียมในกรุงวอร์ซอ เธอมีผลการเรียนอยู่ในขั้นยอดเยี่ยม แต่ว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วไม่ได้รับเหรียญทอง เพราะว่าทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้บริหารของโรงเรียน1886  เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในโปแลนด์ซึ่งเอียงซ้าย ชื่อพรรค Proletariat party โรซ่าทำหน้าที่ในการจัดการประท้วง ในช่วงนี้เธอชื่นชอบผลงานเขียนของอดัม มิคเกียวิช (Adam Mickiewicz)

1889 หนีออกจากรัสเซีย ช่วงนั้นเป็นสมัยของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 เพราะเธอมีความเสี่ยงที่จะถูกทางการจับกุมตัวเนื่องจากความเห็นทางการเมือง เธอเดินทางไปสวิสเซอร์แลนด์โดยหลบซ่อนไปในเกวียนของชาวนา ก่อนที่จะข้ามไปยังเมืองซูริค ในเยอรมัน ซึ่งใน เธอได้เข้าเรียนด้านกฏหมายและเศรษฐศาสตร์การเมือง ในมหาวิทยาลัยซูริค (Zurich University)

1893 ร่วมกับเพื่อนฝ่ายซ้ายอย่าง เลฟ โจกิเชส (Leo Jogiches) และจูเลี่ยน มาร์ชเลวสกี (Julian Marchlewski) ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ The Workers’ Cause โดยหนังสือพิมพ์ต่อต้านแนวคิดแบบชาตินิยมและทุนนิยม จากนั้นไม่นานาได้ร่วมกับ โจกิเชส ในการก่อตั้งพรรคการเมือง Social Democratic Party of the Kingdom of Poland (SDKP)

1898 โรซ่า แต่งงานกับ กุสตาฟ ลูเบค (Gustav Lubeck) ทำให้เธอได้สัญชาติเป็นเยอรมัน และเดินทางไปอาศัยในเบอร์ลิน เธอกลายเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมัน (Social Democratic Party of Germany (SPD) )

ผลงานวิทยานิพนธ์ของเธอเสร็จในปีนี้ มีชื่อว่า “The Industrial Development of Poland

1904 โรซ่าสนใจเกี่ยวกับการปฏิวัติรัสเซียในปี 1905 เธอเดินทางไปอยู่ในรัสเซียโปแลนด์ตั้งแต่ 1904 และถูกจับระหว่างอยู่ในวอร์ซอร์ ในปี 1906  ข้อหาที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่สุดท้ายได้รับการปล่อยตัวเพราะปัญหาด้านสุขภาพของเธอเป็นหลัก หลักถูกปล่อยตัวโรซ่าเดินทางกลับเยอรมัน

1907 เดินทางไปยังลอนดอน เพื่อร่วมการประชุมพรรค RSLDP ครั้งที่ 5 ทำให้มีโอกาสพบกับเลนิน หลังจากนั้นเธอกลับไปสอนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และแนวคิดแบบมาร์กซิส ให้กับศูนย์การศึกษาของพรรค SPD ในเบอร์ลิน

มีนักเรียนคนสำคัญที่เป็นลูกศิษย์ของโรซ่า เช่น Friedrich Ebert ซึ่งต่อมากลายเป็นหัวหน้าพรรค SPD และกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของ Weimar Republic

โรซ่า นั้นไม่ได้เห็นด้วยในแนวความคิด ของเลนิน การการรวบรวมอำนาจที่ศูนย์กลาง เธอไม่สนับสนุนการใช้กำลังอาวุธ และเห็นว่าสังคมนิยมจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากประชาธิปไตย Luxemburgism จึงเป็น “ทางเลือก” สำหรับผู้ชอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์

 1912 เป็นผู้แทนของพรรค SPD ในการร่วมประชุมสภาผู้นิยมสังคมนิยมแห่งภาคพื้นยุโรป (European Socialists congresses) โรซ่าเองเน้นความคิดของเธอในการขอร้องให้แรงงานร่วมกันหยุดความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามขึ้น โดยเรียกร้องให้แรงงานหยุดงานประท้วง

มีผลงานเขียนเชิงทฤษฏี เรื่อง “The Accumulation of Capital

ระหว่างปี 1892-1919 โรซ่าเขียน บทความ, สุนทรพจน์, และหนังสือ รวมกันแล้วกว่า 700 เรื่อง

1913 “ if they think we are going to lift the weapons of murder against our French and other brethren , the we shall shout ‘We will not do it ” โรซ่า ลักเซมเบิร์ก ประกาศตนต่อต้านการใช้อาวุธเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส  เธอเกรงว่าจะนำไปสู่สงคราม ซึ่งลางสังหรของเธอก็เป็นจริง เมื่อสงครามโลก เกิดขึ้นจนได้ในปีถัดมา เธอพยายามเรียกร้องให้แรงงานทั้งหมดรวมกันหยุดงานประท้วงหากสงครามเริ่มต้นขึ้น

1914 เมื่อเกิดความวุ่นวายในคาบสมุรทบัลค่าน พรรค SPD กลับสนับสนุนให้ทำสงคราม โดยรัฐสภาเยอรมันให้การสนับสนุนทางการเงิน โรซ๋า ซึ่งไม่เห็นด้วย เธอลาออกจากพรรค SPD ทันที และได้จัดให้มีการประท้วงต่อต้านสงคราม ขึ้นในกรุงแฟรงเฟิร์ต เรียกร้องหาสามัญสำนึกของเหล่าทหารเกณท์ให้หยุดฟังคำสังของรัฐบาล นั้นทำให้โรซ๋า และ Karl Liebknecht ซึ่งลาออกจากพรรคพร้อมกับโรซ่าเพราะความเห็นที่คล้ายกัน ทั้งคู่ถูกทางการเยอรมันจับตัวเข้าคุกนานกว่าสองปีครึ่งในข้อหาเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้านกฏหมาย โดยถูกนำตัวไปขังไว้ในเรือนจำ Poznan และต่อมาย้ายไปที่เรือนจำ Wroclaw เธอใช้ชีีวิตในสงครามโลก โดยใช้เวลาทั้งหมดอยู่ในคุก โดยแอบเขียนบทความลักลอบส่งออกมา

สิงหาคม โรซ่า และ Karl Liebknecht,Clara Zetkin, Franz Mehring ก่อตั้งกลุ่ม Die Internationale group  ระหว่างอยู่ในเรือนจำ โรซ่า ได้เขียน “Junius Pamphlet

Junius Pamphlet ,1916,  “Bourgeois class domination in undoubtedly and historical necessity,but,so too, the rising of the working class against it. Capital is an historical necessity,but,so too,its grave digger, the socialist proletariat

” การครอบงำของนายทุนนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์,แต่,สิ่งที่คู่กัน,คือการเพ่ิมขึ้นของชนชั้นแรงงานที่ต่อต้านพวกเขา… ส่วนทุนนั้นมีความจำเป็นในประวัติศาสตร์,แต่,สิ่งที่คู่กัน,คนขุดหลุมฝัง คือ ชนชั้นแรงงานผู้นิยมสังคมนิยม"

1916 Die Internationale group เปลี่ยนชื่อเป็น Spartacus League ซึ่งได้พิมพ์หนังสือพิมพ์ชื่อ Spartacus Letters ออกมาอย่างผิดกฏหมาย Spartacus League นั้นประกาศตัวเองว่าต่อต้านสงครามมาโดยตลอด และวันที่ 1 พฤษภาคม นั้นพวกเขาได้ออกมาจัดการเดินขบวนประท้วงต่อต้านสงครามโลก ครั้งที่ 1

1918 โรซ๋า ถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำ ในเดือนพฤศจิกายน วันที่ 8 เพราะ Max Von Baden ได้ประกาศกฏหมายอภัยโทษแก่นักโทษการเมืองทั้งหมด  แต่โดยทันที่ที่มีอิสระภาพ เธอก็เคลื่อนไหวตามความเชื่อของตนเอง หลังจากเธอออกมาได้เพียงวันเดียว คาร์ล เลียบก์เนชต์ ซึ่งออกมาจากคุกพร้อมกับเธอ ก็ประกาศตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมเสรี (Free Socialist Republic) พวกเขาร่วมกันตั้งสันนิบาตสปาร์ตาคัส ขึ้นใหม่อีกครั้ง และทำหนังสือพิมพ์ Red Flag ออกมา นอกจากนั้นยังเรียกร้องการปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคน  ในกรุงเบอร์ลิน 29-31 ธันวาคม การประชุมสันนิบาตสปาตาคัส ผู้นิยมสังคมนิยมอิสระ และกลุ่มคอมมิวนิสต์สากลแห่งเยอรมัน (IKD) ได้ข้อสรุปว่าให้มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันขึ้นมาก (KPD-Communist Party of Germany) โดยที่คาร์ล เลียบก์เนชต์ เป็นผู้นำพรรคร่วมกับโรซ๋า

1919 หนังสือพิมพ์ Red Flag ของพรรคและคาร์ล เลียก์เนซต์ นั้นสนับสนุนการใช้กำลัง การจับอาวุธขึ้นสู้ และยังยุยงให้ผู้สนับสนุนเข้ายึดสำนักงานของสื่ออิสระอื่นๆ แต่ว่าโรซ่า นั้นเธอปฏิเสธวิธีการดังกล่าว ผู้นำของรัฐบาล Friedrich Ebert และยังเป็นหัวหน้าพรรค Social Democratic ได้ตอบโต้ผู้ที่ลุกขึ้นก่อจราจล โดยสั่งให้ Freikops นำกำลังเจ้าหน้าที่เข้าปราบปราบ และในวันที่ 15 มกราคม โรซ๋า และเลียก์เนซต์ ก็ถูกจับกุมตัว

โรซ่า ลักเซมเบิร์ก ถูกสังหาร โดยถูกทุบด้วยด้ามปืนไรเฟิ้ลโดย Otto Runge จนล้มลง ก่อนที่ พันโท Hermann Souchon จะยิงเธอที่ศรีษะ ทำให้เสียชีวิตทันที่ และศพของโรซ่า ถูกโยนลงในคลอง Landwehr Canal

ส่วน เลียก์เนซต์ นั้นถูกนำตัวไปที่เทียร์การ์เตน (Tiergarten) ก่อนที่จะถูกยิงจนเสียชีวิต
หลังการเสียชีวิตของผู้นำ สมาชิกของ KPD ยังคงเดินหน้าประท้วง มีหลายคนที่ถูกฆ่าตาย การปฏิวัติในเยอรมันดำเนินต่อไปจนกระทั้ง พฤษภาคม  ศพของโรซ๋า ถูกค้นพบในวันที่ 1 มิถุนายน 1919 เกือบหนึ่งเดือนหลังถูกสังหาร การชันสูตรพิสูจน์เอกลักษณ์ของเธอ ทำโดยโรงพยาบาล Charite ในเบอร์ลิน  ส่วนผู้ที่ร่วมในการสังหารเธอ ออตโต้ ถูกจำคุกสองปี แต่เฮอร์แมน และพาปต์ ไม่ถูกลงโทษ และเมื่อนาซีมีอำนาจในเยอรมันออตโต้ได้รับค่าชดเชยที่ถูกจำคุก  โรซ๋า และเลียก์เนซต์ ถูกนำไปเผาที่สุสาน Friedrichsfelde Central Cemetery ในเบอร์ลิน ซึ่งยังคงมีการจัดงานระลึกถึงเธอโดยผู้นิยมสังคมนิยม และพวกนิยมคอมมิวนิสต์ทุกวันอาทิตย์ที่สองของเดือนมกราคม

Freedom is always and exclusively freedom for the one who thinks differently

“เสรีภาพนั้นมีเสมอและเสรีภาพให้สิทธิพิเศษกับใครก็ตามที่มีความคิดที่แตกต่าง”

Don`t copy text!