Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Leo Szilard

เลฟ สซิลาร์ด (Leó Szilárd)

ชาวออสเตรีย ฮังการี เจ้าของความคิดสร้างปฏิกริยานิวเคลียร์ลูกโซ่ และยังเป็นผู้สร้าง เครื่องอิเล็กตรอนไมโครสโคป,เครื่องเร่งอนุภาค เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และ ชายผู้ให้กำเนิด โครงการแมนฮัตตัน (Manhatan Project)

สซิลาร์ด เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1898 ในกรุงบุดาเปสต์ ออสเตรีย-ฮังการี บิดาของเขาเป็นวิศวะกรโยธา ชื่อ หลุยส์ สปิตซ์ (Louis Spitz) กับ เธกล่า วิดอร์ (Thekla Vidor) เขาเติบโตมาในเมืองเปสต์ (Pest) ส่วนเมืองด้านตะวันออกของกรุงบูดาเปสต์

19081916 เขาเรียนหนังสือที่โรงเรียน Reáliskola ซึ่งเขามีความสนใจในวิชาฟิสิกข์และคณิตศาสตร์มาตั้งแต่ยังเล็ก

1916 เขาได้รับรางวัล Eötvös ซึ่งเป็นรางวัลด้านคณิตศาตร์ประจำชาติ ในปีนี้ สซิลาร์ด สมัครเข้าเรียนวิศวะกรรมที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งบูดาเปสต์ (Budapest Technical University)

1917 ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารในกองทัพ ของออสเตรีย-ฮังการี แต่ว่าก่อนที่หน่วยของเขาจะถูกส่งออกไปรบในแนวหน้า ปรากฏว่าเขาล้มป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish Influenza) ซึ่งระบาดหนักในยุโรปช่วงเวลานั้น ทำให้ถูกส่งตัวกลับบ้านเพื่อรักษาพยาบาล

1919 เขากลับไปเรียนที่คณะวิศวะอีกครั้งหนึ่งระหว่างปีนี้ แต่ว่าไม่นานก็ต้องตัดสินใจเดือนทางออกจากฮังการี เพราะว่าบรรยากาศความวุ่นวายทางการเมืองและการต่อต้านชาวยิวที่รุนแรง สซิลาร์ด สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเบอร์ลิน(Berlin Institute of Technology, www.tu-berin.de) ในเยอรมัน ในสาขาวิศวกรรม เช่นเดิม แต่ว่าต่อมาไม่นานได้เปลี่ยนมาเรียนด้าน ฟิสิกส์ เพราะว่าได้รับแรงบันดาลใจ จากการเข้าฟังบรรยายของ ไอสไตน์( Albert Einstien), แฟลงค์ (Max Plank) ,แมก วอน ลัว (Max von Laue) 1922 สซิลาร์ด ทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับอุณหภูมิพลศาสตร์ ชื่อ Über die thermodynamischen Schwankungserscheinungen (On The Manifestation of Thermodynamic Fluctuations) ~ ความผันผวนของเทอร์โมไดนามิก

เขาได้รับคำชื่นชมจากไอสไตน์เป็นอย่างมาก พร้อมด้วยเรียนจบด้วยเกียรติยมสูงสุด

1923 ได้รับปริญาเอกดุษฏี ด้านฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลับฮัมโบล์ต (Humboldt University, Berlin)

1924 สซิลาร์ด เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยของ ศจ. แมก วอน ลัว ที่มหาวิทยาลับเทคโนโลยีแห่งเบอร์ลิน 1927 ผ่านการทดสอบความสามารถในการเป็นอาจารย์ เขาจึงสามารถเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ , ระหว่างอยู่ที่มหาวิทยาลัย เขาพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ หลายชิ้น เช่น เครื่องเร่งอนุภาค เขาจดสิทธิบัตรในปี

1928 เครื่องกำเนิดแสงซินโคลตรอนที่เขาประยุกต์ จดสิทธิบัตรในปี 1929 นอกจากนั้น ระหว่างปี 1926-1930 เขาทำงานร่วมกับอัลเบิร์ต ไอสไตน์ ในการพัฒนา ตู้เย็น ซึ่ง มันถูกเรียกว่าเป็น Einstien-Szilard Refrigerator มีความพิเศษคือ ไม่ต้องมีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหวเลย อาศัยเพียงความร้อนในการทำงาน

1929 มีผลงานเขียนทางวิชาการเรื่อง Über die Entropieverminderung in einem thermodynamischen System bei Eingriffen intelligenter Wesen" (On the reduction of entropy in a thermodynamic system by the interference of an intelligent being) มันเป็นความพยายามของเขาในการไขปริศนา เรื่อง ปีศาจของแม็กเวลล์ (Maxwell’s demon) ซึ่งพยายามแหกกฏข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิก

1933 เขาเดินทางไปลอนดอน ซึ่งตอนนั้น สซิลาร์ด ได้อ่านบทความในหนังสือ The Times เขียนสรุปคำบรรยายของรูเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) เอาไว้ ซึ่งตอนนั้น รูเธอร์ฟอร์ด ให้ความเห็นในแนวทางที่ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการนำเอาพลังงานจากอะตอมมาใช้ รุเธอร์ฟอร์ด บรรยายให้นักศึกษาของเขาฟังในปี 1932 ก่อนหน้าเอาไว้ว่า การแบ่งธาตุ ลิเธียม ให้กลายเป็นอนุภาค อัลฟ่า โดยการระดมยิงเอาโปรตอน จากเครื่องเร่งอนุภาคที่สร้างขึ้นนั้น อาจจะได้พลังงานมากขึ้นกว่าที่เสียไปในการยิงโปรตอน แต่เฉลี่ยแล้วเราอาจจะไม่สามารถคาดหวังพลังงานจากวิธีการนี้ได้ มันเป็นแนวทางที่แย่ ไร้ประสิทธิภาพในการสร้างพลังงาน ใครก็ตามที่คาดหวังพลังงานจากการเปลี่ยนแปลงอะตอมเหมือนกำลังนั่งคุยกับแสงจันทร์แต่มันยังคงมีความสำคัญเพราะว่ามันเป็นองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะต้องเข้าไปสำรวจในอะตอม

ในตอนนั้นยังไม่มีการค้นพบปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิสชั่น (Fission) แต่พบแล้วว่าอะตอมถูกแบ่งออกมาเป็นพลังงานได้ แต่ สซิลาร์ด กลับมองเห็นถึงความเป็นไปได้ในการทำ ปฏิกริยาลูกโซ่ (Nuclear Chain Reaction) โดยอาศัยนิวตรอน ที่เพิ่งค้นพบไม่นานก่อนหน้านี้ และอาศัยปฏิกริยาเช่นที่เกิดขึ้นกับธาตุของลิเธียมนั้น สซิลาร์ดรู้จักปฏิกริยาลูกโซ่แบบเคมี (Chemical Chain Reaction) ซึ่งค้นพบมาตั้งแต่ 1913 อยู่แล้ว เขาจึงคิดว่าการทำปฏิกริยาลูกโซ่โดยนิวตรอนนั้นเป็นไปได้ แต่ว่าตอนนั้นสซิลาร์ดเสนอให้ใช้ ธาตุเบริลเลียม(berylium) และ อินเดียม (indium) ซึ่งไม่สามารถสร้างปฏิกริยาลูกโซ่ขึ้นมาได้

1936 เขาจดสิทธิบัตร แนวคิดเรื่อง Chain Reaction (GB 630726) และจดสิทธิบัตร เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (U.S 2,708,656) ร่วมกับเอ็นริโค เฟอร์มิ ( Enrico Fermi )

1938 เขาตอบรับข้อเสนอขอมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งตั้งอยู่ในย่านแมนฮัตตัน เพื่อไปทำงานวิจัยกับมหาวิทยาลัย

1939 ข่าวการประสบความสำเร็จในการสร้าง Nuclear Fission ในเยอรมัน โดยนักวิทยาศาสตร์ Otto Hahn, Fritz Strassmann, Lise Meitner และ Otto Robert ออกอากาศในสถานที่โทรทัศน์ ARD วันที่ 8 มีนาคม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ทำการทดลองมาตั้งแต่ปีที่แล้ว , สซิลาร์ด เมื่อได้ข่าวนี้ เขาและเพื่อนคือ เอ็นริโค เฟอร์มิ ( Enrico Fermi) ได้เร่งทำการทดลองเช่นเดียวกัน

โครงการแมนฮัตตัน

สิงหาคม สซิลาร์ด เดินทางไปหาไอสไตน์ เพื่อโน้มน้าวให้ไอสไตน์ลงนามในจดหมาย ที่จะส่งถึงประธานาธิบดี รูสเวลล์ ถึงความเป็นไปได้ในการสร้างระเบิดชนิดใหม่จากยูเรเนียม และเตือนว่านาซีกำลังมีการวิจัยอาวุธชนิดเดียวกันนี้อยู่ , ไอสไตน์ ลงนามในวันที่ 2 สิงหาคม และจดหมายถูกส่งถึงประธานาธิบดีโดยนักเศรษฐศาสตร์ อเล็กซานเดอร์ แซคช์ (Alexander Sachs) ซึ่งเขาส่งจดหมายช้า กว่าจะถึงประธานาธิบดี ก็วันที่ 11 ตุลาคม เพราะตอนนั้นสถานะการณ์เริ่มวุ่นวาย เมื่อเยอรมันบุกโปแลนด์แล้ว รูสเวลล์ ตอนจดหมายไอสไตน์ มาในวันที่ 19 ตุลาคม และหลังจากนั้น 21 ตุลาคม ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ แต่ตัวไอสไตน์ถูกกันไม่ให้มีส่วนร่วมในโครงการแมนฮัตตันนี้

1943 เขาได้รับสัญชาติอเมริกัน อย่างถาวร

1947 หลังสงครามโลก เขารุ้สึกไม่ดีเกี่ยวกับการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมา ทำให้หันเหความสนใจไปในด้านชีวะโมลิกุลแทน

1950 เขาเสนอแนวคิดการสร้าง Cobalt bomb ระเบิดนิวเคลียร์ชนิดหนึ่ง ที่มีแรงระเบิดไม่มาก แต่ว่าปล่อยกัมมันตรังสีในปริมาณมาก เขาอ้างว่าระเบิดชนิดนี้สามารถทำลายมนุษย์ทุกคนบนโลกจนหมดสิ้น แต่ระเบิดชนิดนี้ไม่เคยถูกสร้างขึ้น

1951 เขาแต่งงานกับ Gerturd Weiss

1960 เขาเขียนเรื่องสั้น ชื่อหนังสือว่า The Voice of the Dolphins , ในปีนี้เขาถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และต้องรักษาตัวด้วยการฉายรังสีโคบอล 60 ที่เขาออกแบบเอง ที่โรงพยาบาลนิวยอร์คเมโมเรียล

1962 เขาบอกแพทย์ที่รักษาให้เพิ่มปริมาณรังสีที่ฉายให้กับตัวเขา แม้ว่าแพทย์จะเตือนว่าเขาอาจจะเสียชีวิตได้ แต่เขาบอกว่าไม่มีทางหรอก แต่ถ้าไม่ใช้มันสิ เขาจะต้องตายแน่ และผลการรักษาโดยการเพิ่มปริมาณรังสีนี้ทำให้มะเร็งของเขาหายไปได้สำเร็จ ซึ่งมันกลายมาเป็นมาตรฐานในการรักษามะเร็งด้วยรังสีเลย

1964 เขาเสียชีวิตในวันที่ 30 พฤษภาคม 1964 ด้วยอาการหัวใจวาย ระหว่างนอนหลับอยู่ ขณะมีอายุ 66 ปี

Don`t copy text!