Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Blanca Canales

บลานคา คานาเลส 

สตรีผู้เคลื่อนไหว เรียกร้องเอกราชของประเทศ เปอร์โต ริโค จากสหรัฐอเมริกา
เธอเกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1906 ในเมือง จายุย่า  (Jayuya, Puerto Rico) เป็นลูกสาวคนเล็กของ เนเมซิโอ คานาเลส  (Nemesio Canales) นักการเมืองผู้เคลื่อนไหวเรื่องเอกราชของเปอร์โต ริโค มาตลอด พ่อของเธอเป็นสมาชิกพรรคยูเนี่ยน (Unionist Party)  ครอบครัวเธอได้ปลูกฝังให้ลูกๆ รักในความเป็นชาติพันธ์ของตัวเองมาตลอด เธอมักอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับฮีโร่ของชาติอื่นที่กู้เอกราชเป็นประจำมาตั้งแต่เล็ก และมักติดตามพ่อไปในงานประชุมต่างๆ ของพรรค
1924 เมื่อพ่อของเธอเสียชีวิต แม่ได้พาครอบครัวย้ายไปยังเมืองปอนส์ (Ponce) ซึ่งบลานคาได้เข้าเรียนมัธยมที่โรงเรียนในเมืองนี้ ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเปอร์โต ริโค
1930 จบการศึกษาทางด้านศิลปะศาสตร์ (Liberal Arts) หลังจากนั้นเธอได้เดินทางกลับมาทำงานเป็นคุณครูในเมืองจายุย่า ก่อนจบการศึกษาเธอมีโอกาสได้ฟังบรรยายของ เปโดร แคมโปส หัวหน้าพรรคเนชั่นแนลิสต์ เธอประทับใจมาก ทำให้สมัครเรียนในวิชาบริการสังคมเพิ่มก่อนจบด้วย
1931 สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรค Nationalist Party
1935 การสังหารหมู่ ในมหาวิทยาลัยเปอร์โต ริโค (Rio Piedras Massacre) ปธน. แฟรงคลิน ดี. รูสเวลล์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอแผนเศรษฐกิจใหม่ในการจัดการปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหรัฐ และอาณานิคม เรียกว่า New Deal  ในเปอร์โต ริโค รูสเวลล์ ได้แต่งตั้ง ดร. คาร์ลอส ชาร์ดอน (Carlos E. Chardon) ซึ่งออกจากกระทรวงเกษตรและแรงงาน มาเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เปอร์โต ริโค นอกจากนั้นเขายังเป็นสมาชิกพรรค Liberal Party 
 พรรคเนชั่นแนลิสต์ โดยหัวหน้าพรรค เปโตร แคมโปส (Pedro Albizu Compos) มองว่าแผนนี้จะทำให้มหาวิทยาลัยในเปอร์โต ริโค ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างค่านิยมความเป็นอเมริกา กลายเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อของรูสเวลล์ 
  23 ตุลาคม  กลุ่มนักศึกษา ได้รวมตัวกันภายในมหาวิทยาลัย และเรียก นายพล แบรนตัน วินซิบ ซึ่งสหรัฐส่งมาปกครองเปอร์โต ริโค ในฐานะเมืองขึ้นว่าเป็น ศัตรูหมายเลขหนึ่งของนักศึกษา (Student Enemy Number One) นักศึกษาเรียกชาร์ดอน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยว่าเป็นผู้ทรยศชาติ พวกเขาร่วมกันประท้วงให้ปลดนายพลวินชิบ ออกจากตำแหน่ง และไล่พรรค Liberal Party ซึ่งทำตัวเป็นพวกนิยมอเมริกัน ออกไป
  24 ตุลาคม  ดร. ชาร์ดอน  ได้ขอกำลังตำรวจติดอาวุธ เข้ามาในมหาวิทยาลัย และหว่างนั้นตำรวจสองนายได้เรียกนักศึกษาคู่หนึ่ง คือ รามอน เพแดน (Ramon S. Pagan) และ เปโดร คิโนเนส (Pedro Quinones) ซึ่งขับรถยนต์เข้ามา เพื่อขอดูใบอนุญาต แต่ตำรวจและนักศึกษาทั้งสองทะเลาะกันโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่เหตุการณ์จบลงโดย นักศึกษา 4 คน เสียชีวิต คือ  Ramón S. Pagán ,Eduardo Rodríguez Vega, José Santiago Barea, Pedro Quiñones
ผู้เห็นเหตุการณ์เล่า Isolina Rondon เล่าว่า เธอเห็นตำรวจใช้ปื่นยิงศรีษะคนทั้งสอง และพูดว่า “อย่างปล่อยให้มันมีชีวิต" 
1936 21 มีนาคม หัวหน้าพรรคเนชั่นแนลิสต์ เปโดร แคมโปส ( ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าการเมืองปอนส์ ให้นำประชาชนเดินขบวนประท้วงโดยสงบได้  แต่ว่านายพล แบรนตัน วินชิบ (Gen. Blanton Winship) ผู้ปกครองเปอร์โต ริโค ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ถูกแต่งตั้งโดยตรงจากประธานาธิบดีสหรัฐ เจ้าอาณานิคม แบรนตัน ถูกแต่งตั้ง โดยรูสเวลล์ ในปี 1934 ภายใต้การบริหารงานของเขา มีประชาชนว่างงานเป็นจำนวนมาก จนประชาชนพากันประท้วง
วันนั้นแบรนตัน ต้องการให้มีการยกเลิกคำสั่งอนุญาตการเดินขบวน เขาได้ส่ง ผบ.ตร. จัวน่า ดิแอซ (Juana Diaz)  นำกำลังตำรวจเข้าสลายกลุ่มผู้ประท้วง โดยใช้ทั้งแก็สน้ำตา และปินกลกึ่งอัตโนมัติ ยี่ห้อ ทอมสัน (Thomspon) และยังมีอาวุธอื่นๆ อย่างปืนไรเฟิ้ล เข้าสลายการประท้วง ซึ่งตำรวจใช้เวลาในการยิงปืนใส่กลุ่มผู้ประท้วงนานกว่า 15 นาที คนมีผู้เสียชีวิต 19 คน และบาดเจ็บหลายร้อย ซึ่งผู้อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งบางคนยังมีชีวิตอยู่ บอกว่าตำรวจไล่ล่าพวกเขาไปถึงหน้าประตู บางคนถูกยิงเสียชีวิตหน้าบ้านตัวเอง บางคนถูกดึงตัวออกมาจากที่ซ่อนก่อนจะยิงจนตาย นอกจากนั้นยังมีผู้ประท้วงอีกกว่า 150 คนถูกจับขังคุก นี้กลายเป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ ในประวัติศาสตร์ของเปอร์โต ริโค (Ponce Massacre)  หัวหน้าพรรคเนชัลแนลิสต์ ถูกจับขัง ในวันที่ 31 มีนาคม
1948 เจซุส ปิเนโร่ (Jesus T. Pinero) ผู้ปกครองคนเปอร์โต ริโค คนใหม่โดยสหรัฐ ออกกฏหมาย Ley de La Mordaza หรือ Law 53 ห้ามการใช้ธงชาติของเปอร์โต ริโค , ห้ามร้องเพลงชาติ เปอร์โต ริโค , และห้ามการพูดคุยเรื่องเอกราชของเปอร์โต ริโค
กลุ่มผู้นำของพรรคเนชัลแนลิสต์ ทั้งหัวหน้าพรรคเวลานั้น อัลบิสุ แคมโปส (Albiza Campos) , บลานค่า คานาเลส , อิลิโอ ตอรเรสโซล่า (Elio Torresola) และพี่น้องอิลิแซร์รี์ (Irizarry brothers) ได้วางแผนที่จะจับอาวุธขึ้นสู้กับเจ้าอาณานิคม ในปี 1952 โดยสะสมอาวุธไว้ที่บ้านของบลานค่า
1952 ตำรวจพยายามที่จะจับตัว อัลบิสุ แคมโปส บ้านของเขาถูกล้อมเอาไว้ในวันที่ 26 ตุลาคม แต่ว่าเขาทราบข่าวและพยายามหลบหนี และวันถัดมา 27 ตุลาคม ตำรวจในเมืองเปนัวลาส (Penuelas) ได้ยิงขบวนรถของกลุ่มเนชั่ลแนลลิสต์มีคนตายไป 4 คน
  29 ตุลาคม กลุ่มเนชัลแนลิสต์ ได้ลุกฮือจับอาวุธขึ้นประท้วงในหลายเมือง ทั้ง ปอนส์, มายากุซ , นารันจิโต้, อเรคิโบ, อูตัวโด , ซาน จวน , จายุย่า  … พวกเขาพยายามประกาศเอกราชจากสหรัฐอเมริกา
  30 ตุลาคม วันนั้น บลานคา อยู่ในเมืองจายุย่า เธอเดินทางโดยรถยนต์ คอยโบกธงชาติเปอร์โต ริโค นำขบวนของผู้ประท้วง เธอหยุดเพื่อกล่าวปราศรัยในหลายจุดทั่วเมือง ทั้งด้านหน้าศูนย์การค้า โรงพยาบาล
ต่อมาเมื่อเอได้ทราบว่า คาร์ลอส อิลิแซร์รี (Carlos Irizarry) ได้รับบาดเจ็บอยู่หน้าสถานีตำรวจ เธอรีบเข้าไปช่วยเขา และพาเขาไปยังโรงพยาบาลในเมืองอูตัวโด้ ซึ่งอยู่ใกล้เคียง เพราะโรงพยาบาลในจายุย่าปิด
สหรัฐอเมริกา ประกาศกฏอัยการศึก ในเปอร์โต ริโก้ และส่งเครื่องบินจากกองกำลัง National Guard เข้าทิ้งระเบิดทั่วเมืองจายุย่า 
ชาวเปอร์โต ริโค ไม่สามารถต้านทานเจ้อาณานิคมผู้กดขี่ได้ ที่สุดแล้ว พวกเขายอมวางอาวุธในวันที่ 1 พฤศจิกายน  
บลานคา คานาเลส ถูกจับตัว โดยถูกกล่าวหาว่าสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเผาสถานีตำรวจ เธอถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ตอนปี 1951 เธออยู่ในเรือนจำอัลเดอร์สัน (Alderson Federal Prison) ในเวสต์เวอร์จิเนีย ตอนปี 1956 เธออยู่ในเรือนจำ เวจา บาจา (Vega Baja) ในเปอร์โต ริโค
ปี 1967 ได้รับการอภัยโทษ ในสมัยของผู้ปกครอง ชื่อ โรเบอร์โต วิเลลล่า (Roberto Sanchez Vilella)  
แต่เธอไม่รู้สึกผิดอะไรที่จะเรียกร้องเอกราชให้กับดินแดนของตนเอง เธอเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้เผ่าพันธ์ของเธอตลอดเวลาจนกระทั้งเสียชีวิตในปี 1996 ในจายุย่า เมืองบ้านเกิดของเธอ
Don`t copy text!