โดโลเรส โลลิต้า เลบรอน โซโตเมเยอร์ (Dolores Lolita Lebron Sotomayor)
สตรีชาว เปอร์โต ริโค ผู้เรียกร้องเอกราช จากสหรัฐอเมริกา
เธอเกิดในเมืองลาเรส (Lares) เปอร์โต ริโค ดินแดนอาณานิคมที่ถูกสหรัฐกดขี่มายาวนานร้อยกว่าปี ตั้งแต่ปี 1898 จนปัจจุบัน เธอเกิดวันที่ 19 พฤศจิกายน 1919
เลบรอน มีพี่น้องด้วยกัน 5 คน พ่อของเธอ กอนซาโล (Gonzalo Lebron Bernal) ทำงานเป็นหัวหน้าคนงานภายในไร่กาแฟ ซึ่งเจ้าของยอมให้ครอบครัวของพวกเขาปลูกบ้านหลังเล็กๆ อยู่ และปลูกพืชเล็กๆ น้อยๆ ไว้เลี้ยงครอบครัว ส่วนแม่ราเฟียล่า (Rafaela Soto Luciano) ซึ่งเธอให้กำเนิดพี่น้องของเลบรอน อีก 4 คน คือ อูเรีย, อูกุสโต้ , กอนซาโร จูเนียร์, และ จูลิโอ (Aurea, Augusto, Gonzalo Jr., Julio)
วัยเด็ก เลบรอนเรียนหนังสือภายในโรงเรียนเล็กๆ ในหมู่้บ้าน สุขภาพของเธอไม่ค่อยดีนัก เพราะว่าเคยป่วยเป็นโรคปอดปวมตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้แม้จะหายแล้วแต่เธอก็มักจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย
ครอบครัวเธอย้ายบ้านจากเมืองเปซูเอลาส(Pezuelas) ไปยังมิราโซล (Mirasol) ก่อนที่จะมาอยู่ที่ลาเลส (Lares) ซึ่งพอได้เข้าทำงานในไร่ของอลิมิโล วิเลลลาส (Emilio Vilellas) ทำให้ลูกๆ มีโอกาสได้เรียนหนังสือที่ดีขึ้น เมื่อเข้าเรียนในโรงเรียนประจำเมือง เลบรอนเรียนหนังสือจนจบเกรด 6 หลังจากนั้นก็เข้าเรียนที่ Seguad Unidad Rural ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยม อยู่ในเมืองบาร์โตโล (Bartolo) ใกล้กับเมืองที่เธออยู่ เธอเรียนอยู่จบกระทั้งจบเกรด 8
ตอนอายุ 14 ปี เธอเข้าบัพติส หันมานับถือแคธอริก ในช่วงเวลานี้เธอได้รู้จักกับ Francisco Matos Paoli เขาเป็นคนรักคนแรกของเลบรอน ทั้งคุ่มักเขียนจดหมาย บทกวี แลกเปลี่ยนกันเป็นประจำ แม้ว่าครอบครัวของทั้งสองฝ่ายจะไม่สนับสนุนเพราะเห็นว่ามีฐานะที่ต่างกันมาก
ต่อมา เลบรอน ย้่ายมายังเมืองซาน จวน (San Juan) เพื่อมาเรียนวิชาการตัดเย็บเสื้อผ้า แต่ว่าไม่นานก็ต้องกับไปยังลาเรส เพราะว่าพ่อมีอาการป่วยโดยวัณโรค และครอบครัวเธอก็ถูกเจ้าของที่ดินไล่ออกมา ต่อมาครอบครัวเธอได้ไปอยู่กับ รามอน ซานติโก้ (Ramon Santiago) ซึ่งยอมให้พวกเธอสร้างบ้านในที่ดินของเขาได้ แต่อย่างไรอาการป่วยของพ่อไม่ดีขึ้น แม้เธอพยายามหายามารักษาให้
หลังจากการเสียชีวิตของพ่อแล้ว เลบรอนเริ่มทำงานเป็นช่างเย็บผ้า
1931 เลบรอน นั้นเป็นสมาชิกของพรรค Liberal Party มานานแล้ว แต่ว่าเธอไม่ได้สนการเมืองมากนัก จนกระทั้ง เมื่อทราบข่าวการสังหารหมู่ในเมืองบอนเซ่ (Ponce massacre) เมื่อรัฐบาลของนายพลวินซิป (Gen. Blanton Winship) ซึ่งแต่งตั้งโดยสหรัฐ โดย ปธน. แฟรงคลิน ดี. รูสเวลล์ สังหารหมู่ ผู้ประท้วงซึ่งนำโดยพรรค Nationalist Party ที่เดินประท้วงปัญหาการตกงานโดยสงบ และได้รับอนุญาตแล้วจากเทศบาลเมือง แต่นายพลวินซิป สั่งใช้กำลังตำรวจเข้าสลายการชุมนุม โดยอาวุธปืน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน และบาดเจ็บหลายร้อยคน ตอนนั้นเธออายุ 18 ปีแล้ว เธอสะเทือนใจมากเมื่อได้ทราบข่าวนี้
1940 เธอให้กำเนิดลูกสาว ชื่อ กลาดิส (Gladys) สามีของเธอเป็นวิศวกร ชื่อ ราเฟียล่า ลูเคียโน (Rafaela Luciano) ซึ่งเลบรอนต้องอาศัยให้สามีคอยดูแลลูกคนนี้ เมื่อเธอตัดสินใจเดินทางมาหางานทำในนิวยอร์ค ซึ่งเธอหางานทำให้โรงงานเย็บผ้า แต่ต้องเปลี่ยนที่ทำงานบ่อยมาก เพราะนายจ้างมักเอาเปรียบแรงงาน โดยเฉพาะเมื่อเธอพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้
ด้วยต้องเผชิญกับการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างชาวอเมริกัน ที่กระทำต่อชาวเปอร์โต ริโค ทำให้เกิดความรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง และเธอได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากกลุ่ม Puerto Rican Liberation Movement ช่วยสนับสนุนให้เธอเข้าเรยนในวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน (George Washington College) ซึ่งเธอเรียนและทำงานไปพร้อมกัน
1941 เธอแต่งงานใหม่อีกครั้ง และลูกคนที่สองนี้ถูกส่งตัวกลับมายังเปอร์โต ริโค โดยมีแม่ของเธอคอยดูแลให้ แต่ว่าปีต่อมาเธอก็หย่ากับสามี ซึ่งคอยรังแกเธอ
1943 ปีนี้มีการอพยพของแรงงานเปอร์โต ริโค เข้ามายังนิวยอร์คมากมายเพื่อหางานทำ แต่ส่วนใหญ่มีสภาพไม่ต่างกับเลบรอนที่ต้องอยู่อย่างยากลำบาก
1946 เลบรอน เข้าเป้นสมาชิกพรรค Nationalist Party แห่งเปอร์โต ริโก ซึ่งเธอมีแรงบันดาลใจ คือหัวหน้าพรรค เปรโด แคมโปส (Pedro Albizu Campos) ซึ่งพวกเขาต่างพยายามที่จะยกระดับเศรษฐกิจ แก้ปัญหาสังคม การถูกกดขี่จากเจ้าอาณาณิคม ภายในพรรค เลบรอน ได้รับตำแหน่งผู้แทนพรรคประจำนิวยอร์ค และยังเป็นรองหัวหน้าพรรรคด้วย
1950 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน เมื่อเกิดเหตุการณ์ Jayaya Uprising ซึ่งสหรัฐอเมริกา ในสมัยของ ปธน. เฮนรี่ ทรูแมน (Harry S. Truman) ประกาศกฏอภัยการศึก เหนืออาณานิคม แล้วส่งเครื่องบินจากหน่วย National Guard ระดมทิ้งระเบิดติดต่อกันสามวันสามคืน ในเมืองจายุย่า เพื่อปราบปรามชาวเปอร์โต ริโค ที่เรียกร้องเอกราช
ภายใน 3 วัน ทรูแมน ก็ชนะอย่างไม่อยากเย็น รักษาอธิปไตยอเมริกาเหนือดินแดนอื่นไว้ได้
มีผู้ร้าย ชาวเปอร์โต ริโค สองคน คือ กริเซลิโอ ตอร์เรโซโล ( Griselio Torresolo),ออสก้า คอลลาโซ ( Oscar Collazo) ที่คิดสั่น ตัดสินใจบุกบ้านพัก Blair House ของปธน. ทรูแมน เพื่อหมายสังหารประธานาธิบดี ในวันที่ 1 พฤศจิกายน เพื่อช่วยบ้านเกิดตัวเอง
ตอร์เรเซโล นั้นถูกเจ้าหน้าที่อารักขา ปธน. ยิงเข้าที่ขาทั้งสองข้าง จนลุกเดินไม่ได้ ตอนนั้นทรูแมน ตื่นขึ้นมามองดูเหตุการณ์จากกระจกภายในห้องพรรค เขาห่างจากตอร์เรเซโล ไปเพียง 30 ฟุต แล้วก็เห็นเจ้าหน้าที่ Coffelt ให้กระสุนยิงเข้าที่หัวของตอร์เรเซโล เข้าที่กกหูเป็นมุมเฉียงขึ้นไป เขาเสียชีวิตทันที
คอลโลโซ นั้นถูกยิงเข้าที่หน้าอก แต่เขาไม่ตาย เขาถูกศาลสหรัฐ ตัดสินประหารชีวิต ก่อนจะลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต และถูกขังไว้ 30 ปี ก่อนได้รับการอภัยโทษ ในปี 1979 เขาเดินทางกลับเปอร์โต ริโค และตายในปี 1994
1952 สหรัฐอเมริกา ประกาศเปลี่ยนชื่อ เปอร์โต ริโก อย่างเป็นทางการ เป็น Estado Libre Associado (commonwealth of the United States) เครือจักรภพสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 25 กรกฏาคม 1952 และอนุญาตให้เลือกตั้งผุ้นำของตัวเอง
1954 เลบรอนบุกสภาครองเกรส ของสหรัฐ พร้อมเพื่อนอีกสามคน คือ ราฟาเอล มิรันด้า (Rafael Cancel Miranda), เอร์วิ่ง ฟลอเรส (Irving Flores) และ แอนเดรส คอร์เดโร่ ( Andrés Figueroa Cordero) ใช้อาวุธปืนบุกสภาของสหรัฐอเมริกาในวอชิงตัน ดี.ซีง ในวันที่ 1 มีนาคม ในตอนเช้าของวันที่มีฝนตก เพื่อนของเธอบอกให้เปลี่ยนแผน เพราะอากาศไม่ดี แต่เลบรอน บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจะทำคนเดียว ทำให้พวกเขาดำเนินแผนการต่อไป
ขณะที่ยิงกระสุนออกไปนั้น มืออีกข้างหนึ่งของเธอถือธงชาติเปอร์โต ริโค , ปากของเธอร้องตระโกน “ Viva Puerto Rico Libre” (เสรีภาพของเปอร์โต ริโค จงเจริญ)
วันนี้มีคนบาดเจ็บ 5 คน หนึ่งในนั้นเป็น ส.ส. 1 คน คือ อัลวิน เบนต์เลย (Alvin Bentley) จากมิชิแกน
ตอนที่เธอถูกจับเธอบอกว่า “ I did not come to kill anyone, I came to die for Puerto Rico , ฉันไม่ได้มาฆ่าใคร แค่มาตายเพื่อเปอร์โต ริโค ”
ตำรวจค้นกระเป๋าของเธอ และเจอกระดาษโน๊ตเขียนเอาไว้ว่า
“Before God and the world, my blood claims for the independence of Puerto Rico. My life I give for the freedom of my country. This is a cry for victory in our struggle for independence … The United States of America are betraying the sacred principles of mankind in their continuous subjugation of my country … I take responsible for all.”“ก่อนพระเจ้าและโลกนี้ เลือดของฉันเป็นของอิสระภาพแห่งเปอร์โต ริโค ชีวิตฉันมอบให้เสรีภาพของประเทศฉัน นี้จะเป็นเสียงร้องของชัยชนะของความมุ่งมั่นเพื่อเอกราช… สหรัฐอเมริกามันหักหลังหลักแห่งความเป็นมนุษย์ มันทำร้ายประเทศฉัน … ฉันขอทวงคืน”
ระหว่างการสอบสวนที่นายหลายอาทิตย์ เธอมักจะถือธงชาติเปอร์โต ริโค ของเธอไว้ในมือเสมอ และเธอย้ำว่า “Came to die for the liberty of her homeland , มาตายเพื่อเสรีภาพของบ้านเกิดเธอ"
8 กรกฏาคม เช้าของวันฟังคำพิพากษา เธอได้รับแจ้งว่าลูกชายของเธอเสียชีวิต จนเธอครองสติแทบไม่ได้ และไม่ได้พูดอะไรเลยเป็นเวลากว่า 3 วัน ส่วนคำตัดสินของศาลนั้นได้ลงโทษจำคุกเธอ 56 ปี เธอถูกขังอยู่ในเรือนจำอัลเดอสัน (Alderson Federal Prison) ในเวสต์เวอร์จิเนีย
1977 ลูกสาวของเลบรอน กราดิส (Gladys) เสียชีวิตในขณะที่ เลบรอนยังอยู่ในคุก
1979 ปธน. จิมมี คาร์เตอร์ ยอมปลอยตัวเธอจากคุก เนื่องจากปัญหาสุขภาพ หลังอยู่ในคุกมานากว่า 25 ปี
เลบรอน กลับไปอยู่ เปอร์โต ริโก และแต่งงานกับ ดร. เซอร์กิโอ ริเวร่า (Sergio Irizarry Rivera) พวกเขาพบรักกันในคุก ริเวร่า นั้นเป็นคนที่ทางพรรคส่งให้คอยไปดูแลเธอระหว่างที่อยู่ในเรือนจำ เขาดูแลเธอมานานกว่า 8 ปี นับจากพบกันครั้งแรก เลบรอน กลับไปอาศัยอยู่ในบ้านในลัวซ่า (Loiza) และยังทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับอิสระภาพของชาติอยู่ตลอด
2010 เธอเสียชีวิต ในวันที่ 1 สิงหาคม 2010 ด้วยวัย 90 ปี
เลบรอนเป็นผู้หญิงที่สวยเอามากๆ เคยได้รับรางวัล ราชินีแห่งดอกไม้เดือนพฤษภาคม (Queen of the Flowers of May) จากการประกวดในเมืองลาเรส ตอนอยู่เกรด 8 … ตอนเธอสูงอายุ มักปรากฏตัวในชุดสีดำ เรียบๆ และยังคงดูดีตามวัยเสมอ
My Life I give for the freedom of my country