อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Александр Фёдорович Керенский)
ผู้นำการปฏิวัติปี 1917 ในรัสเซีย , นายกรัฐมนตรีคนที่สองของรัฐบาลเฉพาะกาล
เขาเกิดในเมืองซิมเบิรส์ก (Simbirsk) ริมฝั่งแม่น้ำโวลก้า ในวันที่ 4 พฤษภาคม 1881 พ่อของเขาคือฟิโอดอร์ (Fyodor Kerensky) เป็นครูในโรงเรียนประถม ซึ่งแต่งงานกับนาเดชด้า แอ๊ดเลอร์ (Nadezhda Adler) หญิงซึ่งมาจากครอบครัวที่มีชื่อเสียง บิดาของเธอทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายแผนที่ในกองทัพประจำคาซาน ชื่ออเล็กซานเดอร์ (Alexander Adler) เขาเคยเป็นหัวหน้าของเลนิน (Vladimir Ulyanov) ตอนสมัยยังเป็นนักเรียนอยู่ในซิมกิ้น ซึ่งสมาชิกของตระกูลเคเรนสกี และอุลยานอฟ (Ulyanov) นั้นมีความสนิทสนมกัน
1889 ตอนที่เคเรนสกี อายุได้ 8 ปี ครอบครัวของเขาย้ายมายังทัชเคนต์ (Tashkent) เพราะพ่อของเขาได้รับตำแหน่งใหม่ให้เป็นผู้ตรวจการณ์ของโรงเรียน , คาเรนสกีนั้นเรียนจบมัธยมต้นจากโรงเรียนในทัชเคนต์นี้ โดยที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยม และหลังจากเรียนจบในปีนี้ เขาได้สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ทางด้านประวัติศาสตร์และปรัชญา แต่ว่าพอปีถัดมาเขาได้เปลี่ยนมาเรียนทางด้านกฏหมายแทน
1904 จบการศึกษาในสาขานิติศาสตร์ หลังจากเรียนจบแล้วก็ได้แต่งงานทันทีกับลูกสาวนายพลคนหนึ่ง เธอชื่อ Olga L. Baranovskaya เขานั้นทำงานเป็นที่ปรึกษากฏหมาย โดยเฉพาะกับผู้ที่ถูกดำเนินคดีในช่วงการปฏิวัติ 1905
1912 ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาดูม่า ครั้งที่ 4 โดยเขาร่วมกับพรรค Trudoviks ซึ่งเป็นพรรคในแนวสายกลาง แต่ก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคฝ่ายซ้ายในสภา
1917 เมื่อเกิดการปฏิวัติกุมภาพันธ์ เคเรนสกีนั้นเป็นหนึ่งในบรรดาแกนนำก่อการปฏิวัติครั้งนี้ และเขาเองก็ได้เข้าเป็นคณะกรรมการของรัฐบาลเฉพาะกาล และได้รับเลือกให้เป็นประธานของ Petrograd Soviet (สภากรรมกร) ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรมคนแรก ของรัฐบาลเฉพาะกาลด้วย
แต่ว่าเมื่อจดหมายติดต่อระหว่าง Pavel Milyukov รัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้น กับอังกฤษและฝรั่งเศสถูกเปิดเผยในเดือนเมษายน ซึ่งเนื้อหาในจดหมายบอกว่ารัสเซียจะยังคงทำสงครามต่อไปหากจำเป็น ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจต่อรัฐบาลเฉพาะกาล แรงงานพากันไปสนับสนุนฝ่ายบอลเชวิคมากขึ้น เดือนพฤษภาคม จึงได้มีการปรับรัฐบาลใหม่ และเคเรนสกีได้เป็นรัฐมนตรีกิจการสงคราม แต่ว่ารัฐบาลชุดใหม่ก็ยังได้รับแรงกดดันจากฝ่ายสัมพันธมิตรให้ทำสงครามต่อไป ซึ่ง 1 กรกฏาคม คาเรนสกี ได้สั่งให้กองทัพมีการโจมตีออสเตรีย-ฮังการี และเยอรมัน ที่ประจำอยู่ในกาลิเซีย (Galicia) ลเวียฟ (Lviv) ซึ่งในสองอาทิตย์แรกกองทัพรัสเซียประสบความสำเร็จมาก แต่ว่าพอวันที่ 16 กรกฏาคม กองทัพเยอรมันก็เริ่มโจมตีตอบโต้ จนรัสเซียต้องเป็นฝ่ายถอยทัพ โดยเสียการควบคุมในยูเครนและแลตเวียให้กับเยอรมัน ในวันเดียวก็ ยังเกิดการจราจลใหญ่ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (July Days) นายกรัฐมนตรี เจ้าชาย ลโวว (Price Lvov) ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเคเรนสกี ขึ้นเป้นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่ในประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ขณะมีอายุเพียง 36 ปี
ผลของการแพ้ครั้งนี้ ยิ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลเฉพาะกาล และหันไปสนับสนุนพรรคบอลเชวิคของเลนินมากขึ้น คาเรนสกี เป็นฝ่ายที่ถูกโจมตี อย่างการที่เขายกเลิกโทษประหารของทหารที่หนีทัพ นั่นทำให้เกิดกลุ่มทหารที่ไม่ฟังคำสั่งมากขึ้นในแนวหน้า ซึ่งเป็นสาเหตุให้กองทัพแพ้ ประมาณว่ามีทหารกว่า 2 ล้านคนที่หนีทหารในปีนี้
15 กันยายน คาเรนสกี ประกาศให้รัสเซียเป็นสาธารณรัฐ แต่นั้นเป็นการใช้อำนาจที่ขัดแย้งกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly) ที่กำลังวางกรอบการปกครองของประเทศอยู่
คาเรนสกี อยู่ในตำแหน่งต่อมาจนกระทั้งพวกบอลเชวิค ทำการปฏิวัติในเดือนตุลาคม ตอนนั้นรัฐบาลเฉพาะกาลในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ล้มลงอย่างง่ายดายโดยที่แทบไม่มีกองกำลังทหารสนับสนุนเลย บอลเชวิคใช้เวลาเพียง 20 ชั่วโมงก็ยึดอำนาจไปได้
คาเรนสกี หนึไปอยู่กับ พัสคอฟ (Pskov) ที่มีทหารจำนวนหนึ่งที่พยายามจะบุกยึดเมืองคืน แต่ก็แพ้ในวันต่อมาในการปะทะที่พุตโกโว (Pulkovo) หลังจากนั้นคาเรนสกี ก็หนึออกจากรัสเซีย มายังฝรั่งเศส
ช่วงสงครามกลางเมืองในรัสเซีย คาเรนสกี ไม่ได้สนับสนุนทั้งกองทัพแดงหรือกองทัพขาวเลย
1939 เขาแต่งงานกับอดีตนักข่าวชาวออสเตรเลีย ชื่อ ลิเดีย (Lydia Tritton) และปีต่อมาเมื่อเยอรมันยึดฝรั่งเศสได้ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลก พวกเขาก็หนีไปยังสหรัฐอเมริกา คาเรนสกี ประกาศสนับสนุนสตาลิน ในช่วงสงครามโลก แต่ว่าไม่เคยได้รับการตอบรับจากฝ่ายโซเวียตด้วยเห็นว่าเขาไม่ได้มีบทบาทอะไรแล้ว
1945 ลิเดียมีอาการป่วย ทำให้พวกเขาเดินทางมายังบริสเบน ออสเตรเลีย เพื่อพักผ่อนและอาศัยกับครอบครัวของฝ่ายลิเดีย แต่ลิเดียก็เสียชีวิตในวันที่ 10 เมษายน 1946 คาเรนสกีจึงกลับสหรัฐอเมริกาหลังจากนี้ เขาอาศัยอยู่ในนิวยอร์ค แต่ก็ใช้เวลาในการทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลับสแตนฟอร์ตในแคลิฟอร์เนียด้วย
1970 คาเรนสกี เสียชีวิตภายในบ้านในนครนิวยอร์ค ในวันที่ 11 มิถุนายน ตอนนั้นโบสถ์นิกายรัสเซียออโธดอกซ์ในนิวยอร์คปฏิเสธที่จะประกอบพิธีให้เขา เพราะเห็นว่าเขากลายเป็นพวกฟรีเมสันและยังเป็นสาเหตุที่ทำให้รัสเซียตกอยู่ใต้อำนาจคอมมิวนิสต์ นั่นทำให้ร่างของเขาถูกส่งมายังลอนดอน และประกอบพิธีที่สุสาน Putney Vale
คาเรนสกี มีลูกชายสองคน คือ โอเล็ก (Oleg) และ เกล็บ (Gleb) ทั้งคู่เป็นวิศกร อาศัยอยู่ในอังกฤษ โอเล็ก คาเรนสกี มีส่วนในการออกแบบสะพานฮาร์เบอร์ บริด (Sydney Harbour Bridge) ในออสเตรเลีย