กริกอรี่ เยฟีโมวิช รัสปูติน (Григорий Ефимович Распутин)
เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม 1869 (ปฏิทินปัจจุบัน 21 มกราคม) ในครอบครัวเกษตรกรในหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อว่า โปกรอฟสโกเย่ (Pokrovskoye) เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทูร่า (Tura river) ในเขตทัวเมน (Tyuen Oblast) ไซบีเรีย
ข้อมูลปีเกิดที่แท้จริงของเขานั้นมีความสับสน ซึ่งให้วันเกิดที่แท้จริงระหว่าง 1864 ถึง 1872
บิดาของรัสปูติน เยฟิม วิลกิน่า (Efim Vilkinа, Ефима Вилкина) และมารดา แอนนา ปาร์ชูโกว่า (Anna Parshukova,Анны Паршуковой)
รัสปูติน มีญาติลูกพี่ลูกน้องอยู่สองคน พี่สาวชื่อมาเรีย และน้องชายชื่อ ดมิทรี , มาเรีย นั้นเสียชีวิตเพราะเกิดอาการโรคลมชัก (Epileptic) ขณะเล่นน้ำทำให้เธอจมน้ำเสียชีวิต ต่อมาวันหนึ่ง รัสปูติน และดมิทรี ก็ไปเล่นน้ำด้วยกันในบึงแห่งหนึ่ง ดมิทรีตกลงไปในบึง แล้วรัสปูตินกระโดดลงไปช่วย แม้ว่าทั้งคู่จะรอดมาจากบึงน้ำได้เพราะว่ามีคนผ่านมาช่วยเอาไว้ได้ แต่ต่อมาไม่กี่วันดมิทรีก็เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม นั้นทำให้เขาเสียใจมากและตลอดชีวิตเขามักพูดถึงลูกพี่ลูกน้องทั้งสองเสมอ
ตอนอายุได้ 8 ขวบ เขาเริ่มีอาการป่วย จนต้องเข้าไปรักษาตัวในวิหาร Verkhoturye Monastery เป็นเวลากว่าสามเดือน ซึ่งเขาได้อ้างว่า สามารถมองเห็นพระแม่มาเรียได้
พ่อเขาเล่าว่าลูกชายมีอำนาจพิเศษมาตั้งแต่ยังเด็ก ครั้งหนึ่งเมื่อม้าของที่บ้านถูกลักไป รัสปูตินสามารถช่วยชี้ตัวคนร้ายที่ขโมยมาได้อย่างถูกต้อง
เมื่ออายุของเขาประมาณ 18 ปี เขาไปอาศัยเรียนอยู่ในวิหารเวอร์โคเตอร์เย่ (Verkhoturye monastery) เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งอ้างว่าเขาได้มองเห็นพระแม่มารี , นอกจากนั้นมีข้อมูลว่าเขาติดต่อกลับกลุ่มลัทธิ คลิสตี้ ( Khlysty, Хлысты) ซึ่งเป็นลัทธิใต้ดินหนึ่งของผู้นับถือศาสนาคริสต์ในรัสเซีย ซึ่งลัทธินี้มีพิธีกรรมประหลาดและมีการร่วมเพศระหว่างพิธีด้วย
1890 แต่งงานกับปราสโกเวีย ดูโบรวิน่า ( Praskovia Fyodorovna Dubrovina) เธอเป็นนักแสวงบุญ และเป็นชาวนา พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน คือ มาโทรน่า (มาเรีย) Matryona, วาร์วาร่า (Varvara) และ ดมิทรี (Dimitri) ช่วงเวลานี้เขาเริ่มหันไปสนใจศาสนา และออกเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง ทั้งในและนอกประเทศรัสเซีย ในปี 1893 ได้เดินทางไปหุบเขาเอโธส (Athos) ในกรีซ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่ของเทพยักษ์ในตำนานกรีก และยังเดินทางไปยังเยรูซาเรมในอิสราเอลด้วย
1900 เดินทางมายังเมืองเคียฟ ก่อนจะเดินทางไปอยู่ในเมือคาซาน (Kazan) ซึ่งเขาได้รู้จักกับบาทหลวง ชื่อ ไมเคิ้ล (father Michael)
1903 มายังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก และเขาค่อยๆ ได้รับความยอมรับในฐานะนักบุญศักดิ์สิทธิ์ ที่มีความสามารถในการรักษาโรคที่ละน้อย แต่ว่าในหมู่ของชนชั้นสูงก็แสดงความรังเกียจเขาออกมาอย่างมาก ด้วยเพราะเขาชอบดื่มเหล้า มีข่าวชู้สาวและเซ้กที่ผิดปกติ ข่มขืนชี และความสัมพันธ์ระหว่างรัสปูตินกับนิกายออโธด็อกซ์ก็ยังไม่ราบรื่นอีกด้วย
รัสปูตินรับรู้เรื่องราวอาการป่วยของเจ้าชายอเล้กซี ระหว่างการเดินทางอยู่ในไซบีเรีย ซึ่งอาการป่วยของเจ้าชายนั้นไม่ได้เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะในเวลานั้น เจ้าชายทรงป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเรีย หรืออาการเลือดออกง่ายและไม่แข็งตัว ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อทางกรรมพันธ์ในราชวงศ์ยุโรปมาจากพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ อเล็กซีเป็นเหลนของควีนวิคตอเรีย ซึ่งพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 ได้พยายามหาทางช่วยเจ้าชายมาตลอด และได้ไปปรึกษากับ แอนน่า วีรุโบว่า (Anna Vyrubova) ซึ่งเป็นคนนำเรื่องอาการป่วยของเจ้าชายอเล็กซี ไปบอกให้รัสปูตินรู้
1905 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่รัสปูตินและและเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้เจอกันเป้นครั้งแรก ตามที่พระเจ้าซาร์ได้ทรงบันทึกเอาไว้ในไดอารี่
และเมื่อรัสปูตินสามารถทำให้อาการของอเล็กซีดีขึ้นได้ทุกครั้งที่พระองค์ทรงมีอาการป่วย ทำให้ซาร์นิโคลัสและซาร์ดิน่า ไว้วางใจในตัวรัสปูตินมากถึงขนาดบอกว่าเขาเป็นชายศักดิ์สิทธิและเป็นเพื่อนของทั้งสองพระองค์
1907 มีการสอบสวนรัสปูตินเกี่ยวกับการที่เขาเกี่ยวข้องกับลัทธิใต้ดิน Khlysty โดยคดีเริ่มอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 กันยายน ซึ่งเขาถูกกล่าวหาโดยสภาเมืองโตโบลส์ก (Tobolsk consistory) และอาร์คบิชอฟ แอนโทนี (Archbishop Anthony, ชื่อเดิม Alexander Karzhavin) ว่าเผยแพร่ความเชื่อและคำสอนที่ขัดต่อหลักศาสนาคริสต์
1911 เดินทางไปยังเยรูซาเลม
1912 รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย มาการอฟ (Makarov) ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลับไปจับตาดูรัสปูตินอย่างใกล้ชิด ซึ่งคำสั่งมีผลจนกระทั้งรัสปูตินเสียชีวิต
กุมภาพันธ์ ซาร์นิโคลัส ได้สั่งให้มีการสอบสวนคดีเกี่ยวกับ Khlysty อีกครั้ง ซึ่งเป็นคำร้องมาจากเหล่านักบวช ( Holy Synod) แต่ต่อมาเมื่อมีการแต่งตั้งบิชอฟ อเล็กซี (Achibishop Alexey Molchanov) เข้ามาดูแลคดี ทำให้คดีต่อรัสปูตินตกไป ฝ่ายที่ต่อต้านรัสปุตินเห็นว่าคนทั้งสองสมรู้ร่วมคิดกัน เพราะมีข้อมูลการติดต่อพูดคุยระหว่างบิชอฟและรัสปูติน
1914 ระหว่างอยู่ในหมู่บ้านโปโครฟสกี (Pokrovsky) ในวันที่ 29 มิถุนายน (12 กรกฏาคม)[วันที่ไม่แน่ชัด ข้อมูลบางที่บอกว่าเป็นวันที่ 15 เมษายน (28 เม.ย.) ] รัสปูตินถูกแทงเข้าที่ท้องโดยส้อม คนที่แทงเป็นผู้หญิงชื่อ โคเนีย กุเชว่า (Khionia Guseva) เธอเป็นสตรีพิการจมูกแหว่ง จากเมืองโวลโกกราด ตอนที่แทงเธอร้องว่า “ฉันจะฆ่าพวกต่อต้านคริสต์” แต่ว่ารัสปูตินซึ่งถูกแทง สามารถต่อสู้และหลบหนีมาได้ 3 กรกฏาคม รัสปูติน เดินทางโดยรถไฟ ไปยังเมืองทรูเมน (Tyumen) เพื่อรักษา และเขาต้องอยู่ในโรงพยาบาลจนกระทั้้ง 17 สิงหาคม
แต่การสอบสวนในปีต่อมาพบว่าโคเนีย มีปัญหาทางจิตและถูกปล่อยตัวไป
1916 รัสปูติน ถูกสังหารในคืนวันที่ 16 ธันวาคม (29 ธันวาคม) โดยมีผู้ที่สมรู้ร่วมคิด กันคือ ดมิทรี บาฟโลวิช (Grand Duke, Dmitri Pavlovich) มีศักดิ์เป็นพระญาติของซาร์นิโคลัส ที่ 2 , เฟริค ยุสุปอฟ (Felix Yusupov) เจ้าชาย ซึ่งต่อมาเขาเขียนหนังสือบันทึกเกี่ยวกับการวางแผนสังหารรัสปูตินไว้ คือ The End of Rasputin (1927) และ Lost Splendour (1953), วลาดิมีร์ ปุริชเกวิช (Vladimir Purishkevich) นักการเมืองขวาจัด สมาชิกกลุ่ม Black Hundreds,ร้อยโท เซอร์เกย์ สุโคติน (Sergei Sukhotin) , และยังมีเจ้าหน้าที่สายลับ MI6 ของอังกฤษ ชื่อ ออสวอล์ด เรย์เนอร์ (Oswald Rayner)
ในวันนั้นภรรยาของเจ้าชายยุสุปอฟ เจ้าหญิงอริน่า (Princess Irina Alexandrovna)เป้นคนที่เชิญรัสปูตินมาที่วัง Moika Palace (Yusupov Palace) ของพวกเขาในเวลา 5 ทุ่ม โดยที่เจ้าชายยุสุปอฟ และคนรับใช้สองคน อิวาน และกริกอรี เป็นคนจัดเตรียมห้องรับรองชั้นใต้ดิน บนโต๊ะมีน้ำชา บิชกิต เค๊ก ไวน์แดง และปลาแซลม่อนรมควัญ
ดร.สตานิลัส ลาโซเวิร์ต (Dr. Stanislaus de Lazovert) เป็นคนที่ใส่โปแตสเซียม ไซยาไนด์ (potassium cyanide) ลงในเค๊ก และแก้วคริสตัล ซึ่งฤทธิ์เพียงพอที่จะฆ่าคนได้หลายคน แต่ปรากฏว่าหลังจากทานและดื่มอาหารเข้าไป รัสปูติน กับไม่แสดงอาการว่าได้รับสารพิษเข้าไป
เจ้าชายยุสุปอฟ จึงได้วิ่งขึ้นไปห้องด้านบนและปรึกษากับคนอื่นๆ ก่อนที่จะกลับลงมาแล้วให้ปืนลูกโม่ เริ่มยิงรัสปูตินนัดแรกจากด้านหลัง แต่เมื่อเดินเข้าไปดูรัสปูตินที่ล้มลง เขากลับลืมตาขึ้นมาและต่อสู้ รัสปูตินพยายามวิ่งหนี และพยายามปืนกำแพงของสวน เจ้าชายยิงซ้ำอีกสามนัด และจับรัสปูติน มัดมือไว้ด้วยเชือกไคว่ที่หลัง และมัดที่เท้าเข้าด้วยกัน และห่อเอาไว้ด้วยพรหมเพื่ออำพราง จากนั้นก็นำตัวขึ้นรถ ตอนตี 4.50 น. เมื่อถึงสะพานได้แกะพรหมออก แล้วโยนร่างของเขาลงมาจากสะพานเปตรอฟสกี (Petrovski Bridge) ลงในแม่น้ำเนว่า (Neva river) ที่เย็นจัดในช่วงนี้
19 ธันวาคม จึงมีการค้นพบร่างของรัสปูติน แต่ว่าการชันสูตรบอกว่าสาเหตุของการเสียชีวิตมาจากการจมน้ำ ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าเขายังมีชีวิตอยู่ก่อนจะตกลงในแม่น้ำ แม้ว่าจะทานยาพิษและถูกยิงหลายนัด
ซารินา อเล็กซานดร้า ได้สั่งให้ประกอบพิธีศพของรัสปูตินที่สนามในวัง Tsarskoye Selo
จนหลังการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ 1917 แล้ว เคเรนสกี(Aleksander Kerensky) รองนายกคนที่สอง ในรัฐบาลเฉพาะกาล ได้สั่งให้คอร์นิลอฟ (Lavr Kornilov) ขุดร่างของรัสปูตินขึ้นมาทำลาย และนำไปเผาในวันที่ 11 มีนาคม ในสถาบันโพลีเทคนิค (Polytechnic Institue) ซึ่งเล่ากันว่าศพของรัสปูติน ขยับได้ เหมือนจะลุกเดิน แต่ก็ว่าอาจเป็นเพราะลักษณะการถูกมัด หรือผลจากการเผา
ผู้ร่วมขบวนการสังหารรัสปูติน ต่างถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตัวในเวลาต่อมาตามคำสั่งของซาริน่าอเล็กซานดร้า แต่ซาร์นิโคลัสได้รับหนังสือจากสมาชิกราชวงศ์ไม่ให้ลงโทษพวกเขา ทั้งหมดจึงถูกกักบริเวณภายในบ้านของตัวเอง จนกระทั้งการปฏิวัติเกิดขึ้นพวกเขาจึงแยกย้ายกันหลบหนีไป
การชันสูตรศพ ที่ไม่ถูกเผยแพร่ โดย ดร. คอสโซโรตอฟ (Prof. Kossorotov) ในปี 1916 ถูกเปิดเผยภายหลัง โดย ดร. วลาดิมีร์ ซาร์ตอฟ และ ดร.เดอร์ริค พาวเดอร์ ว่าไม่มีการพบสารพิษในลำไส้ของรัสปูติน ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าสารไซยาไนด์นั้นได้ถูกทำลายไปในตอนที่ขนมเคกถูกนำไปอบด้วยความร้อนสูง หรืออาจจะกลายเป็นกลาง(ไม่มีพิษ) เพราะน้ำตาลในขนมเค๊ก
หรือรัสปูติน อาจจะไม่ได้กินขนมเค๊กเข้าไปด้วยซ้ำ ลูกสาวของรัสปูติน มาเรีย รัสปูติน เล่าเอาไว้ว่าพ่อของเธอหลีกเลี่ยงอาหารหวานตลอด หลังจากที่เคยถูกทำร้ายโดยโคเรีย เพราะว่าลำไส้ของเขาเจ็บปวดหากเกิดกรดภายใน
มีอีกทฤษฏีหนึ่ง ที่คาดว่าแผนการสังหารรัสปูตินนี้ มาจากหน่วย MI-6 ของอังกฤษเองที่กลัวว่ารัสปูติน ซึ่งมีอิทธิพลสูงต่อซาร์ดิน่า อเล็กซานดร้า จะทำให้รัสเซียและเยอรมันทำสัญญาสันติภาพกันได้ เพราะรัสปูตินเองไม่ต้องการให้ทำสงครามมาตั้งแต่ต้นแล้ว
ระหว่างที่รัสปูตินมีชีวิตอยู่ เขาได้เขียนหนังสือเอาไว้สองเล่ม คือ
Life of experimental wanderer (Житие опытною странника ,1907)
My thoughts and reflections (Мои мысли и размышления 1915)