Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Alexander Nevsky

Alekxander Nevsky

อเล็กซานเดอร์ ยโลสลาวิช เนฟสกี (Александр Ярославич Невский)

เจ้าชายแห่งนอฟโกรอด , นักบุญในคริสต์ นิกาย รัสเซียนออโธดอกซ์
ทรงเป็นโอรส คนที่  4 ของเจ้าชาย ยาโรสลาฟ วเชโวโลโดวิช (Yaroslav Vsevolodovich , Price of Pereslavl-Zalesky, Grand Prince of Kiev, Grand Prince of Vladimir , Prince of Novgorod) กับพระมารดาชื่อ โรสติสลาฟ (Rostislav Theodosia Mstislavny , Princess of Smolensk)  เนฟสกี เกิดในเดือน พฤษภาคม 1221 ที่เมืองเปเรสลาฟ-ซาเลสกี (Pereslavl-Zalessky)
1225 ตามประวัติบอกว่าเนฟสกี เริ่มทำงานในกองทัพตั้งแต่อายุเพียง 4 ปี
1228 เนฟสกี ได้รับมอบอิสริยศ เป็น เจ้าชายแห่งวลาดิมีร์ ซึ่งได้รับหน้าที่ในการบัญชาการกองทัพในเขตวลาดิมีร์ด้วย ซึ่งตอนนั้นมีสงครามทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของดินแดนกับประเทศสวีเดน เยอรมัน 
1239 แต่งงานลูกสาวของเจ้าชาย เบรียเชสลาฟ วาซิลโกวิช แห่ง โปแลตส์กและวิเตปส์ก (Prince Brycheslav Vasilkovich of Polatsk and Vitebsk) แต่ว่าพระนามของพระมเหสีไม่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ แต่ว่าถูกเรียกภายหลังในชื่อ พาราสกีวิย่า (Paraskeviya) หรือ อเล็กซานดร้า  (Alexandra)  มีลูกด้วยกันอย่างน้อย 5 คน คือ เบสิล (Basiil, 1245-1271) ดมิทรี (Dmitri, 1250-1294) แอนดริว (Andrew, 1255-1304) เดเนียล (Daniel, 1261-1303) และลูกสาวหนึ่งคน เยฟโดเกีย (Evdokia)
1240 เนฟสกี ขณะมีพระชนเพียง 19 ชันษา  สามารถนำกองทัพของเขาโจมตีทหารสวีเดนนำโดยเจ้าชายไบร์เกอร์ จาร์ล (ฺBirger Jarl) (แต่ข้อมูลของสวีเดนบอกว่าคนนำทัพเป็นยุลฟ์ ฟาซี (Ulf Fase) ซึ่งมีจำนวนมากกว่ามาก ซึ่งปักหลักอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิโชร่า (Ust-Izhora) และแม่น้ำเนว่า (Neva) ในวันที่ 15 กรกฏาคม เป้าหมายของสวีเดนในตอนนั้นคือต้องการยึดครองดินแดนบริเวณปากแม่น้ำเนว่า และเมืองลาโดก้า (Ladoga) ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญระหว่างสวีเดนกับกรีซ แต่ดินแดนดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิของสาธารณรัฐนอฟโกรอดมานานหลายร้อยปีแล้ว ผลของสงครามครั้งนี้ทหารของเนฟสกีเป็นฝ่ายมีชัยชนะ ซึ่งเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดของรัสเซียในยุคนั้น และเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ก็ทรงได้รับการถวายพระเกียรติว่า “เนฟสกี” มาตั้งแต่สงครามครั้งนั้น เพราะ “เนฟสกี” หมายถึง แม่น้ำ “เนว่า”
ชัยชนะทำให้เนฟสกีมีอิทธิพลในหมู่ขุนนางระดับสูงมาก แต่ก็ทำให้มีคนที่ไม่ชอบเขามากด้วยเช่นกัน จนกระทั้งเนฟสกีตัดสินใจออกจากนอฟโกรอด เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
1241 ฤดูใบไม้ผลิ เมื่ออัศวินลิโวเนีย 2 พี่น้อง (Livonian Knights) เฮอร์แมน แห่ง ดอร์แพด (Hermann of Dorpat) และ อัลเบิร์ต แห่งริก้า (Albert of Riga) ซึ่งได้รับคำสั่งจากพระสันตะปาปา กริกอรี่ ที่ 4 (Gregory IX) ให้ทำสงครามกับนอฟโกรอด เพื่อช่วยเหลือชาวแคธอริกในฟินแลนด์ และเพื่อยึดดินแดนรัฐเซีย เปลี่ยนผู้นับถือนิกายออโธดอกซ์ให้เป็นแคธอริก เนฟสกีได้กลับเข้ามารวบรวมกำลังทหารเพื่อสู้รบอีกครั้ง , กองทัพของทักสองฝ่ายปะทะกันบริเวณทะเลสาบปีปุส (Peipus Lake) ซึ่งเป็นน้ำแข็ง ในวันที่ 5 สิงหาคม 1242 สงครามครั้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามน้ำแข็ง (Battle of the Ice) แต่ละฝ่ายมีกำลังประมาณ 4000 คน ซึ่งฝ่ายของเฮอร์แมน ซึ่งทหารส่วนใหญ่เป็นชาวเอสธัวเนีย พ่ายแพ้และมีทหารกว่า 400 นายเสียชีวิต และถูกจับอีก  50 คน
1251 หลังมีชัยชนะในสงครามเหนืออัศวินลิโวเนียนแล้ว เนฟสกี ได้ขยายดินแดนของนอฟโกรอดไปทางตะวันตกเฉียงเหนือมากขึ้น เขาสามารถยึดฟินแลนด์ได้
1252  ได้มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ ระหว่างรัสเซียและนอร์เวย์ 
ปีนี้เนฟสกี ยังมีโอกาสรู้จักกับ ข่าน ซาร์ตัก (Khan, Sartak) แห่งมองโก ระหว่างการเดินทางเยือนเมืองซาเรีย (Sarai) เมืองหลวงของมองโก (Golden Horde) บริเวณแม่น้ำ อาค์บุต้า (Akhtuba river) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองอั๙ตราคาน ในรัสเซียปัจจุบันไป 120 กิโลเมตร และอยู่เหนือทะเลแคสเปี้ยน
ข่าน ซาร์ตัก เป็นผู้แต่งตั้งให้เนฟสกี เป็น แกรนด์ดุ๊ก แห่ง วลาดิมีร์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์รัสเซีย เลฟ กุมิเลฟ (Lev Gumilev) ยังบอกว่าเนฟสกี และข่านซาร์ดัก กลายเป็นพี่น้องร่วมสาบาน และยังถือเป็นลูกบุญธรรมของข่านซาร์ดักด้วย
1263 พระองค์แต่งงานใหม่อีกครั้ง กับ วาซิลาซ่า (Vasilisa)  แต่ว่าหลังจากนั้นไม่นานก็ทรงเสียชีวิตระหว่างทาง หลังจากเดินทางกลับจากเมืองซาเรีย , ทรงสวรรคตที่เมืองโกโรเด็ตส์ (Gorodets) เมืองริมฝั่งแม่น้ำโวลก้า ในวันที่ 14 พฤศจิกายน
1547 หลังสวรรคตไม่นาน ก็ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในฐานะนักบุญ แต่ว่ามีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากรัสเซียออโธดอกซ์ ในปี 1547 ในสมัยของซาร์ปีเตอร์ มหาราช พร้อมกับอัญเชิญพระอัษฐิ ของเนฟสกี มาไว้ยังมหาวิหาร อเล็กซานเดอร์ เนฟสกี ลาฟรา (Alexandr Nevsky Lavra) ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
1725 พระนามของอเล็กซานเดอร์ เนฟสกี ได้ถูกใช้เป็นเหรียญตราเกียรติยศ Imperial Order of St.Alexander Nevsky รางวัล ระดับสูงสุดของรัสเซีย ในสมัยของพระนางแคทเธอรีน ที่ 1
~ในหนังเรื่อง Alexander Nevsky ฉายในปี 1938 กำกับโดย Sergei Eisenstien และเขียนบทโดย Peter A. Pavlenko มีบทในภาพยนต์ที่เนฟสกี พูดว่า “ผู้ใดมาหาเราด้วยดาบ, ดาบนั้นแหละจะทำลายล้างมัน” (Whoever will come to us with a sword, from a sword will perish, Кто к нам с мечом придет, тот от меча и погибнет !) กลายเป็นคำขวัญที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวรัสเซียจนปัจจุบัน
ประโยคดังกล่าว คล้ายกับวิวรณ์ Matthew, 26:52 “Return your sword to its place, for all those who fake the sword will perish by the sword ซึ่ง คิง เจมส์ (King James) ได้แต่งประโยคความหมายเดียวกันว่า "Live by the sowed , die by the sword" 
Don`t copy text!