Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Alexandra Kollontai

อเล็กซานดร้า โคลลอนไต (Александра Мижайловна Коллонтай)
รัฐมนตรี, และเอกอัครราชทูตที่เป็นผู้หญิงคนแรกในยุโรป  … ผู้ร่วมการปฏิวัติ 1917

นามสกุลเดิมของเธอคือโดมอนโตวิช  (Domontovych) เป็นครอบครัวของขุนนางที่มั่งคั่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าชายดอฟมอนต์ พัสคอฟ(Dovmont Pskov) เธอเกิดในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ในวันที่ 31 มีนาคม 1872  พ่อของเธอเป็นนายทหารยศนายพลชื่อไมเคิ้ล โดโมโตวิช (Mikhail Alekseevich Domotovych, Михаил Алексеевич Домонтович) เคยผ่านสมรภูมิในสงครามรัสเซียตุรกี 
แม่ของเธอชื่อว่าอเล็กซานดร้า (Alexandra Masalina-Mravinskaia,  Александра Масалина-Мравинская) เป็นลูกสาวของพ่อค้าไม้ชาวฟินแลนด์

แม่ของเธอเป็นคนที่เจ้าเข้มงวด มีระเบียบ ทำให้โคลลอนไต  สนิทสนมกับพ่อมากกว่าเพราะทั้งคู่สนใจด้านประวัติศาสตร์และการเมืองคล้ายๆ กัน
เธอได้รับการศึกษาอย่างดีจากการเรียนที่บ้านมีความสามารถในการูดได้หลายภาษาและชอบการอ่านหนังสือ
1888  เข้าเรียนที่จิมเนเซี่ยมแห่งหนึ่งในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก , และสมัครเรียนด้านการวาดเขียนไปด้วย
1893 เธอเลือกที่จะแต่งงานกับนายทหารจนคนหนึ่ง ชื่อ วลาดิมีร์ โคลลอนไต(Vladimir Kollontai) แม้ว่าก่อนนั้นจะมีนายทหารระดับสูงหลายคนขอเธอแต่งงาน, วลาดิมีร์นั้นเรียนจบทางวิศวกรรมการทหาร  ทั้งคู่พบกันเมื่อสองสามปีก่อน แต่ว่าแม่และพ่อของโคลลอนไต ไม่เห็นด้วยที่คนทั้งสองจะรักกัน เพราะฐานะของวดาดิมีร์
1984  มีลูกชายชื่อว่ามิคาอิล , หลังมีลูกชาย เธอก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น โดยเริ่มทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือให้กับแรงงานในเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ในช่วงกลางคืน , ทำงานเรียกร้องสิทธิให้กับนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขัง , ช่วงเวลานี้ได้รู้จักอีเลน่า สตาโซว่า (Elena Stasova) ซึ่งใช้ได้เธอคอยแจกใบปลิวที่เขียนบทความที่ผิดกฏหมาย  
1898  เธอทิ้งครอบครัวเพื่อเดินทางไปเรียนต่อ โดยเธอยอมรับว่า “การมีครอบครัวดึงเอาชีวิตและเวลาของเธอไป ฉันอยากจะมีอิสระ เมื่อใดที่ลูกของฉันเข้านอน ฉันมักเดินไปอีกห้องหนึ่งเพื่อใช้เวลาอ่านหนังสือของเลนิน”
 ในสวิส โคลลอนไต สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยซูริคด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งทำให้รู้จักกับศาสตร์จารย์เฮนริช เฮิร์กเนอร์ (Heinrich Herkner) ที่แนะนำให้เธอเดินทางไปศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของในอังกฤษดู ซึ่งโคลลอนไต ก็เดินทางไปอังกฤษ และได้พบกับสมาชิกพรรคแรงงานของอังกฤษ และได้มีโอกาศรู้จักกับ กับซิดนีย์ เว็บบ์(Sidney Webb) และเบียร์ทริค เว็บบ์ (Beatrice Webb)
1899  เดินทางกลับมายังรัสเซียซึ่งช่วงนี้ได้มีโอกาสรู้จักกัเลนิน และเธอได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรค RSDLP ซึ่งตอนนั้นเธอมีอายุ 27 ปี
1901  เดินทางไปยังสวิสเซอร์แลนด์ และได้รู้จักกับ เปลคานอฟ (Georgy Plekhanov)
1903  เมื่อพรรค RSDLP แตกเป็นสองฝ่าย โคลลอนไต ไม่ได้เบือกเข้่าข้างฝ่ายใด เธอบอกว่าทั้งสองฝ่ายมีเพื่อนของเธออยู่ แต่เธอที่สนิทกับเปลคานอฟ ทำให้เธอใกล้ชิดกับเมนเชวิค มากกว่า
1905  เธออยู่บนถนนในเซนต์ปีเตอร์เบิร์กช่วงที่มีการประท้วงครั้งใหญ่ของแรงงานในช่วงเดือนมกราคม (Blood Sunday)
1908 เธอหลบหนีอออกจากรัสเซียไปยังเยอรมัน ไม่นานหลังจากเธอตีพิมพ์หนังสือ (Finland and Socialist, Финляндия и социализм) ซึ่งเนื้อหาเธอเรียกร้องให้ชาวฟินแลนด์ลุกขึ้นมาต่อสู้กับการอยู่ใต้อำนาจของรัสเซีย
 จากเยอรมันเธอยังเดินทางไปอีกหลายประเทศในยุโรปทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ และได้รู้จักกับ โรซ่า ลักเซมเบิร์ก(Loxa Luxembourg) และ คาร์ล เลียบก์เนชต์ (Karl Liebknecht) สองผู้นำแห่งพรรคแรงงานสังคมนิยมเยอรมัน
1914 เธอเดินทางออกจากเยอรมันก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะเวลานั้นเธอไม่เห็นด้วยกับการทำสงคราม
            โคลลอนไต เดินทางต่อไปยังเดนมาร์กและสวีเดน โดยพยายามรณรงค์ต่อต้านสงครามแต่เธอพบว่าผู้คนส่วนมากสนับสนุนการก่อสงคราม 
          ขณะอยู่ในสวีเดนเธอโดนจับ เพราะต่อว่าระบบกษัตริย์และจักรวรรดินิยมว่าเป็นต้นเหตุของสงคราม แต่หลังจากถูกปล่อยตัวก็เดินทางต่อไปนอร์เวย์
1915 เข้าเป็นสมาชิกพรรคบอลเชวิคอย่างเป็นทางการ
1917 เมื่อเกิดการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ เธอยังคงอยู่ในนอร์เวย์ และได้เดินทางกลับรัสเซีย หลังจากเลนินส่งจดหมายไปบอกว่าสามารถเดินทางกลับได้แล้ว 
           มิถุนายน เธอได้รับเลือกตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) ของพรรคบอลเชวิค
           กรกฎาคม ถูกรัฐบาลเฉพาะกาลจับขังคุก เพราะว่าเธอรณรงค์ในหมู่ทหารและแรงงานให้มีการโค่นรัฐบาลเฉพาะกาลตามแผนการของเลนิน แต่ว่าไม่นานเธอหลบหนีออกมาได้ และเดินทางไปอยู่ที่สวีเดน
แต่ว่าเธอกลับมารัสเซียอีกครั้งก่อนการปฏิวัตตุลาคม และได้ร่วมโค่นล้มรัฐบาลเฉพาะการ อยู่ในเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
ช่วงปี 1917 หรือ 1918 เธอเริ่มมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว กับนายทหารเรือหนุ่มปาเวล ไดเบนโก้ (Pavel Dybenko) ซึ่งอายุน้้อยกว่าเธอหลายปี , ในปี 1918 เธอเป็นคนหนึ่งที่คัดค้านการทำสนธิสัญญาสันติภาพ Breat-Litovsk treaty ที่ต้องการให้โซเวียตถอนตัวจากสงครามโลก
1919.  หลังการปฎิวัติในเดือนตุลาคม เธอได้รับผิดชอบงานในกระทรวงสวัสดิการแรงงาน(People’s Commissar for Social Welfare) เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานการก่อตั้งแผนกสตรี (Женотдел ,Women department) ที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสตรีในโซเวียต , 
ในปีนี้เธอนี้ยังได้แต่งงานกับไดเบนโก้  , และได้รับหน้าที่ประธานของแผนกการเมืองในไคเมีย (President of the Political Department of Cirmean Republic) และทำหน้าที่ในการโฆษณาชวนเชื่ออยู่ในยูเครน
ปีนี้เธอมีอาหารป่วยที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและไต ซึ่งเป็นผลจากการป่วยด้วยไข้รากสาดใหญ๋
1920 เธอร่วมกับกลุ่ม Workers’ Opposition ซึ่งเป็นกลุ่มภายในพรรคบอลเชวิคเอง กลุ่มดังกล่าวนำโดยอเล็กซานเดอร์ ชเลียฟนิคอฟ(Alexander Shliapnikov) ผู้นำกลุ่มสหภาพการค้า (Trade Union) กลุ่มดังกล่าได้รับการสนับสนุนจากแรงงานในอุตสาหกรรมเหล็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต้องการเห็นบทบาทของแรงงานและสหภาพแรงงานในการบริหารเศรษฐกิจ และต่อต้านผู้ที่มีอำนาจโดยไม่ได้รับการเลือกตั้ง (bureaucracy) เข้ามามีอำนาจบริหาร
ความสัมพันธ์ระหว่างโคลลอนไต  และชเลียฟนิคอฟ  อาจเคยมีความสัมพันธ์กันแบบชู้สาวตอนที่ทั้งคู่อยู่ในนอร์เวย์
1921 มีนาคม ในการประชุมพรรคครั้งที่ 10  , กลุ่ม Workers’ Opposition ถูกแบนอย่างเป็นทางการ แต่ว่าแกนนำพยายามจะเคลื่อนไหวต่อไป แต่ว่ากลุ่มดังกล่าวถูกกดดันให้ต้องหมดบทบาทจริงๆ ในปี 1922 ซึ่งมีผลกระทบระหว่างความสัมพันธ์ของโคลลอนไต และเลนินอย่างมาก
ในปีนี้เธอเริ่มทำงานให้กับแผนกทางด้านกิจการสตรีขององค์การโคมินเทิร์น (Comintern)
1922 หย่ากับไดเบนโก้ แต่ว่าทั้งคู่ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน 
1923  ได้รับแต่งตั้งเป็นฑูตประจำนอร์เวย์ ทำให้เธอเป็นฑูตหญิคนแรกในยุโรป
1926  ย้ายไปเป็นฑูตในเม็กซิโก
1927  กลับมาเป็นฑูตในนอร์เวย์
1930  เป็นฑูตประจำสวีเดน ซึ่งมีผลงานสำคัญระหว่างสงครามรัสเซียและฟินแลนในปัจจุบัน1939 ซึ่งเธอสามารถโน้มน้าวให้สวีเดนวางตัวเป็นกลางได้
1946 มีอาการป่วยมาก จนต้องนั่งอยู่บนรถเข็น และต้องลาออกจากตำแหน่งด้านนักการฑูต แต่เธอได้มาทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต และเธออยู่ในตำแหน่งจนกระทั้งเสียชีวิต
1952 เสียชีวิตในวันที่ 9 มีนาคม ก่อนจะมีอายุครย 80 ปี ไม่กี่สัปดาห์
Don`t copy text!