Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Rudolf Steiner

รูดอล์ฟ สเตียเนอร์ (Rudolf Joseph Lorenz Steiner)

ผู้ก่อตั้งปรัชญาแอนโธโปโซฟี (Anthroposophy) , Spiritual Science
สเตียเนอร์ เกิดในประเทศออสเตรีย ในวันที่ 25 มิถุนายน 1861 (หรืออาจจะ 27 มิ.ย. ) เป็นลูกของโจฮานน์ (Johann Steiner) ที่ทำอาชีพเป็นผู้ดูแลทุ่งที่ใช้สำหรับล่าสัตว์ (Gamekeeper) แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาทำงานในไร่ของเคาต์โฮโยส (Count Hoyos)ในเมืองกีราส (Geras) ทางเหนือของออสเตรีย  และได้พบกับแม่ของสเตียเนอร์ เป็นหญิงรับใช้ที่ทำงานในบ้านของเคาต์โฮโยส มีชื่อว่า ฟรานซิสก้า เบลีย (Franziska Blie) ต่อมาโจฮานน์ ได้บ้ายไปทำงานเป็นพนักงานส่งโทรเลขของ บ.รถไฟออสเตรียใต้ (Southern Austrain Railway) ซึ่งฟรานซิสก้า ได้ให้กำเนิดสเตียเนอร์ ตอนที่รถไฟจอดที่สถานีกราลเจเวค (Kraljevec) ในเขตมารากอซ (Murakoz Region) ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย แต่ตอนนี้อยู่ในประเทศโครเอเธีย , ก่อนอายุ 2 ขวบเขาย้ายบ้านสองหน ไปอยู่ที่โมดลิง (Mödling) ใกล้กับกรุงเวียนน่า แล้วก็ย้ายอีกไปที่พอตต์แชช (Pottschach) ตะวันออกของออสเตรีย เชิงเทือกเขาแอลป์  และเริ่มเรียนหนังสือในโรงเรียนในหมู่บ้าน แต่ว่าพ่อเขามีปัญหากับครูใหญ่ของโรงเรียน ทำให้สเตียเนอร์ออกจากโรงเรียนมาเรียนอยู่กับบ้าน
1869 ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านนัวดอร์ฟ (village of Neudörfl)
1879 ย้ายมาอยู่ที่อินเซอร์ดอร์ฟ (Inzerdoft)
1880 เข้าเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเวียนนา  (Vienna Institute of Technology) ซึ่งเขาลงทะเบียนเรียนหลากหลายทั้งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี  ปรัชญา ศาสตร์
สเตียเนอร์ เขาได้พบกับคนเก็บสมุนไพร ชื่อเฟริค โกกุซกิ (Felix Kogutzki) ระหว่างที่โดยสารอยู่บนรถไฟจากบ้านเขาไปยังเวียนนา เฟริค พูดคุยกับเขาเกี่ยวกับเรื่องของวิญญาณ และความเชื่อเกี่ยวกับว่ามีจิตอาศัยอยู่ในร่างกาย ทำให้สเตียเนอร์ ทำให้สนใจศึกษาเรื่องนี้มาก และตัวเขาเองมีประสบการณ์ตรงจากการเห็นวิญญาณของผู้หญิงคนหนึ่งที่มาของความช่วยเหลือเขา ซึ่งครอบครัวสเตียเนอร์ ไม่เคยรู้เรื่องการตายของหญิงคนนี้มาก่อนเลย , สเตียเนอร์ เริ่มหันไปสนใจงานเขียนของเกอเธย์ (Goethe) 
1896 เขียนหนังสือที่เกี่ยวกับปรัญชาตามแนวคิดของ เกอเธย์ สองเล่มคือ คือ The Theory of Knowledge Implicit in Goethe’s World Conception 
1888  เขาไปทำงานให้กับครูซเนอร์ (Joseph Kurschner) ซึ่งทำหอจดหมายเหตุ รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกอเธย์  โดยที่ครูซเนอร์ ให้สเตียเนอร์ ทำงานเป็นบรรณาธาการ อยู่ในเมืองเวียมาร์ (Weimar) เขาทำงานอยู่ที่นี่จนกระทั้งปี 1896 , แต่นอกจากงานของเกอเธย์ แล้วเขายังได้รวบรวมผลงานของนักเขียนท่านอื่นๆ อย่าง Arthur Schopenhuaer,  Jean Paul โดยเขียนบทความมากมายเกี่ยวกับนักเขียนเหล่านี้ลงในวารสาร
ระหว่างที่ทำงานที่หอจดหมายเหตุนี้ เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งของตัวเองเสร็จ ชื่อว่า ปรัชญาแห่งเสรีภาพ (The Phioshophy of Freedom, Die Philosophie der Freiheit) ซึ่งมันถูกจัดให้เป็นผลงานที่สำคัญที่สุดที่เขาสร้างขึ้นมา ซึ่งปรัญชาแห่งเสรีภาพ นี้เป็นการค้นพบ แนวคิดแบบอีพิสต์โมโลจี ( Epistemology , กรีก Emisteme ความรู้ , Logos การศึกษา) ซึ่งหมายถึงการศึกษาธรรมชาติขององค์ความรู้ มีคำถามที่สำคัญคือ 1. ความรู้คืออะไร 2. ความรู้ได้มาอย่างไร และ 3. ความรู้นี้ขยายและนำไปสู่อะไรได้บ้าง , แต่ปรัญชาแห่งเสรีภาพ ยังแนะนำความเป็นไปได้สู่หนทางสู่การที่วิญญาณแยกเป็นอิสระ ด้วย
1891 จบปริญญาเอกด้านปรัชญา จากมหาวิทยาลับร็อสต๊อก (Rostock University) ในเยอรมัน โดยวิทยานิพนธ์ที่เขาเขียนในตอนนั้น ถูกขยายความและพิมพ์ในชื่อ Truth and Knowledge
1896  อลิซาเบธ ฟอร์สเตอร์-เนียซเช่ (Elisabeth Förster-Nietzsche) ได้เชิญสเตียเนอร์ ให้ไปทำงานเพื่อทำหอจดหมายเหตุเนียซเช่ (Nietzsche archive)  ในเมืองนวมเบิร์ก (Naumburg) หอจดหมายเหตุแห่งนี้อลิซาเบธต้องการใช้เป็นที่เก็บผลงานของ เฟรนดิช เนียซเช่ (Friedrich Nietzsche) นักปรัชญาที่เป็นพี่ชายของเธอเอง ซึ่งในตอนนั้นเฟรนดิช มีอาการป่วยทางจิต (non compos mentis)  
ระหว่างนี้เขาเริ่มเขียนหนังสือเล่มใหม่ นักสู้เพื่อเสรีภาพ (Fighter for Freedom, Friedrich Nietzsche) 
1897 เขียนหนังสือ  Goethe’s Conception of World  , ในปีนี้เขาย้ายไปยังเบอร์ลิน และได้ทำหนังสือแม็กกาซีนของตัวเองชื่อ Magazin für Literatur (แม็กกาซีนสำหรับวรรณกรรม) โดยที่พยายามเสนอปรัญชาตามแนวคิดของเขาเอง แต่ว่ามันไม่ได้รับความนิยม เท่่าที่เขาต้องการ
1899 แต่งงานกับ แอนนา ยูนิคก์ (Anna Eunicke) แต่ว่าปีต่อมาทั้งคู่ก็หย่าขาดจากกัน และแอนนาเสียชีวิตในปี 1911
สเตียเนอร์ ตีพิมพ์บทความชื่อ Goethe’s Secret Revelation โดยอ้างถึงนิทานของเกอเธย์ เรื่อง The Green Snake and the Beautiful Lily
(งูเขียวกับลิลี่ผู้เลอโฉม) เรื่องของดวงไฟสองดวง (will-o-the-wisp) ที่ต้องการเดินทางข้ามแม่น้ำ พวกเขาพบกับคนแจวเรือ ดวงไฟที่ต้องการข้ามแม่น้ำควักเหรียญทองออกมาจากกระเป๋าแต่มันตกไปบนเรือ จนคนแจวเรือตกใจ บอกว่าถ้าเหรียญตกลงไปในแม่น้ำ แม้น้ำจะล้น , คนแจวเรือจึงเรียกค่าตอบแทนเป็นหัวผักกาด หัวหอม และอาร์ติโชค (ผักชนิดหนี่ง) อย่างละ 3 อัน ดวงไฟสองคนจึงบอกว่าจะกลับไปหาของเหล่านั้นก่อนแล้วจะกลับมา แต่ดวงไฟทั้งสองลืมเหรียญทองไว้บนเรือ แล้วคนแจวเรือก็หยิบเหรียญนั้นขึ้นมา เขาเอามันไปสอดไว้ในร่องหิน ปรากฏว่าต่อมางูเขียวตัวหนึ่งกลืนเหรียญทองคำเข้าไปแล้วก็พบว่าตัวมันเองเรืองแสงได้ งูเขียวตัวนั้นได้เลื้อยต่อไปยังวิหารใต้ดิน มันได้พบกับกษัตริย์ 4 คน คือ ทอง, เงิน, บรอน , และคนที่ผสมขึ้นจากทั้งสามอย่าง
เรื่องราวตัดมาที่ สามีภรรยาคู่หนึ่งที่สูงอายุ พวกเขาได้พบกับเจ้าชายองค์หนึ่งที่กำลังเศร้าสร้อย เพราะว่าเจ้าชายได้พบกับหญิงคนหนึ่งที่สวยงาม เธอชื่อ ลิลี่ … แต่ว่าพระองค์ไม่สามารถเป็นเจ้าของนางได้ เพราะว่าใครก็ตามที่เตะต้องตัวเธอจะต้องตาย 
เจ้างู่เขียวได้แปลงตัวเป็นสะพาน แล้วข้ามแม่น้ำมายังสวนแห่งหนึ่ง ซึ่งเจ้าชายและลิลี่ และสามีภรรยาแก่ และดวงไฟสองดวง กำลังนั่งเศร้าในชะตากรรมของลิลี่ เจ้าชายทนความปรารถนาของหัวใจตัวเองไม่ได้ จึงเข้าไปกอดลิลี่ แล้วพระองค์ก็เสียชีวิต  เจ้างูเขียวจึงเลื้อยเข้ามารัดร่างของเจ้าชาย ดวงไฟ และคนที่เหลือเอาไว้ แล้วพาพวกเข้าข้ามแม่น้ำ โดยให้เดินบนหลังของงูเขียวข้ามไป
พวกเขาข้ามมาถึงยังดินแดนหนึ่ง (Land of the senses) แล้วลิลี่ก็พบกับเจ้าชาย ที่คล้ายอยู่ในภวัง , โดยตอนที่จะออกจากวิหารของดินแดนนี้ เจ้างูได้แปลงร่างเป็นหินล้ำค่า แล้วหล่นลงไปในแม่น้ำ ชายแก่ก็รีบพาคนทีเหลือวิ่งไปที่ประตูวิหารที่ล็อคอยู่ ดวงไฟสองสองจึงช่วยกันกัดสลักของประตูที่เป็นทองคำ จนเปิดออก  … ทันใดนั้นวิหารก็ลอยขึ้นมาเหลือแม่น้ำ ใกล้กับกระท่อมของคนแจวเรือที่ได้กลายมาเป็นแท่นเงิน , กษัตริย์สามองค์ได้ประทานพรบางอย่างจนเจ้าชายนั้นกลับมาเป็นปกติ แต่กษัติรย์องค์สุดท้ายที่เป็นแบบผสมนั้นถูกดวงไฟสองดวงกัดเขาเส้นเลือดทองคำของพระองค์ขาดจนล้มลง … หลังจากนั้นลิลี่เมื่อสัมผัสใครก็ไม่ทำให้ผู้นั้นตายอีก เจ้าชายและลิลี่จึงได้แต่งงานกัน
วิหารที่ลอยขึ้นมาเหนือแม่น้ำนั้น กลับมีสะพานข้ามจากแม่น้ำอย่างถาวรเชื่อมเอาไว้เพราะการเสียสละตัวของงูเขียว จากนั้นวิหารแห่งนี้ก็มีผู้คนมาเยือนอย่างไม่ขาด
บทความของสเตียเนอร์ เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับเชิญให้เข้าไปบรรยายที่สมาคมธีโอโซฟี  (Theosophy Society) เป็นประจำ ซึ่งเป็นสมาคมที่ศึกษาปรัญชาและวิทยาศาสตร์ พยายามหากฏหรือคำอธิบายถึงพลังอำนาจของสติปัญญามนุษย์
1902 เขาได้เป็นหัวหน้าสมาคมธีโอโซฟี  สาขาเยอรมัน แม้ว่าสเตียเนอร์เองไม่เคยจะเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของสมาคม
1912 ประมาณปี 1912 ถึง 13 นี้ สมาคมธีโอโซฟี เกิดความขัดแย้งจนแตกออกเป็นสองฝ่ายอย่างเป็นทางการ เพราะว่าสเตียเนอร์ ปฏิเสธคำสอนของลีดเบียเตอร์ (Charles Webster Leadbeater) กับ บีซานต์ (Annie Besant) ที่บอกว่า กฤษณมูระติ (Jiddu Krishnamurati) เป็นพระเมตตรัย (Maitreya)
สเตียเนอร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกส่วนใหญ่ในเยอรมัน และพวกเขาได้แยกตัวออกมาตั้งกลุ่มใหม่เป็นสมาคมแอนโธรโปโซฟี  (Anthroposophical Society)
1913 เริ่มมีการก่อตั้งอาคารโกเธียนัม (Goetheanum)ในสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งกลายเป็นวิหารศูนย์กลางของผู้ศึกษาแอนโธรโปโซฟี โดยที่สเตียเนอร์เองเป็นผู้ออกแบบ แต่ว่าอาคารหลังแรกสร้างจากวัสดุที่เป็นไม้ โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร ซึ่งการก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากสำบากเพราะเป็นช่วงสงครามโลก 
1914 แต่งงานกับ Marie von Sivers เธอเป็นเพื่อนร่วมงานของเขาในสมาคมธีโอโซฟี ซึ่งทำงานร่วมกันมาหลายปี
ในระหว่างสงครามโลกเขาเสนอแนวคิด  Threefold Social Order – ระเบียบสังคม 3 ประการ ที่ว่าด้วยการให้อิสระอย่างขว้างขวาง กับ ปัจจัย วัฒนธรรม (Culture) การเมือง (Politic) และ เศรษฐกิจ (Economic)  เขาบอกว่าการที่ปัจจัยทั้งสามส่วนถูกควบคุมมากเกินไปนำมาซึ่งหายนะและกลายเป็นสงคราม เขายังเสนอให้ดินแดน ซิเลเซียเหนือ (Upper Silesia) ซึ่งตอนนั้นถูกอ้างกรรมสิทธิจากโปแลนด์และเยอรมัน ให้กลายเป็นดินแดนอิสระ แต่ว่านั้นก็ทำให้สเตียเนอร์ ถูกกล่าวหาว่าทรยศชาติเยอรมัน
1919 สเตียเนอร์ทำงานเผยแผ่แนวคิดปฏิรูปสังคมของเขา อย่างเข้มแข็งในเยอรมัน ออสเตรีย และสวิสเซอร์แลนด์ หนังสือของเขาขายดีกว่าแสนเล่ม แต่ว่านั้นทำให้เขาเสี่ยงอันตราย และถูกโจมตีจากฝ่ายชาตินิยมในเยอรมัน แม้แต่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ก็เขียนโจมตีเขาในปี 1921 ลงในหนังสือพิมพ์  Völkischer Beobachter (Folkish Observer)  หนังสือพิมพ์ของนาซี กล่าวหาว่าสเตียเนอร์ เป็นเครื่องมือของพวกยิว เป็นยิว , ฝ่ายขวาในเยอรมันก็เรียกร้องให้มีการทำสงครามเพื่อต่อต้านสเตียเนอร์  1922 ระหว่าที่เขากำลังบรรยายอยู่ในเมืองมิวนิค มีการขว้างระเบิดไปที่เวที มันเฉียวเขาออกไปด้านหลัง ทำให้รอดตายมาได้ แต่ต้องยกเลิกการเดินสายทั้งหมด 
1923 อาคารโกเธียนัมหลังแรกถูกไฟเผา ในคืนวันปีใหม่ 1922/1923  ทำให้สเตียเนอร์ออกแบบอาหารหลังใหม่ที่สร้างด้วยคอนกรีตขึ้นมาแทน   , ปีนี้เขายังก่อตั้ง School of Spiritual Science ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยค้นคว้าของแอนโธรโปโซฟีที่ครอบคลุมวิทยาศาสตร์หลายด้าน ทั้งสังคม,ธรรมชาติ, วรรณกรรม และมีการเรียนก็เน้นเรื่องการทำสมาธิ เพื่อค้นหาร่างวิญญาณภายในตัวเอง
8-9 พฤศจิกายน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พยายามก่อการรัฐประหาร ในเหตุการณ์รัฐประหารโรงเบียร์ (Beer Hall Putsch) , สเตียเนอร์ได้พยายามเตือนสังคมให้รับรู้ว่าหากนาซีมีโอกาสครองอำนาจในเยอรมันแล้ว ทั่วยุโรปจะต้องเผชิญกับหายนะ 
1924 กันยายน สเตียเนอร์สอนหนังสือให้กับสมาชิกเป็นครั้งสุดท้าย เพราะสุขภาพที่ไม่ดีมากว่าปี 
1925 30 มีนาคม 1925 เขาเสียชีวิต ช่วงเวลาสุดท้ายนั้นเขาพยายามเขียนหนังสือชีวประวัติของตัวเองอยู่
1928 อาคารโกเธียนัม หลังใหม่สร้างเสร็จหลังจากสเตียเนอร์เสียชีวิตไปแล้ว 3 ปี ตลอดชีวิตของเขาออกแบบอาคารไว้ 17 หลัง ชื่อ โกเธียนัมนั้นเป็นของอาคารหลังแรกและหลังที่ 2 ที่สร้างทดแทนเท่านั้น ในฐานะศูนย์กลางของ Spiritual Science
Don`t copy text!