Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Catherine II The Great

Catherine II The Great, Fyodor Rokotov
แคทเธอรีน ที่  2 มหาราช (Екатерина II Великая)

 โซเฟีย ออกัสต้า (Sophia Frederica Augusta) ชื่อเล่นฟิกเชน (Figchen) เกิดในประเทศเยอรมัน เมื่อวันที่  21  เมษายน1729 ( 2 พฤษภาคม, N.S. )   เธอเป็นลูกของเจ้าชาย คริสเตียน ออกัส (Chirstian August) เจ้าชายแห่งอันฮาลต์-เซิร์บสก์ (Anhalt-Zerbst) ซึ่งเป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารหนึ่งในปรัสเซีย และเป็นผู้ว่าของเมืองสเตตติน เมืองศูนย์กลางของโปเมเรเนีย (Stettin, Pomerania ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์) ซึ่งเป็นเมืองที่โซเฟียเกิด ครอบครัวของเขาแม้ว่าจะมีฐานะเป็นเจ้าชายแต่ก็ไม่ได้มีฐานะที่ร่ำรวย

ส่วนแม่คือ โจฮานน่า อลิซาเบธ (Johanna Elizabeth, Holstein-Gottorp)  เจ้าหญิงแห่งโฮลสไตน์-กอตตอร์ป 
แคทเธอรีนเป็นลูกสาวคนโต ในพี่น้องทั้งหมดห้าคน 
แคทเธอรีนเป็นคนฉลาด เธอเริ่มเรียนภาษาฝรั่งเศส และชอบงานเขียนของโวลแตร์ (Voltaire) , ไดเดร็อต (Diderot)
1743 โจฮานน่า พาโซเฟีย เข้าสู่นิกายลูเธอลัน 
1744 แม่ของโซเฟีย ได้รับคำเชิญจากจักรพรรดินี อลิซาเบธ แห่งรัสเซียให้เดินทางไปเยือนรัสเซียพร้อมลูกสาว ซึ่งเป็นการเตรียมที่จะให้โซเฟียแต่งงานกับเจ้าชายปีเตอร์ (Peter Fedorovich of Holstein-Gottorp) ซึ่งเป็นหลานของอลิซาเบธและโจฮานน่า
 โซเฟียนั้นเคยพบหน้ากับปีเตอร์มาก่อนหน้านี้แล้วตอนที่เธออายุ 10 ขวบและเธอบอกว่าไม่ชอบปีเตอร์มาตั้งแต่นั้นเพราะว่าแม้เขาจะยังเด็กแต่ก็ติดเหล้าอย่างหนัก 
  26 มกราคม เดินทางมาถึงยังรัสเซียแล้ว
 28 มิถุนายน โซเฟีย ได้เข้าพิธีเปลี่ยนมานับถือนิกายรัสเซียนออโธดอกซ์ และเปลี่ยนชื่อมาเป็นแคทเธอรีน (Catherine) 
1745 21 สิงหาคม (1 กันยายน N.S.) เข้าพิธีแต่งงาน ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ขณะนั้นโซเฟียมีอายุ 16 ปี ส่วนปีเตอร์นั้นแก่กว่าเธอหนึ่งปี  , ในพิธีแต่งงานนี้พ่อของโซเฟียไม่มาร่วมงานด้วยเพราะโกรธที่เธอเปลี่ยนนิกาย , หลังการแต่งงานทั้งคู่อาศัยอยู่ที่ปราสาทโอราเนียบัม (Oranienbaum palace) ริมอ่าวฟินแลนด์ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก 
แต่ว่าชีวิตแต่งงานของปีเตอร์กับแคทเธอรีนไม่มีความสุข ปีเตอร์บอกกับแคทเธอรีนตั้งแต่วันที่แต่งงานว่าเขาไม่ได้รักเธอ แต่แต่งงานตามคำสั่งของอลิซาเบธ เมื่อแต่งงานไปไม่นานก็พบว่าทั้งคู่ต่างก็นอกใจซึ่งกันและกัน ปีเตอร์นั้นมีความสัมพันธ์กับอลิซาเบธ โวรอนต์โซว่า (Elizebeth Vorontsova) อย่างเปิดเผย  ส่วนแคทเธอรีน ก็ไปมีความสัมพันธ์กับชายหลายคน 
1754 20 กันยายน (1  ตุลาคม N.S. )แคทเธอรีนให้กำเนินลูกคนแรง พอล (Paul) ซึ่งบางคนเชื่อว่าพ่อของเด็กที่แท้จริงคือ  เจ้าชาย เซอร์เกย์ ซัลตูกอฟ (Sergey Saltykov, Prince of Chamberiain)
1758 9 ธันวาคม (20 ธันวาคม N.S.)ให้กำเนิดเจ้าหญิง แอนน่า (Anna) แต่ว่ามีอายุได้เพียงแค่สี่เดือนก็เสียชีวิต ในขณะที่ปีเตอร์เองไม่เชื่อว่าแอนน่าเป็นลูกของตน
ความสัมพันธ์ของแคทเธอรีน กับเจ้าซายสตานิสลาฟ ซึ่งต่อมากลายเป็นกษัตริย์ของโปแลนด์ (Stanislaw August Poniatowski ,King of Poland 1764)  ลือกันว่ามีลูกด้วยกันสองคน เป็นหญิงและชาย แต่ว่าเด็กมีอายุได้คนละสิบหกเดือนก่อนเสียชีวิต สาธารณชนจึงไม่ทราบ
1774 ลือกันแคทเธอรีนแต่งงานอย่างลักๆ กับกริกอรี่ โปเต็มกิ้น (Grigory Potemkin
Platon Zubov 
1761  25 ธันวาคม (5 มกราคม 1762 N.S.) ,พระจักรพรรดินีอลิซาเบธ สวรรคต เจ้าชายปีเตอร์ ได้สืบทอดราชบัลลังค์ กลายเป็นจักรพรรดิปีเตอร์ ที่ 3 (Emperor Peter III) , แคทเธอรีนจึงได้กลายเป็นจักรพรรดินี  แต่ว่าแคทเธอรีน เองได้รับคำเตือนจากคนใกล้ชิดว่าจักรพรรดิปีเตอร์อาจจะหย่าจากเธอ , คนใกล้ชิดแนะนำให้เธอรีบหนีไป 
หลังจากปีเตอร์ครองตำแหน่ง ทรงมีนโยบายที่แข็งกร่าวต่อรัฐบาล กองทัพและโบสถ์ จนทำให้มีฝ่ายที่ต่อต้านพระองค์พยายามที่จะก่อการปฏิวัติ และจะแต่งตั้งเจ้าชายพอล พระโอรสให้ครองราชย์แทน
1762 22 เมษายน แคทเธอรีนให้กำเนิด อเล็กซีย์ โบบรินสกี (Alexey Bobrinsky) ลูกของเธอกับกริกอรี ออร์ลอฟ (Grigory Orlov
28 มิถุนายน (9 กรกฏาคม N.S.)  ปฏิวัติ ! แคทเธอรีน ร่วมมือกับ กริกอรี ออร์ลอฟ เคลื่อนกองทัพเข้ามาในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก , จับจักรพรรดิปีเตอร์ ซึ่งยังอยู่ในโอราเนียนบัม และบังคับให้พระองค์ลงนามสละราชสมบัติ หลังจากนั้นจักรพรรดิปีเตอร์ถูกขังและพยายามขอเดินทางออกจากรัสเซีย ปีเตอร์ ที่ 3 เสียชีวิตอย่างปริศนา ใ ภายในพระราชวังรอฟชา (Ropsha Palace)
เหตุผลหนึ่งที่ใช้ในการทำการปฏิวัติคือการที่ปีเตอร์ตั้งใจจะเป็นพันธมิตรกับปรัสเซีย เพื่อรบกับเดนมาร์ก ซึ่งตอนนั้นเดนมาร์กเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย แต่รัสเซียกับปรัสเซียในกำลังทำสงคราม 7 ปี กันอยู๋ (Seven Years’ War) ปีเตอร์ประกาศยึดทรัพย์สินของโบสถ์ในรัสเซีย และตั้งใจเปลี่ยนไปเป็นแคทธอริก 
22 กันยายน (3 ตุลาคม N.S) แคทเธอรีน เข้าพิธีปราบดาภิเษกในมอสโคว์  เป็น จักรพรรดินี แคทเธอรีน ที่ 2 ภายในวิหารดอร์มิชั่น (Dormition Catherdral) 
1764 เร่ิมการปฏิรูป Enlightened despots (1764-1768) ตามแนวคิดของมองเตสกิเออร์ โดยทรงปรับปรุงสภาซีเนต (Senate) เสียใหม่ให้มี 6 แผนก ด้านกฏหมาย ด้านกิจการภายใน ด้านการบริหารจังหวัดต่างๆ ด้านกองทัพ ด้านการบริหารมอสโคว์ ด้านยุติธรรม
ทรงยกเลิกการปกครองตัวเองของชาวคอสแซคในยูเครนตอนใต้ 
แคทเธอรีนสนับสนุนให้โบเนียตอฟสกี อดีตคนรักของเธอขึ้นเป็นกษัตริย์คนใหม่ของโปแลนด์
สร้างพิพิธภัณฑ์เฮอมิเทจ (Hermitage Musuem)
1765 ก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเสรี (Free Economic Society) เพื่อโปรโมทตลาดเสรี , ทรงประกาศลดภาษีลง และพยายามกำจัดการผูกขาดการค้า 
1767 ทรงแต่งตั้งคณะทำงานด้านการปฏิรูปกฏหมาย (Legislative Commission) เพื่อปรับปรุงกฏหมายที่ล้าสมัย โดยที่คณะกรรมชุดนี้มาจากหลายชนชั้นในสังคม มีสมาชิก 600 คนมาจากการเลือกตั้ง แบ่งสัดส่วนตามแต่ละคนชั้น ตั้งแต่ขุนนาง จนถึงประชาชนทั่วไป และทาส  แต่ว่าคณะกรรมการชุดนี้ทำงานไม่ได้เรื่อง เพราะมัวแต่หาผลประโยชน์ให้ฝ่ายตน จนทำใ้หในปลายปีถัดมาก็ถูกยกเลิก 
1768 สงครามรัสเซียกับออตโตมาน (Russia-Turkish War, 1768-1774) โปแลนด์หันไปร่วมมือกับออตโตมานในการลดอิทธิพลของรัสเซียในโปแลนด์ ส่วนรัสเซียได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ  
1769 มีการก่อตั้งธนาคาร Assignation Bank ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก และพิมพ์ธนบัตรกระดาษออกมาใช้เป็นครั้งแรก, มีการตั้งเหรียญ Order of St.George
1771 ผนวกดินแดนคามิเกีย (Kalmyk Khanate) 
1772 รัสเซียและออสเตรีย แบ่งดินแดนบางส่วนของโปแลนด์  (First Partition of Poland)
1774 หลังทำสนธิสัญญาสันติภาพกับอ๊อตโตมาน  (Kuchak Kainarji Treaty) ผลของสงครามทำให้รัสเซียได้ครองครองดินแดนตอนใต้ของยูเครน ไครเมีย และคอเคซัสตอนเหนือ รัสเซียได้ดินแดนขยายไปจนถึงชายฝั่งของทะเลดำเป็นครั้งแรก ทำให้เรือสินค้าของรัสเซียสามารถแล่นผ่านทะเลดำ
ช่วงเวลานี้เกิดการลุกฮือของชาวนาคอสแซค นำโดยปูกาเชฟ (Temelyan Pugachev) นำชาวคอสแซคบริเวณแม่น้ำเยียก (Yaik river) ลุกฮือต่อต้านแคทเธอรีน โดยปูกาเชฟ ซึ่งเป็่พ่อค้าที่ร่ำรวย อ้างตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิปีเตอร์ ที่ 3 ต่อมาการลุกฮือเกิดขึ้นตลอดลำน้ำโวลก้า มีผู้สนับสนุนปูกาเชฟหลายหมื่นคน และต้องการที่จะบุกมอสโคว์ แต่ว่าแคทเธอรีนสามารถปราบการกบฏครั้งนี้ได้ในช่วงปลายปีถัดมา พระองค์เปลี่ยนชื่อแม่น้ำเยียก ใหม่เป็นยูราล (Ural river)
1775 ให้กำเนิดอลิซาเบธ เตมกิน่า (Elizabeth Temkina) เชื่อว่าเป็นลูกของแคทเธอรีน กับ เจ้าชายกิรกอรี่ โปเตมกิ้น (Grigory Potemkin)
1782 แบ่งไซบีเรียใหม่ออกเป็นสามส่วน คือ โตโบลส์ก, โคลีวาน, เอกุสต์ (Tobolsk, Kolywan, Irkutsk) และแบ่งเอสตัวเนียและลิโวเนีย (Estonia, Livonia) เป็นสองเขต ริก้า และเรเวล (Riga, Revel)
ปีนี้มีการตั้งเหรียญตรา Order of St. Vladimir
1783 9 เมษายน , รัสเซียผนวกคาบสมุทรไครเมีย (Crimena peninsula) เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ 
1787 ตุรกีประกาศสงครามกับรัสเซียอีก 
1792 รัสเซียมีชัยชนะเหนือตุรกี และทำสนธิสัญญาแจซซ๊ (Treaty of Jassy) เพื่อยุติสงคราม ทำให้รัสเซียได้ดินแดนแถบทะเลดำเพิ่มขึ้น 
1793 Second Partition of Poland รัสเซียได้พื้นที่มาอีกกว่า 3 แสนตารางกิโลเมตร
1795 Third Partition of Poland  การแบ่งดินแดนโปแลนด์ครั้งสุดท้ายโดยรัสเซีย และออสเตรีย เป็นผลให้เครือจักรภพ โปแลนด์-ลิธัวเนีย (Polish-Lithuanian Commonwealth) สิ้นสุด
1796 เสียชีวิต 6 พฤศจิกายน (17 พฤศจิกายน N.S.)  ตอนเช้า 9.45 นาฬิกา ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก 
พระศพถูกฉลองพระองค์ด้วยมงกุฏทองคำและชุดสีเงิน และถูกเผาที่วิหาร Peter and Paul 
Don`t copy text!