Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

October Revolution

ปฏิวัติตุลาคม (Октябрьская Революция)

ชื่อทางการ The Great October Socialist Revolution (Великая Октябрьская социалистическая революция)
การปฏิวัติกุมภาพันธ์ (February Revolution) เป็นการสิ้นสุดระบบกษัตริย์ในรัสเซีย 
27 กุมภาพันธ์ (12 มีนาคม)  ก่อตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล (The Provisional Goverment) โดยกริกอรี่ ลโวฟ (Prince Georgy Lvov) เป็นนายกรัฐมนตรี และในวันเดียวกันนี้ฝ่ายซ้าย ได้ก่อตั้ง เปโตรกราสโซเวียต (Petrograd Soviet) อำนาจในรัสเซียแบ่งออกเป็นสองขั่ว
2 มีนาคม (15  มีนาคม)  เปโตรกราสโซเวียตยอมให้รัฐบาลเฉพาะกาลจัดตัั้งคณะรัฐมนตรี โดยที่ Alexander Kerensky เป็นนายกคนแรก
10 มีนาคม เปโตรกราสโซเวียต ออกแถลงการณ์ To the people of the World  (К народам всего мира)
3 เมษายน (16 เมษายน) ก่อนเวลาเที่ยงคืน ณ.สถานีฟินแลนด์ (Finland Station ในเปโตรกราด) ขบวนรถไฟพิเศษจากเยอรมัน ซึ่งเลนินโดยสารมา เทียบท่าที่ชานชลา โดยมีประชาชนมากมายรอต้อนเรา   , เลนิน ประกาศ แผนเมษายน (April Thesis, 4 เมษา) เรียกร้องให้มีการโค่นรัฐบาลเฉพาะกาล โดยกล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลของพวกนายทุนและชนชันสูง 
20 เมษายน  มิลยุกอฟโน๊ต (Milyokov Note), จดหมายการติดต่อของมิลยุกอฟ (Pavel Milyukov) รัฐมนตรีต่างประเทศ ในรัฐบาลเฉพาะกาล ไปยังประเทศพันธมิตร ว่ารัสเซียจะร่วมรบต่อไปในสงครามมโลก สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน  มีแรงงานและทหารจำนวน 1 แสนคน ซึ่งนำโดยบอลเชวิคเดินขบวนประท้วง ด้วยสโลแกน Down With War, Down With The Provisional Government , All Power to the Soviets เกิดการประทะกันโดยใช้อาวุธหน้าพระราชวังมารินนินสกี (Marininsky Palace) ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาลเฉพาะกาล การปะทะเกิดขึ้นนานสองวันจึงยุติ
การประท้วงทำให้ มิลยุกอฟ , กุชกอฟ (Guchkov, รัฐมนตรีกองทัพเรือ Secretary of the Nava) ถูกปลดออกจากรัฐบาลเฉพาะกาล  และมีการเชิญให้เปโตรกราดโซเวียตส่งตัวแทนร่วมรัฐบาล
5 พฤษภาคม เปโตรกราดโซเวียตตอบรับคำเชิญ หลังจากมีการประชุมถกเถียงกันเองภายในอย่างหนัก SRs, และ เมนเชวิค ส่งตัวแทนเข้าร่วมรัฐบาลผสม โดย 
อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Alexander Kerensky) เป็นรัฐมนตรีสงคราม (Minister of War) 
วิคเตอร์ เชอร์นอฟ (Victor M. Chernov) (SRs) รัฐมนตรีเกษตร
อิรักลิ เซเรเตลิ (Iraki Tsereteli) รัฐมนตรีไปรณีย์และโทรเลข (Mensheviks)
แมตเวย์ สโกเบเลฟ (Matvey Skobelev) รัฐมนตรีแรงงาน (Mensheviks, Petrograd Soviet)
อเล็กซี เปชโคนอฟ (Alexey Peshekhonov) รัฐมนตรีอาหาร  (Social Revolutionaries,SRs)
หลังจากนั้นมีการออกกฏหมาย ใหม่อนุญาติให้มีการชุมนุม การกำหนดชั่วโมงทำงานแปดชั่วโมง ห้ามการใช้แรงงานเด็ก 

3 มิถุนายน (16 มิถุนายน) การประชุม All-Russian Congress of Soviets of of Workers ‘and Soldiers’ Deputies ครั้งที่ 1 ,  พรรคบอลเชวิคส่งตัวแทนเข้าประชุม  105 คน พรรคเมนเชวิค ส่งตัวแทน 248 คน และพรรค SRs 285 คน   ในที่ประชุมมีการเรียกร้องให้ฝ่ายโซเวียตยึดอำนาจรัฐบาลเฉพาะกาล แต่ว่าเสียงส่วนใหญ่ ที่ถูกเรียกว่าเป็นพวกฝ่ายขวา right-wing SRs ยังคงสนับสนุนรัฐบาลเฉพาะกาล 
18 มิถุนายน (1 กรกฏาคม) มีการเดินประท้วงโดยแรงงานและทหารราว 5  แสนคนในเปโตรกราด  นำโดยบอลเชวิคซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ชุมนุมยังคงใช้สโลแกน  Down with War, Down with the ten capitalist ministers รัฐบาลเฉพาะกาลส่งทหารเข้าปราบปราม แต่ว่าไม่สามารถหยุดผู้ชุมนุมได้
2 กรกฏาคม  (15 กรกฏาคม) รัฐบาลผสมล่ม รัฐมนตรี 4 คนจากพรรคคาเด็ตออกจากรัฐบาล 
3 กรกฏาคม (16 กรกฏาคม)  ทหารจากค่ายในเปโตรกราดพร้อมอาวุธ ชุมนุมด้วยสโลแกน  All power to the Soviets , Down with the capitalist ministers พวกเขาล้อมพระราชวังทูไรด์ (Tauride Palace) เพื่อปกป้องที่ทำการคณะกรรมการกลาง (Central Executive Committee) ของฝ่ายโซเวียต
4 กรกฏาคม ทร็อตสกี (Trotsky), คาเมนเนฟ (Kamenev), ซิโนเวียฟ (Zinoviev) เรียกร้องให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปก่อน  ซึ่งผู้ชุมนุมยอมสลายตัว แต่ยังคงเรียกร้องให้ฝ่ายโซเวียตตัดสินใจเกี่ยวกับการยึดอำนาจ 
7 กรกฏาคม (20) นายกรัฐมนตรี ลโวว (Prince Lvov) ลาออก มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่  รัฐบาลเฉพาะกาลออกหมายจับเลนิน 
เคเรนสกี , เป็นนายกรัฐมนตรี
Social Revolutionaries , Mensheviks ร่วมรัฐบาล ทำให้สองขั่วอำนาจในรัสเซียกลายเป็นขั่วเดียวกัน แต่ฝ่ายบอลเชวิคและแรงงานจำนวนมากรู้สึกว่า เมนเชวิคและ SRs ทรยศ 
Republic of Soviets 
26 กรกฏาคม-3 สิงหาคม (8-16 สิงหาคม) เปิดการประชุมใหญ่พรรค RSDLP (ซึ่งมีแต่บอลเชวิค) ครั้งที่  6 กึ่งทางการ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เข้าประชุมเป็นบอลเชวิค ในเปโตรกราด ผู้เข้าประชุม 2.4 แสนคน เลนินปรากฏตัวร่วมประชุม ในที่ประชุมอนุมัติให้มีการเตรียมใช้อาวุธเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเฉพาะกาล สร้าง Dictatorship of the proletariat 
25 สิงหาคม (7 กันยายน)  Konrilov Affair  , เหตุการณ์สับสนว่า นายกรัฐมนตรีเคเรนสกี ได้สั่งให้คอร์นนิลอฟ (Lavr Kornilov) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เคลื่อนกำลังทหารม้า หน่วยที่  3 (3rd Cavalry Corps) มายังเปโตรกราดหรือไม่   โดยเคเรนสกีอ้างว่าบอลเชวิคกำลังวางแผนที่จะทำการปฏิวัติ ให้คอร์นนิลอฟนำทหารเข้ามาเพื่อเป็นการป้องกัน แต่ต่อมาเคเรนสกีกลับกลัวว่าคอร์นนิลอฟ จะทำการปฏิวัติรัฐบาลของเขา จึงได้มีการสั่งปลดเขาจากตำแหน่ง คอร์นนิลอฟ ปฏิเสธคำสั่งปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาเองก็ตัดสินใจที่จะล้มรัฐบาลเคเรนสกีในวินาทีสุดท้าย แต่ว่าการพยายามปฏิวัติของเขาล้มเหลว 
26 สิงหา คอร์นนิลอฟ ถูกปลด
28 สิงหา เรือรบออโรร่า (Aurora) นัยว่าถูกส่งมาปกป้องพระราชวังฤดูหนาว (Winter Palace) ที่ทำการใหม่ของรัฐบาลเฉพาะกาล แต่ว่าทหารบนเรื่อเหล่านี้ให้การสนับสนุนฝ่ายบอลเชวิค 
31 สิงหา (12 กันยายน) เปโตรกราดโซเวียตเรียกร้องให้มีการถ่ายโอนอำนาจมาที่ฝ่ายโซเวียต
1 กันยายน  (13 กันยายน) กฏหมายลงนามโดยเคเรนสกี นายกรัฐมนตรี , และ อเล็กซานเดอร์ ซารัดนี (Alexander Zarudny) รัฐมนตรียุติธรรม รัสเซียประกาศตัวเองเป็นสาธารณรัฐ (Russia Republic)
5 กันยายน (18 กันยายน) 
14 กันยายน  (27 กันยายน) จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly) โดยใช้ระบบการเลือกตั้ง เลือกตัวแทนเข้ามา 715 คน มีผู้มาใช้สิทธิน้อยกว่า 50%  ผลคือ พรรค SRs ได้ที่นั่งสวนใหญ่ 370 ที่นั่ง , บอลเชวิคได้ 175 คน, Left SRs 40  คน, Cadets 17 คน, เมนเชวิค 16 คน, และ 86 คนจากกลุ่มอื่นๆ 
รัฐบาลเฉพาะกาลจัดให้มีการประชุมประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย (All-Russian The Democratic Conference) ที่โรงละครอเล็กซานดร้า (Alexandra Theatre) ระหว่าง 14-22 กันยายน (27 กันยายน- 5 ตุลาคม) โดยมีตัวแทนพรรรคและองค์กรสาธารณะเข้าร่วม 
20 กันยายน (3 ตุลาคม) มีการจัดตั้ง รัฐสภาเฉพาะกาล (Pre-Praliament, หรือ Interim Council of the Russian Republic) ซึ่งเป็นผลจากการประชุมประชาธิปไตยฯ 
25 กัยนายน  (8 ตุลาคม) รัฐบาลผสมชุดใหม่  มีรัฐมนตรีจากกลุ่มนายทุก 6 คน และ 10 คนเป็นฝ่ายสังคมนิยม 
29 กันยายน (12 ตุลาคม) Operation Moonsund ของทหารเรือเยอรมัน  สามารถยึดหมู่เกาะ Moonsund Archipelago ของฝ่ายรัสเซียและทำลายกองทัพเรือในอ่าวริก้า (Gulf of Riga) ฐานทัพเรือกของกองทัพเรือบอลติก (Baltic Fleet) ซึ่งเป็นกำลังสนับสนุนบอลเชวิค  รัสเซียสูญเสียเรือ Slava, Grazhdanin 
7 ตุลาคม (20 ตุลาคม) บอลเชวิค ประกาศลาออกจากรัฐสภา
9 ตุลาคม (22 ตุลาคม)  เปโตรกราดโซเวียตจัดตั้ง Comiittee of Revolutionary Defense เพื่อปกป้องเมืองหลวง หากำลังและอาวุธเพื่อป้องกันเยอรมัน ซึ่งเป็นโอกาสให้ฝ่ายคนของบอลเชวิคสามารถครอบครองอาวุธได้อย่างถูกกฏหมาย 
10 ตุลาคม (23 ตุลาคม) Central Committee ตกลงวาระในการทำการปฏิวัติ ที่ประชุมลงมติด้วยคะแนนเสียง  10 ต่อ 2 (Kamenev, Zinoviev) รับขอเสนอของเลนิน 
16 ตุลาคม (29 ตุลาคม) ที่ประชุมของเปโตรกราดโซเวียต ได้จัดตั้งตั้งคณะกรรมการทหารเพื่อการปฏิวัติ (Military Revolutionary Committee, MRC) เพื่อเป็นองค์กรหลักในการควบคุมบัญชาการการปฏิวัติ โดยที่ทร็อตสกีเป็นประธาน , ในที่ประชุมยืนยันแผนการปฏิวัติ
ปฏิวัติตุลาคม…..
24 ตุลาคม (6 พฤศจิกายน) 
รัฐบาลเฉพาะกาลสั่งปิดหนังสือพิมพ์ของบอลเชวิค แต่ปรากฏว่าไม่กี่ชั่วโมงหลังถูกสั่งปิด หนังสือพิมพ์กลับเปิดขึ้นมาได้ใหม่
ช่วงเวลาบ่ายรัฐบาลเฉพาะกาลพยายามยกสะพานข้ามแม่น้ำเนวาขึ้นเพื่อตัดการจราจร แต่ว่า RMC ส่งทหารเข้าไปยึดสะพานได้ 
โรงเรียนเตรียมทหาร Pavlovsk, Nikolaev, Vladimir Knostantinovsky cadet schools ถูกผู้ปฏิวัติล้อมเอาไว้เพื่อไม่ให้มาช่วยรัฐบาล 
17.00 สำนักข่าวหลายแห่งถูกผู้ประท้วงยึด
18.00 ทหารเรือจากคอนสแต็ดท์ เดินทางมาถึงเปโตรกราด
19.00 เลนิน อยู่ที่สถาบันสโมลนี (Smolny Institute) ศูนย์บัญชาการใหญ่ของการปฏิวัติ 
 25 ตุลาคม (7 พฤศจิกายน) รุ่งเช้า ทั้งกรุงเปโตรกราดตกอยู่ในมือของฝ่ายบอลเชวิค เหลือเพียงที่พระราชวังฤดูหนาวที่ทำการของรัฐบาลเฉพาะกาลเท่านั้นที่ยังมีทหารคอยดูแล รัฐบาลเฉพาะกาลสูญเสียอำนาจ อย่างสิ้นเชิง โดยที่การปฏิวัติเป็นไปด้วยความสงบ ไม่ได้เกิดการปะทะกันรุนแรง ทั้งเมืองเปโตรกราดมีแต่ฝ่ายซ้าย รอบพระราชวังฤดูหนาว ที่มีทหารราว 400 นาย จากหน่วย Peterhof school warrant  และทหารหญิง 200 คน จากหน่วย shock troopers ที่ปกป้องรัฐบาลเฉพาะกาล 
01.25 ผู้ประท้วงยึดสำนักงานไปรษณีย์ และสถานีไฟฟ้า
03.30 เรือรบออโรร่า เดินทางมายังสะพานนิโคลัส ใกล้กลับพระราชวังฤดูหนาว
06.00 ทหารเรือยึดธนาคารและหนังสือพิมพ์ของรัฐ
นายกรัฐมนตรีเคเรนสกี เดินทางด้วยรถยนต์ติดธงชาติสหรัฐออกจากเปโตรกราส พยายามที่จะหาผู้ที่สนับสนุนตน 
10 a.m.  MRC ออกแถลงการณ์ To the Citizens of Russia ประกาศว่ารัฐบาลเฉพาะกาลถูกโค่นลงแล้ว และอำนาจเป็นของ MRC
To the Citizens of Russia
The interim government has been overthrown.  Government passed into the hands of the organ of the Petrograd Soviet of Workers ‘and Soldiers’ Deputies, the Military Revolutionary Committee, which heads Petrograd proletariat and garrison.
The cause for which people have fought immediate offer democratic peace, the abolition of landed property, workers’ control, the creation of the Soviet Government – the case provided.
Long live the revolution of workers, soldiers and peasants!
The Military Revolutionary Committee , the Petrograd Soviet Workers ‘and Soldiers’ Deputies.
October 25, 1917 10 am.
2.35 p.m.   เลนินกล่าวกับที่ประชุมร่วมกับ MRC ถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องก่อการปฏิวัติ 
22.40 เปิดการประชุม All-Russian Congress of Soviets of Workers ‘and Soldiers’ Deputies  ครั้งที่ 2 โดยที่ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่เป็นพวกฝ่ายาซ้ายและสมาชิกของบอลเชวิค ในขณะที่ SRs ฝ่ายขวา ประท้วงการปฏิวัติจึงไม่เข้าร่วมประชุม 
ฝ่ายบอลเชวิคยึดพระราชวังมารินสกีไว้ได้ 
21.45 เรือออโรร่า (Aurora) ยิงปืนใหญ่ เพื่อเป็นการให้สัญญาณในการบุกพระราชวังฤดูหนาว 
ในช่วงกลางคือ สมาชิกของพรรค SRs ฝ่ายขวา ต่อต้านบอลเชวิค จัดตั้งคณะกรรมการปกป้องแผ่นดินและการปฏิวัติ (Committee to Save the Homeland and the Revolution) โดยมี วลาดิมีร์ เซนซินอฟ (Vladimir Zenzinov) , นิโคไล อัคเซนเตียฟ (Nikolai Avksentiev) , อัฟราม ก๊อตส์ (Avram Gots) พวกเขาออกใบปลิวประณามบอลเชวิคที่โค่นล้มรัฐบาลที่ถูกต้องของรัสเซีย และเรียกร้องให้ฝ่ายต่อต้านรวมตัวกันในมอสโคว์  ซึ่งการปะทะกันในมอสโคว์ดุเดือดแตกต่างจากในเปโตรกราด มีคนเสียชีวิตกว่าพันคนในช่วงสองสามวันของการปฏิวัติ 
 
26 ตุลาคม (8 พฤศจิกายน)
2 a.m. ไม่กี่ชั่วโมงหลังเรือออโรร่าให้สัญญาณ ทหารเรือจากกองทัพเรือบอลติก นำโดย วลาดิมีร์ แอนโตนอฟ-ออฟซีโก้ (Vladimir Antonov-Ovseeko) ก็สามารถควบคุมพระราชวังฤดูหนาวได้ และจับรัฐมนตรีของรัฐบาลเฉพาะกาลไว้
ที่ประชุมของ All-Russian Congress of Soviets of Worker ‘and Soldiers’ Deputies เริ่มจัดตั้งรัฐบาล   มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการกลาง (Russian Central Executive Committee) ขึ้นเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดขององค์กร โดยที่ Kamenev เป็นประธาน 
หลังจากนั้นสภารัสเซียคอนเกรส ได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี  (The Council of People’s Commissars) โดยที่ เลนิน รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรก
เลนิน ตรากฤษฏีกาสันติภาพ (Decrees on Peace) และกฤษฏีกาที่ดิน (Decree on Land) โดยที่กฤษฏีกาที่ดินประกาศให้ที่ดินกลายเป็นสมบัติของรัฐ ยึดทรัพย์สินที่เป็นของศาสนจักร, นายทุน , บ้านซึ่งแรงงานชาวไร่ชาวนาเช่าอาศัยอยู่ให้กลายเป็นทรัพย์สินของพวกเขาทันที่ โดยเจ้าของที่ดินเดิมไม่ได้รับการชดเชย 
หลัง การปฏิวัติตุลาคมนำรัสเซียเข้าสู่สงครามกลางเมือง 1918-1920 กองทัพที่ใหญ่ที่สุดที่ต่อต้านบอลเชวิคคือกองทัพอาสาสมัคร(Volunteer Army) ของนายพลคอร์นิลอฟ (Lavr Kornilov) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เครินสกี นายกรัฐมนตรีที่โดนปลดหนึ่งไปยังกองกำลัง  3rd Corps ของนายพลปีเตอร์ กรานอฟ (Pyotr Kranov), นายพลนิโคไล ดูโคนิน (Nikolay Dukhonin) พวกเขานำทหาร 700 นาย บุกเปโตรกราดเพื่อล้มรัฐบาลโซเวียต 
29 ตุลาคม (11 พฤศจิกายน)  นักเรียนเตรียมทหารบางส่วนก่อการประท้วง แต่ถูกปราบปรามในวันเดียว 
31 ตุลาคม (13 พฤศจิกายน) ทหารของเคเรนสกี และนายพลกราสนอฟ ถูกฝ่ายโซเวียตปราบปราม  แต่เคเรนสกีหนีไปได้ นายพลกรานอฟถูกจับก่อนได้รับอนุญาตประกันตัว ซึ่งภายหลังนายพลกรานอฟหนีไปอยู่กับฝ่ายต่อต้านบอลเชวิคในยูเครน 
5 มกราคม 1918 (18 มกราคม) มีการเปิดประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ว่าวันเดียวกันนี้เลนินก็ออกกฤษฏีกา สั่งยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญ 
การปฏิวัติตุลาคมในเปโตรกราดแทบจะไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อกันเลย แต่ว่าการปฏิวัติขยายไปที่เมืองอื่น อย่างในมอสโคว์ มีการเสียชีวิตกว่า 1000 คน 
3 มีนาคม 1918 โซเวียตลงนามในสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟส์ก (Brest-Litovsk Treaty) ถอนตัวออกจาสงครามโลก 
Don`t copy text!