Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Sun Yat-Sen

ซุน ยัตเซน เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1866 ในหมู่บ้านคุยเฮง จังหวัดเซียงชาน มณฑลกวงตง (Cuiheng village, Xiangshan, Guangdong) ชื่อจริงคือ เว่น (Sun Wen) 

ชื่อตอนเด็กคือ ตีเซียง (Dixiang) 

ชื่อตอนหนุ่มชื่อ เซียะชิ (Zaizhi)
ชื่อ รีซิน (Rixin) เป็นชื่อเมื่อเข้าพิธีแบ๊พติซ
ชื่อ ยัตเซน เป็นชื่อที่เขาใช้ตอนที่เรียนหนังสืออยู่ที่ฮ่องกง 
ชื่อ ซุน ซงชาน (Sun Zhongshan) เป็นชื่อที่นิยมใช้เรียกเขา มาจากชื่อในภาษาญีุ่ปุ่น นากายามะ (Nakayama) ที่เพื่อนเขาตั้งให้
พ่อของเขาชื่อซุน ต้าเชง (Sun Dacheng,孫達成) และแม่ชื่อหยาง (Yang,楊氏)
ครอบครััวของเขาเป็นชาวนาที่ฐานะยากจน เขาเป็นลูกชายคนที่สาม โดยตอนเด็กๆ มีลุงเป็นคนที่ช่วยสอนให้เขาอ่านหนังสือ 
เริ่มเข้าเรียนหนังสือครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ปี  ระหว่างที่เรียนได้รู้จักเป็นเพื่อนกับ หลู่ หัว-ถัง (Lu Hao-tung) นักปฏิวัติจีนคนหนึ่งผู้แต่เพลง blue sky with a white sun 
ตอนอายุได้ 12 ปี ถูกส่งไปอยู่กับพี่ชายของเขาชื่อซุน เมย (Sun Mei, 孫眉) ซึ่งออกจากประเทศจีนมาอยู่ที่ฮาวาย บนเกาะมัวอิ  (Maui island) ก่อนหน้ายัตเซนแล้ว โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย   
เมื่ออยู่ในฮาวาย หยัตเซนเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนไอโอลานิ (Iolani school) บนเกาะฮอนโนลูลู (Honolulu) โดยที่ยัตเซนสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วจนกระทั้งได้รับรางวัลจากกษัตริย์คาลากัวอา (King , David Kalakaua) แห่งฮาวาย
1881 เรียนจบโดยมีผลการเรียนเป็นเลิศ และได้รับประกาศเกียรติคุณจากทางโรงเรียน หลังจากนั้นได้เขาเรียนต่อที่พูนาฮัว (Punahou School, Oahu College) อยู่หนึ่งเทอม 
1883 ถูกส่งกลับมายังประเทศจีน  แต่กลับไปอยู่ที่บ้านไม่นาน เขาก็หนีออกจากบ้านพร้อมกับ หลู่ หัว-ถัง ไปยังฮ่องกง
ฤดูใบไม้ผลิ เข้าเรียนที่โรงเรียนดีโอซีซาน (Diocesan Boys’ School)
1884 มาเรียนที่ควีนคอลเลจ (Queen’s College, Goverment Central School) จนถึงปี 1886
ช่วงเวลานี้เกิดสงครามระหว่างจีนและฝรั่งเศส  (Franco-Chinese war, 1884-1885) ทำให้จีนสูญเสียดินแดนเวียดนามให้กับฝรั่งเศส
1885 ตอนอายุ 20 ปี แต่งงานกับหลู่ มูเชน (Lu Muzhen)  หญิงชาวบ้าน ซึ่งทั้งคู่มีลูกด้วยกันสามคน คือ ซุน โฟ (Sun Fo) , ซุน จินหยวน (Sun Jinyuan) และ ซุน จินหวาน (Sun Jinwan) 
1886 เข้าเรียนที่โรงเรียนแพทย์กวางโจ (Guangzhou Medical School) ระหว่างเรียนได้รู้จักกับ หย๋ง ฮกหลิง (Yeung Hok-Ling), ชาน ซุยบัก ( Chan Siu-bak), ยัว ลิต (Yau Lit)  จึงถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มสี่บัณทิต (Four Bandits) ซึ่งมีแนวคิดที่จะโค่นล้มราชวงศ์ชิงของพวกแมนจู 
ระหว่างเรียนนี้เขาได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ 
1891 ได้รู้จับกับ เหยง ขุย-วาน (Yeung Kui-wan) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมฟูเรน (Furen Literary Society) 
1892 เรียนจบและได้ใบรับรองการเป็นแพทย์จากวิทยาลัยฮ่องกง (Hong Kong College of Medicine for Chinese) 
1894 เกิดสงครามกับญีุ่ปุ่น  (First Sino-Japanese War,1894-1895) แต่จีนเป็นฝ่ายแพ้ทำให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาลไปทั่วประเทศ อำนาจของราชวงศ์ชิงเสื่อมอย่างหนัก และเกิดกระแสให้มีการเปลี่ยนแปลงแต่ว่ามีแนวคิดที่หลากหลาย 
กาง ยูเว่ย (Kang Youwei) และ เลียง คิเชา (Liang Qichao) เสนอแนวคิด Hundred Days’Reform ที่ยังคงระบบจักรพรรดิเอาไว้ แต่ให้มีการปฏิรูป แต่ในขณะที่ฝ่ายอื่นเช่น ยัตเซน ต้องการการปกครองแบบสาธารณรัฐ
 ยัตเซนเขียนฏีกาความยาว 8,000 ตัวอักษร เพื่อจะนำไปยืนกับหลี่ ฮงฉาง (Li Hongzhang) เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศแต่ว่าหลี่ ฮงฉาง ปฏิเสธไม่ให้เขาเข้าพบ
สิงหาคม, ยัตเซน เดินทางไปฮาวายอีกครั้ง เพื่อหาเงินทุนในการเคลื่อนไหว 
ก่อตั้ง The Revival Union of China , Sichzhunhoy โดยรวมเอาสมาคมฟูเรนเข้าไปด้วย และเหยง ขุ่ย-วาน (Yeung Kui-Wan)เป็นประธาน ส่วนยัตเซนเป็นเลขา แต่มีสมาชิกเพียงไม่กี่คน พวกเขายังก่อตังบริษัทเคียนเฮง (Qianheng Company) เป็นกิจการบังหน้าของกลุ่ม
ช่วงปลายปี เขาเดินนทางกลับมายังฮ่องกง 
1895 26 ตุลาคม (วันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจีน) , The Revival Union of China ปลุกระดมให้มีการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลครั้งแรกในกวางโจ (Guangzhou uprising)  โดยหวังจะจับยึดเมืองกวางโจ แต่ว่าแผนการล้มเหลวเพราะแผนการรั่วไหล ในที่สุดสมาชิกจำนวนหนึ่งถูกจับตัวไป เช่น Lee Haodun เพื่อนของยัตเซน ถูกจับและประหารชีวิต
ยัตเซน และเพื่อนบางคนอย่างเชน  เฉาโบ (Chen Shaobo) หนีไปยังญีุ่ปุ่น , ในญี่ปุ่นได้รู้จักกับมิยาซากิ โตเตน (Miyazaki Toten) ซึ่งเป็นคนตั้งชื่อว่า  นากายามะ (Nakayama) ให้ยัตเซน 
เมื่ออยู่ในญีุ่ปุ่นยัตเซน ตัดเปียแบบแมนจูทิ้งเป็นสัญลักษณ์ หลังจากนั้นเดินทางไปฮาวาย และต่อไปยังซานฟรานซิสโก สุดท้ายแล้วเขาเดินทางไปลอนดอน ก่อนจะเข้าไปยังแผ่นดินใหญ่สหรัฐ เชื่อกันว่าเขาได้ทำสูติบัตรปลอมขึ้นมา โดยบอกว่าตัวเขาเองนั้นเกิดในฮาวาย วันที่ 24 พฤศจิกายน 1870 จึงเป็นพลเมืองสหรัฐโดยกำเนิดก่อนจะกลับไปจีนตอน 4 ขวบ 
1896 ตอนอยู่ในอังกฤษ ยัตเซนถูกทางการอังกฤษจับตัวตามคำร้องของผู้แทนจีน ถูกขังอยู๋นาน 12 วัน ก่อนได้รับการช่วยเหลือจาก เจมส์ แคนต์ไล (James Cantlie)   , อาจารย์เก่าของเขาสมัยเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัยแพทย์ฮ่องกงในการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่อังกฤษ จีงได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นเดินทางไปตามเมืองต่างๆในยุโรป และเริ่มเขียน Three People’s Principles ซึ่งประกอบไปด้วย ชาติ (Nationalism) ประชาธิปไตย (Democracy) และ ความสุข (Welfare) จากการมีสุขภาพที่ดีและปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
1899 ในญีปุ่่นเขาก่อตั้งหนังสือพิมพ์โซงกัวไรเบา (Zhogguo Ribao ~หนังสือพิมพ์จีน)
เขาได้พบกับหมอชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ มาเรียโน่ ปอนเซ่ (Mariano Ponce) ซึ่งยังเป็นนักเขียนและเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของฟิลิปปินส์ 
1900 22 ตุลาคม, (Huizhou uprising) ยัตเซน สนับสนุนการลุกฮืออีกครั้งในฮุ่ยโจ แต่ว่าก็ล้มเหลว
1905  20 สิงหาคม, เข้าร่วมกับกลุ่ม ตงเหม่งฮุย (Tongmenghui , United League) กลุ่มนักศึกษาจีนในญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อการปฏิวัติในจีน กลุ่มนี้มีสมาชิกราวพันคน 
1906 ได้มีโอกาศเกินทางไปสิงคโปว์ และได้ตั้งสาขาของตงเหม่งฮุย ในสิงคโปว์ โดยใช้อาคาร หวานชิงหยวน (Wan Qing Yuan) เป็นที่ทำการ
1907 1 ธันวาคม, (Zhennaguan uprising) ตงเหม่ยฮุยสนับสนุนการประท้วงที่เชนนากวน  เพื่อต่อต้านกฏหมายข้ามแดน (Frienship Pass) ระหว่างมณทลกวงซี (Guangxi) กับเวียดนาม แต่ก็ล้มเหลวในหนึ่งอาทติย์  หลังจากนั้นมีการก่อการประท้วงอีกหลายหนที่ล้มเหลว อย่าง ฮวงกาง (Huanggang uprising), ฮุยโซ (Huizhou seven women lake uprising), คินโซ (Qinzhou uprising)
1908 สนับสนุนการประท้วงที่ คิวเหลียน (Qin-lian uprising) , เฮกัว (Hekou uprising) แต่ล้มเหลวเช่นกัน  หลังการก่อการประท้วงล้มเหลวหลายหนทำให้ฐานะผู้นำของยัตเซนเสื่อม ตงเหม่งฮุย แตกเป็นสองฝ่ายทั้งที่สนับสนุนและต่อต้านยัตเซน 
1910  กรกฏาคม, ตงเหม่งฮุย ย้ายสำนักงานใหญ่จากสิงคโปว์มาอยู่ที่ปีนัง (Penang) เพื่อลดแรงกดดันจากฝ่ายต่อต้านยัตเซน ที่ปีนังนี้ได้ตั้งหนังสือพิมพ์ กวง วาห์ ยิต พต (Kwong Wah Yit Poh) เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาจีน
13 พฤศจิกายน, มีการประชุมใหญ่ที่ปีนัง (Penang conference) เพื่อระดมทุน ซึ่งสามารถหาเงินทุนได้เกือบสองแสนเหรียญฮ่องกง 
1911 ตุลาคม, เกิดการปฏิวัติวู่ชาง (Wuchang Uprising)  นำโดยหวง ซิง (Huang Xing) ซึ่งยัตเซนไม่ได้เกี่ยวข้องการการปฏิวัติครั้งนี้ แต่ว่าปฏิวัติวู่ชาง เป็นการสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์ชิง 
หลังเหตุการณ์ดังกล่าวยัตเซนขณะนั้นอยู่ในสหรัฐเมื่อทราบข่าวจึงได้รีบเดินทางกลับจีน 
21 ธันวาคม , เดินทางกับถึงประเทศจีน 
เกิดการปฏิวัติชินไห่ (Xinhai Revolution) โค่นจักรพรรดิฟูยี (Puyi)
29 ธันวาคม,  การประชุมที่นานกิง  หยัตเซนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล (provisinal president) ของสาธารณรัฐจีน (Republice of China) โดยหวง ซิง เป็น รัฐมนตรีกลาโหม
1912 12 กุมภาพันธ์ , หยัตเซน ลาออกจากตำแหน่ง โดยหยวน ซื่อไข (Yuan Shikai) รับตำแหน่งต่อจากเขา
25 สิงหาคม, ร่วมกับ ซง เจียเรน (Song Jiaoren) ก่อตั้งพรรคกัวมินตั๊ง (Koumintang, Chinese national party) 
1913 ประกาศที่จะทำการปฏิวัติครั้งที่ 2 (Second revolution)  โดยพยายามที่จะล้มหยวน ซื่อไข  แต่ว่าที่สุดแล้วหยัดเซน ต้องหนีไปอยู่ญีุ่ปุ่น ขณะที่ซง เจียเรน ถูกสังหาร
1915 หยวน ซื่อไข ประกาศตัวเองเป็นจักรพรรดิ 
หยัตเซน ติดต่อกับคอมมิวนิสต์ในปารีส เพื่อขอความช่วยเหลือ 
จีนขณะนี้ถูกปกครองแบ่งเป็นสามส่วน คือรัฐบาลของคอมมิวนิสต์มีศูนย์กลางในนานจิง , รัฐบาลของกัวมินตั้งในกวางโจ อยู่ทางใต้ และตอนเหนือของประเทศของหยวน ซื่อไข
25 ตุลาคม​, แต่งงานกับ ซ่ง ชิง-หลิง (Soong Ching-Ling) พ่อของนางเป็นเพื่อนกับยัตเซน ชื่อชาร์ลี (Charlie Soong) เป็นนักธุรกิจที่จบการศึกษาจากสหรัฐ ลูกสาวอีกคนหนึ่งของชาร์ลี ชื่อ เหม่-หลิง (Soong May-Ling) แต่งงานกับไปกับเจียง ไคเช็ค (Chiagn Kai-Shek) 
1919 ก๊งมินตั้งของหยัตเซน ใช้กวางโจ ที่เป็นฐานบัญชาการ โดยหยัตเซนประกาศตัวเองเป็นจอมพล 
1923 ลงนามประกาศ ซุน-โจฟฟ์ (Sun-Joffe Manifesto) ผู้แทนจากโซเวียตคือ อดอล์ฟ โจฟฟ์ (Adoph Joffe) เพื่อขอเงินทุนสนับสนุนจากองค์การโคมินเทิร์น (Comintern) และกั๊วมินตั้งยังร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในการขับไล่ญี่ปุ่น
1924 เขาเดินทางเข้าจีนในตอนเหนือของประเทศ หวังจะเจรจากับผู้นำในแต่ละเขต แต่ว่าช่วงนี้ก็เกิดล้มป่วย
1925 11 มีนาคม เขียนจดหมายฉบับสุดท้ายถึงรัฐบาลโซเวียต เชิดชูความสัมพันธ์และมิตรภาพระหว่างกัน 
12 มีนาคม, เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับขณะ อายุ 58 ปี ภายในวิทยาลัยแพทย์ในปักกิี่ง (Peking Union Medical College) 
1929 1 มิถุนายน, ร่างของซุน ยัตเซน ถูกนำไปไว้ที่สุสานที่ภูเขาสีม่วง (purple mountain) ในนานจิง
1940 รัฐบาลจีนประกาศให้ซุน ยัตเซน เป็นบิดาของชาติ 
Don`t copy text!