Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Richard Sorge

ริชาร์ด ซอร์จ (Рихард Зорге)

สายลับ 

ซอร์จ เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1898 ในบากู อาเซอร์ไบจาน (Baku, Azerbaijan) ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย พ่อของเขาเป็นชาวเยอรมัน ชื่อ วิลเฮล์ม ซอร์จ (Wilhelm richard Sorge) เป็นวิศกรเหมืองแร่ ส่วนแม่เป็นชาวรัสเซียยูเครนชื่อนิน่า (Nina Semionovna Kobieleva)
วิลเฮล์มนั้นถูกว่าจ้างโดยบริษัทคอเคซัสออยล์ (Caucasian Oil Company) ให้มาทำการสำรวจหาแหล่งน้ำมันในคอเคซัส​ จึงได้พบรักกับนิน่า 
ซอร์จนั้นเป็นลูกชายคนที่ 4 และเป็นคนสุดท้องที่เกิดกับนิน่า แต่ว่าวิลเฮล์ม ก่อนหน้านั้นเขามีลูกอยู่แล้วห้าคน
ปู่ของซอร์จ คือ ฟริดริช ซอร์จ (Friedrich Adolf Sorge) เคยทำงานเป็นเลขาให้กับคาร์ล มาร์ก (Karl Marx)
เมื่อซอร์จอายุได้ 3 ปี พ่อของเขาหมดสัญญากับบริษัทจึงได้เดินทางกลับเยอรมัน โดยเขาพาครอบครัวกลับไปอยู่ที่บ้านชานกรุงเบอร์ลิน 
1914 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเข้าเป็นทหารในกองทัพเยอรมัน และมีโอกาสได้ต่อสู้กับกองทัพฝรั่งเศสและรัสเซีย ระหว่างนี้เขาได้รับบาดเจ็บหลายหน และหนักที่สุดคือต้องเสียน้ิวเท้าไปสามนิ้ว ทำให้เขาเดินไม่ปกติตลอดชีวิต นอกจากนี้พี่น้องไปสองคนในช่วงสงครามนี้ ซอร์จได้รับตำแหน่งสูงสุดเป็น corporal ในกองทัพ และยังได้ตรา Iron Cross ชั้นที่ 2 ด้วย
หลังจากปลดประจำการณ์ เขาสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแฮมบูร์ก (Hamburg University) โดยเลือกเรียนสาขาแพทย์ศาสตร์ แต่ว่าไม่นานก็ย้ายไปเรียนทางด้านรัฐศาสตร์ 
1919 จบปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์ที่แฮมบูร์ก 
ช่วงนี้เองเขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน  แต่ว่าความเห็นที่ขัดแย้งกับสหายภายในพรรคทำให้เขาออกจากพรรคมา แล้วเดินทางไปยังสหภาพโซเวียต เขาอาศัยอยู่ในมอสโคว์และกลายเป็นสายลับให้กับองค์การโคมินเทิร์น (Comintern) 
ซอร์จทำงานเป็นสายลับ โดยแฝงตัวในบทบาทของนักข่าวของหนังสือพิมพ์ ทำให้สามารถเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปได้อย่างไม่น่าสงสัย 
1921 พฤษภาคม, แต่งงานกับ คริสเตียนนี (Christiane Gerlach) ระหว่างที่ซอร์จไปอาศัยอยู่ในเยอรมัน คริสเตียนนี นั้นเคยเป็นภรรยาของ ดร. เคิร์ต (Kurt Albert Gerlach)  มาก่อน ซึ่ง ดร.เคิร์ต ยังเป็นเคยเป็นอาจารย์ที่สอนซอร์จตอนเรียนหนังสือและยังมีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เหมือนกัน 
หลังจากแต่งงานซอร์จพาภรรยาบ้ายมาอยู่ในแฟรงค์เฟิร์ต 
1924 ซอร์จและคริสเตียนนี ย้ายมาอยู๋ในมอสโคว์ 
1926 หย่ากับคริสเตียนนี
ภรรยาคนที่สองของซอร์จ เป็นครูชาวรัสเซียชื่อเยแคทเธอริน่า (Ekaterina Maksimova)  
1929 เข้าทำงานในแผนกที่ 4 (4th Department~ GRU) ของกองทัพแดงซึ่งเป็นแผนกสายลับ
เดินทางมาอังกฤษในฐานะนักข่าวที่มาทำข่าวการเคลื่อนไหวของแรงงานในสหราชอาณาจักร
พฤศจิกายน, มายังเยอรมันและได้เข้าเป้นสมาชิกของพรรคนาซี (Nazi Party) ซอร์จ เริ่มทำงานเป็นนักข่าวให้กับหนังสือพิมพ์เยอรมัน หลายฉบับอย่าง Berliner Börsen Zeitung, Tägliche Rundschau
1930 ถูกส่งตัวไปยังช่างไฮ่ (Shanghai) ในจีน  ระหว่างอยู่ในจีนเขาใช้ชื่อว่าแรมไซ (Ramsai) โดยทำงานในจีนในฐานะของผู้สือข่าวหนังสือพิมพืแฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurter Zeitung)  ระหว่างนี้ได้รู้จักกับสายลับอีกสองคน อูร์ซุล่า (Ursula Kuczanski) เป็นสายลับให้กับเยอรมันและโซเวียต , แอ๊กเนส สเมดเลย์ (Agnes Smedley)  ซึ่งเป็นนักข่าวสหรัฐ เธอทั้งสองคนมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับซอร์จด้วย 
1933 กันยายน, ถูกส่งตัวไปญี่ปุ่น  ซึ่งเมื่ออยู่ในญี่ปุ่นเขามีสมาชิกที่เป็นเครือข่ายอย่าง ฮ็อตซุมิ โอซากิ (Hotzumi Ozaki) นักข่าวของหนังสือพิมพ์อซาฮี (Asahi Shimbun)  , แม็กซ์ ก๊อตไฟรด์ (Max Gottfried) เจ้าหน้าที่วิทยุ , Friedrich Clausen, บราโก้ วูเกวิค (Branko Vukelic) เป็นสายลับของโคมินเทิร์น,มิยากิ โยโตกุ (Miyagi Yotoku) เป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ Japan Advertiser ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษของญีปุ่น, วู (Vu) ทำงานให้กับแม็กกาซีนของฝรั่งเศส , ยูเจน อ๊อต์ต (Eugen Ott) เป็นเจ้าหน้าที่ทหารของเยอรมัน 
อ๊อตซุมิ โอซากิ นั้นเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญให้กับซอร์จเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่น เพราะเขาเข้าถึงบุคคลในรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ 
บุคคลิกของซอร์จนั้นเขาเป็นคนที่ดื่มเหล้าหนักมาก และเจ้าชู้มีความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวผู้หญิงไม่น้อยกว่า 20 คนกล่าวกันว่าเขาเป็นสายลับที่ใกล้เคียงกับเจมส์ บอน ในหนังสือที่สุด , ซึ่งช่วงก่อนสงครามโลกแม้ว่าซอร์จจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ทางการรัสเซีย เช่น การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์, การต่อต้านโคมินเทิร์น แต่ข้อมูลที่ได้จากซอร์จถูกจัดชั้นให้มีน้ำหนักที่น้อยกว่าจากแหล่งอื่น
1941 ซอร์จแจ้งเตือนเครมลินให้ทราบถึงปฏิบัติการบาร์บารอสซ่า (Operation Barbarossa) ว่าเยอรมันมีแผนจะโจมตีโซเวียตราวเดือนมิถุนายน แต่สตาลินในขณะนั้นไม่เชื่อรายงานของซอร์จ จนกระทั้งเมื่อเยอรมันโจมตีโซเวียตจริงๆ ในวันที่ 22 มิถุนายน ข้อมูลที่ได้จากซอร์จจึงถูกยกให้มีความน่าเชื่อถือสูงมากขึ้น และข้อมูลที่ซอร์จรายงานให้เครมลินทราบว่าญี่ปุ่นไม่ได้มีแผนที่จะโจมตีโซเวียตจนกว่ามอสโคว์จะถูกยึดหรือเกิดสงครามกลางเมืองในไซบีเรียขึ้นก่อน  ่ทำให้สตาลินตัดสินใจย้ายทหารจากตะวันออกมายังตะวันตะเพื่อรับมือกับนาซีได้อย่างเต็มที
14 ตุลาคม, โอซากิ ถูกทางการญี่ปุ่นจับตัวไปสอบสวน
18 ตุลาคม, ซอร์จถูกเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นจับตัวได้ในโตเกียว
1944 7 พฤศจิกายน , ถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ ภายในเรือนจำซุกาโมะ (Sugamo Prison) และถูกฝังที่นั่น
วีรกรรมของซอร์จไม่เป็นเปิดเผยในโซเวียต อาจเป็นเพราะสตาลินไม่ต้องการให้รู้ว่าเขาตัดสินใจผิดเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้จากซอร์จในตอนแรก จนกระทัั้งในปี 1961 มีภาพยนต์เรื่อง Qui êtes-vous, Monseiur Sorge? (Who are you, Mr. Sorge?) สร้างในฝรั่งเศส และโด่งดังมากจนได้รับความนิยมไปถึงโซเวียต
1964 ในสมัยของครุสเชฟ (Nikita Khrushchev) โซเวียตจึงได้ยอมรับการมีตัวตนจริงของซอร์จ และเขาได้มอบรางวัล Hero of the Soviet Union ให้อย่างเป็นทางการในวันที่ 5  พฤศจิกายน และเงินรางวัลมอบเป็นเงินบำนาญให้กับคนรักชาวญีปุ่่นของซอร์จ ฮานาโกะ อิชิอิ(Hanako Ishii)
1967  ได้ย้ายอัษฐิของเขาไปไว้ที่สุสานทามะ (Tama cemetery) ในฟูชุ (Fuchū) โดยที่ฮานาโกะ เดินทางไปเยี่ยมสุสานของเขาเป็นประจำจนกระทั้งเธอเสียชีวิต ในปี 2000
Don`t copy text!