Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Andrey Sakharov

อันเดรย์ ชาคารอฟ (Андрей Дмитриевич Сахаров)

โนเบลสันติภาพ ปี 1975
เกิดในมอสโคว์ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1921 พ่อชื่อดมิทรี (Dmitri Ivanovich Sakharov) ทำอาชีพเป็นครูสอนฟิสิกและสอนเปียโน  และแม่ชื่อเยคาเธอริน่า (Yekaterina Alekseyevna Sakharova) 
1938 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ ในคณะฟิสิก ซึ่งระหว่างที่เรียนอยู่เขาได้รับเกรดซี จากอิกอร์ เทมม์ (Igor Tamm) อาจารย์ของเขา ในการอธิบายทฤษฏีสัมพันธภาพของไอสไตน์ 
1941 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นักศึกษาถูกอพยพไปยังเติร์กเมนิสถาน และเขาก็เรียนจบระหว่างอยู่ที่นั้น  หลังจากเรียนจบได้เข้าทำงานที่ห้องทดลองในเมืองอูลยานอฟส์ก (Ulyanovsk) 
1943 แต่งงานกับคลาฟเดีย วิไคเรว่า  (Klavdia Alekseyevna Vikhireva) ทั้งคู่มีลูกด้วยกันสามคน
1945 กลับมามอสโคว์หลังจากสงครามยุติ และเข้าเรียนที่สถาบันฟิสิกเลเบเดฟ (Lebedev Physical Institute)
1947 ได้รับปริญญาเอก และช่วงนี้ได้เข้าร่วมทำงานกับโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียต ซึ่งโครงการนิวเคลียร์ของโซเวียตอยู่ภายใต้การนำของเคอร์ชาตอฟ (Igor Kurchatov) และเทมม์ 
1949 29 สิงหาคม, โซเวียตประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ RDS-1 (First Lightning, USA Joe-1) เป็นระเบิดนิวเคลียร์แบบฟิสชั่น (Fission)
1950 ชาคารอฟเริ่มมีแนวคิดการพัฒนาระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งแนวคิดของเขารู้จักกันในชื่อ Third Idea ในโซเวียต ในขณะที่ซึกสหรัฐก็มีพัฒนาคล้ายๆ กันตามแบบของ Teller-Ulam design ที่ออกแบบโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller) และ ดร.สตานิสลาฟ อูลัม (Stanislaw Ulam)
1951 ประดิษฐ์เครื่อง EPECG (explosively pumped flux compression generator) เครื่องบีบอัดฟลักซ์แม่เหล็กไฟฟ้าโดยอาศัยแรงระเบิด สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก 
1953 สิงหาคม , RDS-6 (Joe-4) เป็นระเบิดนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) ลูกแรกของโซเวียต แม้ว่าระเบิดลูกนี้จะทดสอบหลังจากการทดสอบ Ivy Mike ของสหรัฐในปี 1952 แต่โซเวียตอ้างว่า RDS-6 เป็นระเบิดแบบฟิวชั่นอย่างแท้จริง เพราะแรงระเบิด 15-20% มาจากปฏิกริยาฟิวชั่น นอกจากนั้น RDS-6 ยังถุกออกแบบให้พร้อมนำไปใช้งานจริง
ในปีนี้เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสถาบันวิทยาศาสตร์ (Academy of Sciences,USSR) ขณะอายุเพียง 32 ปี 
1961 มีการทดสอบระเบิด ซาร์บอมบ์ (Tsar-bomba) บริเวณแนวปะการังโนวาย่าเซมเลีย (Novaya Zemlya archipelago) ซึ่งซาคารอฟไม่เห็นด้วยแต่ว่าไม่อาจจะคัดค้านการเมืองขณะนั้นได้ แต่หลังจากนั้นเขาเริ่มรณรงค์ต่อต้านการทดลองอาวุธนิวเคลียร์เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ฝั่งสหรัฐอเมริกา ที่เห็นถึงอันตรายของนิวเคลียร์ จนในที่่สุดได้มีการลงนามสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์บางส่วน (partial test ban treaty)  ในปี 1963 ในมอสโคว์ ซึ่งกำจัดการทดลองไว้เพียงอนุญาตให้ทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินได้ 
แต่ไม่นานหลังจากนั้นชาคารอฟก็ถูกห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยนิวเคลียร์ทางการทหารอีก เขาจึงหันมาทุมเทกับการค้นคว้าฟิสิกพื้นฐาน เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงและจักรวาล
พัฒนาเครื่อง EMP (eletro-magneti pulse) เครื่องกำเนินสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ทางการทหารเพื่อทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
1967 รณรงค์ต่อต้านการพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีปติดหัวรบนิวเคลียร์ 
1968 เขียนบทความชื่อ Reflections on Progress, Coexistence and Intellectual Freedom เรียกร้องให้มีการปลดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งบทความถูกนำไปเผยแพร่ทั่วโลก 
1969 ภรรยาของเขาเสียชีวิต
1970 ร่วมก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งโซเวียต (Committee on Human Right USSR) ซึ่งมีสมาชิกอย่างโซลเซนิตซิน (Alexander Solzhenitsyn) แต่ช่วงปี 70s ชาคารอฟ ก็เริ่มถูกหนังสือพิมพ์ในโซเวียตเขียนบทความโจมตี 
1972 แต่งงานครั้งที่ 2 กับอิลีน่า บอนเนอร์ (Elena Bonner) เธอเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิ ที่ทำงานกับเขามาก่อน 
1974 พิมพ์หนังสือ Universal Information System
1975 เขียนบทความ The Country and the World (О стране и мире)  และปีเดียวกันนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ว่าตัวเขาไม่ได้รับอนุญาติให้เดินทางไปรับรางวัล อิลีน่าภรรยาจึงได้เป็นตัวแทนเดินทางไปนอร์เวย์แทน
1980 เขารณรงค์ต่อต้านการบุกอัฟกานิสถานของโซเวียต ในปี 1979 และเรียกร้องให้นานาชาติคว่ำบาตรกีฬาโอลิมปิกในมอสโคว์ จนในที่สุดทางการสั่งเนรเทศเขาและภรรยาไปยังเมืองกอร์กี 
ในปี 1984,1985 เขาอดอาหารประท้วงทางการสองครั้งนานหลายวันเพื่อเรียกร้องให้ทางการอนุญาตให้ภรรยาของเขาที่ป่วยเป็นโรคหัวใจเดินทางไปผ่าตัดและรักษาตัวในสหรัฐได้
1986 ได้รับอนุญาติให้เดินทางกลับมามอสโคว์ในสมัยของกอร์บาเชฟ (Mikhail Gorbachev) 
1989 14 ธันวาคม เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวภายในอพาร์ตเม้นท์ที่พัก  ขณะอายุ 69 ปี ร่างของเขาถูกฝังที่สุสานสอวเทรียคอฟสกี้ ( Vostryakovsky cemetery) ในมอสโคว์
Don`t copy text!