เลฟ วิก๊อตสกี้ (Лев Семёнович Выготский)
นักจิตวิเคราะห์
เกิดในเมืองออร์ช่า, เบลารุส , จักรวรรดิรัสเซีย (Orsha) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1896 ( 5 พ.ย. OS) ในครอบครัวชาวยิว พ่อของเขาชื่อซิมคา (Simcha) ซึ่งวิก๊อตสกี้ใช้ชีวิตวัยเด็กส่วนใหญ่ที่นี่ ส่วนแม่เป็นแม่บ้าน ชื่อ ซิเลีย (Tsilia) ซึ่งเธอมีลูกถึงแปดคน วิก๊อตสกี้เป็นลูกคนที่สอง
ต่อมาครอบครัวย้ายมาอยู่ในเมืองโกเมล (Gomel) เพราะว่าเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยของธนาคาร United Bank สาขาประจำเมืองนี้
1913 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ (Moscow State University) โดยจับฉลากได้โควต้าของนักศึกษาที่เป็นชาวยิว เขาเลือกเรียนด้านการแพทย์ก่อนที่จะย้ายมาเรียนด้านกฏหมาย
1917 หลังสำเร็จการศึกษา โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง The Psychology of Art แต่ว่าผลงานได้รับการตีพิมพ์หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้วหลายสิบปี
เป็นช่วงที่เกิดการปฏิวัติ เขาเดินทางกลับโกเมล ซึ่งเมืองที่เขาอาศัยในช่วงสงครามนี้บางครั้งตกอยู่ใต้การยึดครองของเยอรมัน และต่อมากองทัพแดงก็ยึดเอามาไว้ได้
แต่งงานกับโรซ่า ซเมกโคว่า (Rosa Smekhova) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคน
สมัครเข้าเรียนที่คณะประวัติศาสตร์และปรัญชา ที่มหาวิทยาลัยชานแยฟสกี(Moscow City People’s University, Alphonse Shanyavsky) และจบในหนึ่งปี
1924 เข้าร่วมการประชุมนักจิตวิทยาแห่งชาติ (All-Russian Psychoneurological Congress) ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นในเลนินกราด ไม่นานหลังจากการประชุมเขาได้รับเสนอตำแหน่งศาสตราจารย์ที่สถาบันจิตวิทยาในมอสโคว์ (Institute of Psychology) เขาจึงย้ายมาอยู่ที่มอสโคว์
1925 เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมจิตวิเคราะห์แห่งรัสเซีย (Russian Psychoanalytic Society)
ช่วงฤดูร้อนเขาเดินทางไปลอนดอน แต่เมื่อกลับมาแล้วล้มป่วยด้วยโรควัณโรค
1926 เร่ิมพัฒนาทฤษฏี Cultural-Historical Psychology ซึ่งศึกษาผลของสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์
1930s ช่วงไม่นานก่อนเขาเสียชีวิตได้เขียนแนวคิดเกี่ยวกับ Zone of Proximal Development เกี่ยวกับการศึกษากระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเขาสังเกตุว่าเด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองระดับหนึ่ง และอีกระดับหนึ่งคือการเรียนรู้โดยได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่
1934 11 มิถุนายน เสียชีวิตในวัน 37 ปี ด้วยโรควัณโรค
หลังปี 1980s เมื่อโซเวียตเร่ิมเปิดประเทศ ชื่อเสียงของเขาจึงเป็นที่รู้จักกันดีในสหรัฐฯ ผลงานหลายชิ้นของเขาถูกพิมพ์ออกมาภายหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว
- The Psychology of Art, 1925
- Consciousness as a problem in the Psychology of Behavior, 1925
- Reflexological and psychological investigation , 1926
- Educational Psychology, 1926
- Historical meaning of the crisis in Psychology, 1927
- The Problem of the Cultural Development of the Child, 1929
- The Fundamental Problems of Defectology, 1929
- The Socialist alteration of Man, 1930
- The Instrumental Method in Psychology, 1930
- Primitive Man and his Behavior, c. 1930
- Adolescent Pedagogy, 1931
- Genesis of Higher Mental Functions, 1931
- On the Problem of the Psychology of the Actor’s Creative Work, 1932
- Play and its role in the Mental development of the Child, 1933
- Thinking and Speech, 1934
- The problem of the environment, 1934
- Tool and symbol in child development, 1934
- The Problem of Consciousness, 1934
- The Problem of Age, 1934
- Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes
- Though and Language