Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Pyoter Wrangel

ปีเตอร์ แวงเจล (Пётр Николаевич Врангель)

หนึ่งในผู้นำกองทัพขาว

แวงเจล เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1878 ในเมืองมุกุไลอี, เขตกอฟโน่ (Mukuliai, Kovno Governorate)  ในจักรวรรดิรัสเซีย ปัจจุบันเป็นเมืองซาราไซ (Zarazai) ประเทศแลตเวีย พ่อของแวงเจล ชื่อ นิโคไลย์ (Nikolay Egorovich) เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของเหมืองทองคำ

ตระกูลของเขามีเชื้อสายเยอรมันบอลติค เป็นตระกูลเก่าแก่ที่มักทำงานในในกองทัพต่างๆ ของยุโรป แวงเจล เป็นญาติห่างๆ กับเฟอร์ดินัน แวงเจล (Ferdiannd von Wrangel) นักเดินเรือสำรวจทวีปอาร์คติก

1896 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทคนิครอสตอฟ (Rostov Technical High School) และเข้าเรียนต่อที่สถาบันวิศวกรรมเหมืองแร่ (Institute of Mining Engieering) ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

1901 จบวิศวกรรม และได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนทหารนิโคไล (Nikolaev Cavalry School) 

1902 ออกจากกองทัพและได้เดินทางไปยังไซบีเรียเพื่อดูแลธุรกิจเหมืองของครอบครัว

1904 แวงเจลอาสาสมัครเข้าเป็นทหารอีกครั้งเมื่อเกิดสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย โดยแวงเจลเข้าร่วมในกองทหารม้าของคอสแซ็คที่ 2 (2nd Regiment of Trans-Baikahl Cossack Corps) ที่ลำตระเวณบริเวณพื้นที่แถบไบคาล แวงเจลได้รับเหรีญรางวัล St. Anna และ St.Stanislav ชั้นที่ 3 เป็นการสดุดีในวีรกรรมของเขาในสงคราม

1906 เมื่อสงครามสิ้นสุดแวงเจลยังคงอยู่ในกองทัพต่อไป เขาถูกส่งตัวไปยังกองทหารประจำฟินแลนด์ โดยที่ต้องนั้นมีนายพลนิโคไล ออร์ลอฟ (General Nikolay Orlov) เป็นผู้บัญชาการ

1907 สอบเข้าเรียนในสถาบันทหารนิโคลัส (Nikolaevsky Military Academy)

1908 แต่งงานกับโอลก้า (Olga Mikhaylovna Ivanenko)

1910 เมื่อเรียนจบเขาเลือกที่จะกลับไปอยู่ในหน่วยทหารมา จนกระทั้งได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการในอีกสองปีต่อมา

1914 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาทำหน้าที่รบอยู่ทางตะวันออกของปรัสเซีย เขาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐคนแรกที่ได้รับเหรียญ Order of St.George ชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของกองทัพรัสเซียในขณะนั้น

1915 ถูกส่งมาในแนวรบด้านตะวันตกเฉียงใต้ ในบริเวณประเทศโรมันเนีย เพื่อรับกับฝ่ายออสเตรีย

1917 มกราคม เขาได้ยศเป็นพลเอก และเป็นผู้บัญชาการทหารม้าอัสสุรี (Ussuri Cacalry Division) แต่เดือนต่อมาเกิดการปฏิวัติกุมภาพันธ์ในรัสเซีย แวงเกลยังคงอยู่ในโรมันเนีย เขายังคงรับคำสั่งจากรัฐบาลเฉพาะกาลที่ตั้งขึ้นมา แต่เมื่อเกิดความวุ่นวายภายในกองทัพเขาก็ตัดสินใจลาออกในเดือนกันยายน 

เมื่อเกิดการปฏิวัติตุลาคม โดยฝ่ายบอลเชวิค แวงเกลได้ย้ายออกจากมอสโคว์ลงไปทางใต้ ไปอาศัยอยู่ในเมืองยาลต้า (Yalta) ในคาบสมุทรไครเมีย แต่ช่วงใกล้จะสิ้นปีเขาก็ถูกทหารฝ่ายบอลเชวิคจับตัวขังคุก  แต่ว่าต่อมาได้รับการปล่อยตัว เขาจึงหลบหนีไปยังเคียฟ และเข้าร่วมกับฝ่ายของบาฟโล สโกโรปัดสกี (Pavlo Skoropadsky)  ซึ่งตั้งตัวเป็นผู้นำของยูเครน ต้องการแยกยูเครนเป็นอิสระ และต่อสู้กับฝ่ายบอลเชวิค

1918 แวงเจลได้ยินข่าวลือว่ารัฐบาลของสโกโรปัดสกี ได้รับการสนับสนุนจากเยอรมัน เขาจึงหันไปเข้าร่วมกับกองทหารอาสาสมัคร (Volunteer Army) ซึ่งมีฐานอยู่ในเมืองเยคาเตริโนดาร์ (Ekaterinoday) และได้รับหน้าที่ควบคุมหน่วยทหารม้า 

1920 กองทัพขาวประสบกับความพ่ายแพ้ในการต่อสู้เพื่อที่จะชิงมอสโคว์  แอนตัน เดนิกิ้น (Anton Denikin) ผู้นำกองทัพขาวขณะนั้นจึงมอบหน้าที่การบัญชาการกองทัพให้กับแวงเกลแทน โดยกองทัพขาวกับไปตั้งมั่นอยู่ในไครเมีย 

ช่วงปลายปี บอลเชวิคส่งกองทหารขนาดใหญ่เข้ามาโจมตี จนในที่สุดแวงเกลต้องหนีออกจากไครเมีย ไปยังตุรกี และต่อมาไปอยู่ในเซอร์เบีย เขาตั้งศูนย์ช่วยเหลือชาวรัสเซียที่ลี้ภัยขึ้นที่นี่ 

1927 กันยายน, มาอยู่ในกรุงบรัสเซลของเบลเยี่ยม และทำงานเป็นวิศกรเหมือง

1928 25 เมษายน, เสียชีวิตอย่างกระทันหันในบรัสเซล โดยเชื่อกันว่าสาเหตุการเสียชีวิตของเขาเพราะถูกวางยาพิษ  

ต่อมาร่างของเขาถูกย้ายฝังที่โบสถ์ไตรนิตี้ (Holy Trinity Russian Orthodox Trinity Church) ในกรุงเบลเกรดของเซอร์เบียตามความปรารถนาของเขา

Don`t copy text!