Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

John von Neuman

จอห์น ฟอน นอยมันน์ (John von Neumann)
นอยมันน์ เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1903  ในบูดาเปสต์, ฮังการี ในขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี  เขามีชื่อเดิมว่า (Neumann Janos Lajos) และชื่อยิวว่า โยนาห์ (Yonah) บรรพบุรุษของนอยมันน์อพยพจากรัสเซียเข้ามาอาศัยในฮังการี 
พ่อของเขาเป็นนายธนาคารที่มีฐานะร่ำรวย ชื่อแม็กซ์ (Max, Miksa Neumann) และแม่ชื่อมาร์กาเร็ต (Margaret Kann) นอยมันน์เป็นลูกชายคนโตในบรรดาพี่น้องผู้ชายสามคน น้องของเขาชื่อ มิฮาลี (Mihály, b.1907) และมิคลอส (Miklós, b.1911) 
1913 เข้าเรียนในจิมเนเซียมฟาโซรี อีแวนเจลิกัส (Fasori Evangelikus Gymnasium) ซึ่งเป็นโรงเรียนแบบนิกายลูเธอลัน   ซึ่งที่โรงเรียนแห่งนี้นอกจากนอยมันน์แล้ว ยังมียูจีน วิกเนอร์ (Eugene Wigner) รุ่นพี่ของนอยมันน์ปีหนึ่ง ที่แสดงความเป็นอัจฉริยะด้านคณิตศาสตร์ออกมาตั้งแต่วัยเด็ก 
นอยมันน์เริ่มเรียนแคลคูลัสชั้นสูงตั้งแต่ตอนอายุ 15 ปี โดยมีกับสเซโก้ (Gábor Szegő) ถูกจ้างมาเป็นติวเตอร์สอนพิเศษให้ที่บ้าน
เมื่ออายุ 19 ปี มีผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สองเล่ม 
1919 เกิดการปฏิวัติในฮังการี ครอบครัวของนอยมันน์จึงหนึไปยังออสเตรีย
1921 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยบูดาเปสต์ (University of Budapest)  โดยเอกวิชาคณิตศาสตร์และโทฟิสิกและเคมี  นอกจากนี้เขายังสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) ในสาขาเคมีไปพร้อมกัน
1926 จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปาซมานีปีเตอร์ วง(Pazmany Perter Universtiy) ตอนอายุเพียง 22 ปี โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “The animatic system of set theory”
นอกจากนี้เขายังได้อนุปริญญาด้านวิศวเคมีจาก ETH ( Eidgenössische Technische Hochschule, Zurichu)
1926 มาอยู่ที่ก๊อตตินเจ้น (Gottingen) ในเยอรมัน และได้ทำงานกับเดวิด ฮิลเบิร์ต (David Hilbert)  และเริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเขาได้สร้าง Hilbert Space 
เขาเริ่มเลคเชอร์เกี่ยวกับทฤษฏีเกม (Game Thory) ช่วงเวลานี้
1928 เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (niversity of Berlin) ในช่วงเวลานี้มีผลงานเขียนออกมาอีกสิบสองเล่ม
1930   แต่งงานกับมาเรียตต์ โคเวซิ (Mariette Kövesi) หลังแต่งงานไม่นานได้อพยพมาอาศัยในสหรัฐฯ พวกเขามีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน
1932 Ergodic theory
1933 มาทำงานที่สถาบัน IAS (Institute for Advanced Study) มหาวิทยาลัยพรินตั้น (Princeton University) เขาทำงานที่ ม.พริ้นตั้นนี้จนกระทั้งเสียชีวิต
1930s เข้าไปเกี่ยวข้องกับโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan project) 
1935 เป็นศาสตร์จารย์พิเศษที่แคมบริดจ์ (Cambridge) ซึ่งที่นี่เขาได้อ่านผลงานเขียนเรื่อง Universal Turing machine ของอลัน ทูริ่ง (Alan Turing) ที่บรรยายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำเก็บไว้ในตัว (Stored-program computer)  ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้นอยมันน์ในการออกแบบคอมพิวเตอร์ต่อมา
1937 ได้รับสัญชาติอเมริกัน 
1938 แต่งงานกับคลาร่า แดน (Klara Dan)
ได้รับรางวัล Bôcher Memorial Prize
1944 ที่มหาวิทยยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) จอห์น เมาช์ลี (John Mauchly) และ เจ. เอ็คเกิร์ต (J. Presper Eckert) ได้สร้าง ENIAC (Electroonic Intergrator and Computer) ซึ่งถือเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มตัว
1945 นอยมันน์ได้รับแต่งต้งเป็นหัวหน้าของโครงการคอมพิวเตอร์ (Electronic Computer Project) ของ ม.พริ้นตั้น
พฤษภาคม, นอยมันน์เป็นหนึ่งในคณะทำงานชุดพิเศษ (Target committee atomic bomb) เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกเป้าหมายในญี่ปุ่นที่จะใช้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ โดยที่นอยมันน์เลือกโตเกียวเป็นเป้าหมายแรกของเขา
16 กรกฏาคม, นอยมันน์เข้าร่วมสังเกตุการณ์การทดสอบการระเบิดของนิวเคลียร์ครั้งแรก ในโครงการไตรนิตี้ (Trinity project) ที่ทะเลทรายในนิวเม็กซิโก
30 มิถุนายน, นอยมันน์ได้เขียนร่าง First Draft of a Report on the EDVAC ซึ่งเป็นโครงร่างที่อธิบายเกี่ยวกับการออกแบบคอมพิวเตอร์ อาธิ  คอมพิวเตอร์ควรแยกให้มีหน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ และหน่วยความจำ และควรใช้เลขฐานสอง (binary) ในการประมวณผล , ซึ่ง  The First Draft นี้ต่อมาถูกเรียกว่าเป็น von Neumann architecture สถาปัตยกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่เกือบทั้งหมด 
เขาสร้างอัลกอลิทึ่มการเรียงลำดับโดยเปรียบเทียบ Mergesort
1946 ในอังกฤษ ที่ ม.แคมบริดจ์ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ EDSAC ( Electronic Delay Storayge Automactic Calculator) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก The First Draft ของนอยมันน์
กรกฏาคม, เข้าร่วมสังเกตุการณ์ในการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ (Operation Crossroads) ที่เกาะบิกินี
1949 นอยมันน์เลคเชอร์ทฤษฏีเกี่ยวกับโปรแกรมที่สามารถจำลองตัวมันเองได้ (self-replicating computer program)  ระหว่างการบรรยายที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยด์ (Universtiy of Illinois) ในหัวข้อ Theory and Organization of Complicated Automata ซึ่งต่อมาเขาได้เขียนหนังสือ  Theory of Self-reproducing automata  การออกแบบของนอยมันน์ ถูกยกย่องว่า เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก และถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งวิชาไวรัสคอมพิวเตอร์
1953 ทฤษฏี Stochastic computing
1955 ปธน.ทรูแมนน์ แต่งตั้งให้เขาเป็นประธานของ AEC (United States Atomic Energy Commission) หน่วยงานซึ่งตั้งขึ้นมาดูแลการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในยุคหลังสงครามโลก 
ตรวจพบว่าเขาป่วยเป็นมะเร็งในกระดูกและต่อมลูกหมาก
1957 8 กุมภาพันธ์ เสียชีวิตในวัย 53 ปี ที่โรงพยาบาลทหารวอลเตอร์รีด (Walter Reed Medical Center)  ในวอชิงตัน ดี.ซี. ร่างของเขาถูกนำกลับไปประกอบพิธีที่สุสานพริ้นตั้น (Princeton cemetery)  ผลงานเขียนเรื่องสุดท้ายของเขาคือ The Computer and the Brain
นอยมันน์มีผลงานเขียนกว่า 150 เรื่อง 60 เรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ , 60  เรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ประยุกต์ , 20 เรื่องเกี่ยวกับฟิสิก

Don`t copy text!