Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Louis XVI

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสมักกรอบเวลายุค Enlightenment ว่าเร่ิมตั้งแต่ 1715 หลังการสวรรคตของกษัตริย์ หลุยส์ ที่ 14 , Enlightenment เป็นยุคเฟืองฟูของปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีนักปราชย์สำคัญ อาทิ คานต์ (Immanuel Kant)  ที่เน้นเรื่องการใช้เหตุผลกับรุตโซ่ (Jean Jacques Rousseau) เรื่องความเสมอภาค, มอนเตสอิว (Montesquieu) เรื่องการแบ่งแยกอำนาจ,
หลุยส์ ที่ 16 (Louis XVI)
Founding Father of the United States 
หลุยส์ ที่ 16 มีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 1754 ภายในพระราชวังแวร์ซายย์ (Versailles)
ทรงเป็นรัชทายาทองค์ที่ 4 และโอรสองค์ที่สามของเจ้าชายหลุยส์ เฟอร์ดินันด์ (Louis Ferdinand, The Dauphin) กับเจ้าหญิงมาเรีย แห่งแซ็คโซนี่ (Maria-Josephe of Saxony) พระธิดาของกษัตริย์แห่งโปแลนด์ เจ้าหญิงมาเรีย แห่งแซ็คโซนี่ เป็นพระชายาคนที่ 2 ของเจ้าชายหลุยส์ เฟอร์ดินันด์ ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและพระธิดารวมกัน 8 พระองค์ ได้
1. มาเรีย-เซฟีรีน แห่งฝรั่งเศส (Marie-Zephyeine of France, 1750-1755)
2. หลุยส์, ดุ๊กแห่งเบอร์กันดี (Louis de France , Duke of Burgundy,1751-1761) 
3. ซาเวียร์ แห่งฝรั่งเศส (Xavier de France,, Duke of Aquitaine, 1753-1754)
4.หลุยส์-ออกัสเต้, ดุ๊กแห่งเบอร์รี่ (Louis-Auguste de France, Duc de Berry)
5. หลุยส์สตานิสลัส ซาเวียร์ แห่งฝรั่งเศส (Louis Stanislas Xavier de France) ซึ่งภายหลัง ขึ้นครองราชย์เป็น หลุยส์ ที่ 18 ในปี 1814
6.  ชาร์ล ฟิลิปเป้ แห่งฝรั่งเศส, เคาต์แห่งอาร์ตูส์ (Charles Philippe of France, Count of Artois, 1757-1836) ต่อมาครองราชย์ เป็น กษัตริย์ ชาร์ล ที่ 10
7.  โคลติลด์ แห่งฝรั่งเศส (Clotilde de France, 1759-1802) ภายหลังทรงเป็นราชินีซาดิเนียในปี 1796 หลังอภิเษกกับกษัตริย์ชาร์ล เอ็มมานูเอล ที่ 4 แห่งซาร์ดิเนีย (Charels Emmanuel IV of Sardinia)
8. อลิซเบธ แห่งฝรั่งเศส (Elisabeth of France, 1764-1794) ถูกประหารชีวิตพร้อมกับราชนิกูล
ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์  ทรงถูกเรียกพระนามว่าหลุยส์-ออกัสเต้, ดุ๊ก แห่งเบอร์รี่ (Louis-Auguste,  Duc de Berry) ชื่อ หลุยส์-ออกัสเต้ มาจากพระนามของตา กษัตริย์ ออกัส ที่ 3 แห่งโปแลนด์ (King August III of Poland), กับปู่กษัติรย์ หลุยส์ ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส (King Louis XV of France)
1756 ตั้งแต่ยังเล็ก พระองค์ถูกส่งไปยังพระราชวัง Bellevue Palace
ครั้งทรงพระเยาว์ พระบิดาและพระมารดาของพระองค์ไม่ได้ให้ความใส่ใจพระองค์มากนัก เพราะว่าให้ความสำคัญกับเชษฐาของพระองค์ หลุยส์, ดุ๊กแห่งเบอร์กันดี ซึ่งมีลำดับสูงกว่าในการที่จะต้องสืบราชสมบัติ 
หลุยส์-ออกัสเต้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง แต่ทรงขึ้อาย พระองค์ทรงพระอักษรภาษาลาติน อังกฤษ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์  ทรงสามารถตรัสภาษาอิตาลีและอังกฤษได้เป็นอย่างดี  ทรงชื่นชอบการแกะไม้และสลักหิน ซึ่งพระองค์ได้ทรงทำเป็นงานอดิเรกมาตลอดพระชนม์ชีพ
พระอาจารย์ของหลุยส์-ออกัสเต้ บันทึกเอาไว้ว่าพระองค์เป็นคนที่เฉลียวฉลาด รอบรู้ มีความสามารถในหลายด้าน 
หนังสือเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อหลุยส์-ออกัสเต้  คือ Les Aventures de Télémaque ซึ่งบรรยายถึงหน้าที่กษัตริย์ต่อพระเจ้า ความรักที่มีต่อประชาชนและหน้าที่ที่จะต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน
1760 (Conquest of 1760)ม  ฝรั่งเศสเสียดินแดนแคนนาดา จากสงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War)
1761 พระเชรษฐาของหลุยส์ ที่ 16 , หลุยส์-ดุ๊กแห่งเบอร์กันดี สวรรคต
1764 ฝรั่งเศสแพ้ในสงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War, 1755-1764) ทำให้สูญเสียดินแดนอาณานิคมส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือไป และยังมีหนี้สินมากมายจากสงคราม
1765 10 ธันวาคม, พระบิดาของหลุยส์-ออกัสเต้ สวรรคต จากโรควัณโรค , หลุยส์-ออกัสเต้  จึงได้รั้งตำแหน่งรัชทายาท (Dauphin) แทนพระบิดา
1767 13 มีนาคม, พระมารดาของหลุยส์-ออกัสเต้ สวรรรคต จากวัณโรคเช่นเดียวกัน
1770 16 พฤษภาคม, เข้าพิธีอภิเษก อาร์ชดัชเชสส์ มาเรีย-อังตัวเนตต์ (archduchess, Marie-Antoinette Josepha Johanna)  พระธิดาของจักรพรรดิฟรานซิส ที่ 1 (Francis I of Holy Roman) แห่งโฮรี่โรมัน กับพระราชินีมาเรีย เธเรซ่า (Maria Theresa) ขณะนั้นหลุยส์-ออกัสเต้  อายุ 15 ชันษา และมาเรีย-อังตัวเนตต์ อายุ 14 ชันษา ซึ่งพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นภายในพระราชวังแวร์ซาย
ทว่าหลังจากอภิเษกแล้ว ทั้งสองพระองค์ไม่มีรัชทายาทนานถึง 8 ปี  จนกระทั้งปี 1778 พระธิดาพระองค์แรกจึงได้ประสูติมา , ทั้งสองพระองค์มีรัชทายาทด้วยกัน 4 พระองค์ คือ
  • มาเรีย เทเรส  ชาร์ล๊อตต์ (Marie Thérèse Charlotte, 1778-1851) เป็นรัชทายาทพระองค์เดียวที่รอดชีวิต
  • หลุยส์ โจเซฟ (Louis Joseph , 1781-1789), สวรรคตด้วยวัณโรค 
  • ชาร์ล หลุยส์ (Charles Louis, 1785-1795) ถูกคณะปฏิวัติจับขังไว้ในหอคอย ในฐานะของกษัตริย์ หลุยส์ ที่ 17
  • โซเฟีย เฮเลน (Sophie Hélène Beatrice , 1786-1787)
การอภิเษกของทั้งสองพระองค์ไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักจากขุนนางในราชสำนักฝรั่งเศส เพราะว่าส่วนใหญ่ยังฝังใจว่าการเป็นพันธมิตรกับราชวงศ์อับสบูร์ก (Habsburgs) ในอดีตทำให้ฝรั่งเศสต้องกระโจนเข้าสู่สงครามเจ็ดปีมาแล้ว
กล่าวกันว่าสาเหตุที่หลุยส์ ไม่สามารถมีลูกได้ในช่วง 7 ปีแรก เนื่องมาจากทรงมีอาการ phimosis (หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตีบ) จนต่อมาได้เข้ารับการผ่าตัดกับแพทย์ชื่อ Germain Pichault de la Martinière
ทั้งสองพระองค์มีอุปนิสัยที่แตกต่างกัน หลุยส์ เป็นคนที่เงียบ เก็บตัว ไม่ชอบงานสังสรรค์ มีงานอดิเรกคือการแกะสลักเหล็ก การล่าสัตว์, โปรดอ่านหนังสือ ทรงมีห้องสมุดส่วนพระองค์ที่เก็บหนังสือกว่า 8,000  เล่ม หนังสือเล่มที่ทรงโปรด อาทิ โรบินสัน ครูโซ่ (Robinson Crusoe) 
มาเรีย-อังตัวเนตต์ ชอบแฟชั่น ความหรูหรา งานสังสรรค์ โปรดดอกไม้และเครื่องดื่มช๊อคโกแล็ต นักประวัติศาสตร์หลังการปฏิวัติจึงเรียกพระองค์ว่า Madame Déficit หมายถึง ผู้ที่ทำให้ขาดดุลงบประมาณ แต่อีกด้านหนึ่ง มาเรีย-อังตัวเนตต์ รับอุปการะเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกไว้จำนวนมาก ทรงสร้างศูนย์ดูแลเด็กกำพร้า และสร้างห้องสมุด
การที่พระองค์เป็นนักอ่าน มีอิทธิพลที่ทำให้เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ทรงมีนโยบายที่จะประกาศเลิกทาส, ลดภาษี และให้เสรีภาพทางศาสนา, รวมถึงการที่ทรงสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกาด้วย แต่ว่าพระประสงค์ของพระองค์นั้นไม่สำเร็จลุล่วง เพราะว่าเหล่าขุนนางในเวลานั้น
1774 10 พฤษภาคม, หลุยส์-ออกัสเต้ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ หลุยส์ ที่ 16 หลังจาก กษัตริย์ หลุยส์ ที่ 15 สวรรคต 
11 มิถุนายน, พิธีราชาพิเษกถูกจัดขึ้นที่ Cathedral of Reims ซึ่งประชาชนต่างพากันยินดี และเรียกขานพระองค์ว่าเป็น le desier (รอคอยมานาน) พระองค์นั้นไม่ได้โปรดที่จะเป็นกษัตริย์นัก แต่ว่าทรงถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ
หลุยส์ ที่ 16 เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของฝรั่งเศสที่ตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างครองแคร่ว และยังรู้จักปรัชญา Enlightenment เป็นอย่างดี พระองค์ทรงวางพระองค์เองเหมือนว่าเป็นชายธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งการที่ไม่โปรดพิธีการต่างๆ ทำให้ในการปกครองพระองค์ไม่มีเสียงของขุนนางที่คอยสนับสนุน เมื่อต้องการผ่านกฏหมายในรัฐสภา
เมื่อขึ้นดำรงค์ตำแหน่งไม่นาน หลุยส์ ก็ปลดนายกรัฐมนตรี Rene Maupeou ออกจากตำแหน่ง 
ช่วงต้นของการครองราชย์ ทรงออกกฏหมาย ให้สิทธิในการนับถือศาสนากับประชาชนแก่ประชาชนทั่วไป 
(Turgot Reform) , งานสำคัญชิ้นแรกของหลุยส์ คือ การปฏิรูปเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ซึ่งเศรษฐกิจตกต่ำมาหลายปีก่อนที่พระองค์จะรับตำแหน่ง และมีการขาดดุลการคลังมหาศาล พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งเตอร์ก๊อต (Anne Robert Jacques Turgot) เป็นรัฐมนตรีคลัง 
เตอร์ก๊อต ซึ่งมีแนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรี  ตามทฤษฏี Physiocracy ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งของ Enlightenment ในยุคนั้น  (Physiocracy เห็นว่าความมั่งคั่งของชาตินั้น วัดจากราคาของที่ดิน ผู้รับแนวคิดนี้ จึงเห็นว่าควรทำให้ราคาสินค้าเกษตรมีราคาสูง และรัฐบาลไม่ควรจะเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด โดย Vincent de Gournay นักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อเตอร์ก๊อต ได้ปกป้องแนวคิดนี้โดยอ้างว่า “laissez faire, laissex passer / leave it alone, and let it pass / ปล่อยมัน, แล้วมันจะผ่านไป”
เตอร์ก๊อตได้เสนอให้มีการลดรายของราชสำนักลง และเปิดเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งหลุยส์ ได้ทรงทำตามคำแนะนำ มีการสั่งให้ลดการใช้จ่ายของราชสำนัก 
13 กันยายน, ออกกฤษฏีกาให้เปิดเสรีในการค้าข้าวภายในประเทศและเสรีในการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ แต่ผลกลับกลายเป็นว่าเกิดข่าวลือว่าเกิดภาวะภัยแล้งภายในประเทศ ทำให้ราคาข้าวและขนมปังขยับสูงขึ้น
1775 (Flour War),ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม หลายภูมิภาคของฝรั่งเศสเริ่มเกิดการจราจลจากราคาข้าวและขนมปังที่สูงขึ้น
ฝรั่งเศสเริ่มสงความช่วยเหลือให้กับฝ่ายปฏิวัติอเมริกา แม้ว่าเตอร์ก๊อตจะคัดค้านการให้ความช่วยเหลือนี้แต่ไม่เป็นผล
1776 เมษายน, หลุยส์ ที่ 16 ปลดเตอร์ก๊อตออก เมื่อรัฐสภาไม่ผ่านกฏหมายในการขึ้นภาษี  , และได้ทรงแต่งตั้งชาร์ล บริเอน (Étienne Charles de Loménie de Brienne) เป็นรัฐมนตรีคลังแทน  แต่ไม่นานเขาก็พิสูจน์ตัวเองว่าไร้ความสามารถที่จะทำงานในตำแหน่งได้ หลุยส์มีความต้องการที่จะตั้งณ๊าค เนคเกอร์ (Jacques Necker ) ชาวสวิสเป็นรัฐมนตรีคลังคนใหม่ แต่ติดว่าเนคเกอร์เป็นโปรเตสแตนท์ เนคเกอร์จึงได้รับแค่ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยของ ชาร์ล บริเอน, แต่ว่าเนคเกอร์มีบทบาทสำคัญและยังสนับสนุนการปฏิวัติในอเมริกา
4 กรกฏาคม,  อเมริกาประกาศเอกราช (Declaration of Independence),  ที่ประชุม Continental Congress โดยผู้แทนของ 13 รัฐได้ประกาศแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ  ทำให้ต้องทำสงครามกับอังกฤษ
เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ถูกส่งมาเป็นฑูตอเมริกัน ประจำฝรั่งเศสระหว่าง ปี 1776-1778
หลุยส์ เห็นว่าการประกาศเอกราชของอเมริกา เป็นโอกาส
ฝรั่งเศสส่งความช่วยเหลือให้กับอเมริกา โดยผ่านบริษัทิ Rodrigue Hortalez et Compagnie  ตั้งขึ้นโดย ปิแอร์ บัวมาร์เช่ส์ (Pierre-Augustin Caron de Beaumarchais) ซึ่งเป็นพ่อค้า, นักประดิษฐ์, สายลับ, ช่างนาฬิกา ที่มีความใกล้ชิดกับหลุยส์ ที่ 16 ความช่วยเหลือที่ฝรั่งเศสให้กับอเมริกานั้น ประมาณกันว่ามีสัดส่วนถึง 90% ของอาวุธที่อเมริกาใช้ในสงคราง และฝรั่งเศสยังให้เงินสนับสนุนกว่า 5 ล้านลีฟร์ (livres) อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีทหารอาสาสมัครฝรั่งเศสอีกหลายคน อย่างปิแอร์ ล เลออองฟองต์ (Pierre Charles L’Enfant) และลาฟาเยตต์ ( Lafayette) ขุนนางของฝรั่งเศสที่เข้าร่วมรบในสงครามด้วย
1777 มิถุนายน, เนคเกอร์ได้เป็นรัฐมนตรีคลัง เขามีผลงานฟื้นฟูฐานะการเงินของประเทศได้อย่างดี ด้วยการให้รัฐกู้เงินต่างประเทศมาและปล่อยเงินกู้ ทั้งยังออกล๊อตเตอร์รี่เพื่อหารายได้ 
1778 6 กุมภาพันธ์, ฝรั่งเศสทำสนธิสัญญาสองฉบับกับอเมริกา Franco-American Treaty และ Treaty of Amity and Commerce ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศรับรองว่าสหรัฐฯ เป็นรัฐเอกราช
หลุยส์ ที่ 16 ประกาศให้การสนับสนุนคณะปฏิวัติของของอเมริกัน  ที่พยายามสู้กับอังกฤษเพื่อประกาศอิสระภาพ , ฝรั่งเศสได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ , ทรงพระราชทานเงินช่วยเหลือและอาวุธให้กับฝ่ายอเมริกัน แต่ว่าการสนับสนุนการปฏิบัติอเมริกา ทำให้ฝรั่งเศสติดหนี้สินมหาศาล เป็นเงินกว่า 1 พันล้านลีฟร์ ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเองประสบปัญหา และเป็นฉนวนให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) 
จากจดหมายลงวันที่ 8 มกราคม 1778 ของมอนต์โมริน (Armand Marc, comte de Montmorin)  ทูตฝรั่งเศสประจำสเปน นั้นบอกว่าการตัดสินใจสนับสนุนอเมริการนี้ เป็นการตัดสินใจของหลุยส์ด้วยพระองค์เอง 
17 มิถุนายน, (Action of 17 June 1778) เรือรบอังกฤษใกล้กับคาบสมุทร์ลิซาร์ด (The Lizard) ได้ยิงปืนใหญ่เข้าใส่เรือรบของฝรั่งเศส เป็นการปะทะกันครั้งแรกระหว่างสองมหาอำนาจในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกา
13 เมษายน, ชาร์ล ดิเอสติง (Charles Henri d’Estaing) ได้รับคำสั่งให้นำเรือ 12 ลำ  และเรือฟรีเกต อีก 5 ลำ ออกจากตูลอน (Toulon) เพื่อนำอาวุธและทหารฝรั่งเศสกว่า 10,000 นายไปยังอเมริกา กองเรือของดิเอสติง ไปถึงเกาะโรดไอร์แลนด์ (Rhode Island) ในเดือนกรกฏาคม และได้เริ่มรบในสมรภูมิที่กรีนาด้า (Battle of Grenada)
ปีนี้เกิดภาวะอดอยากในฝรั่งเศส , มาเรีย-อังตัวเนตต์ เอาเครื่องประดับส่วนพระองค์ออกมาขายเพื่อซื้อข้าวให้กับครอบครัวผู้ยากไร้ นอกจากนั้นสองพระองค์ยังกินข้าวที่ราคาถูกลงด้วยเพื่อที่จะเหลืออาหาร ทราบกันมานานแล้วว่า มาเรีย-อังตัวเนตต์ ไม่เคยพูดประโยคว่า “"Qu’ils mangent de la brioche/ Let them eat cake/ก็ให้พวกเขากินเค้กสิ” เพื่อดูถูกคนยากจน , ประโยคนี้ อยู่ในหนังสือ Confessions ของรุซโซ่ ซึ่งเขียนในปี 1765 ซึ่งขณะนั้นมาเรีย-อังตัวเนตต์ มีอายุเพียง 9 ชันษา
การประชุม Assemble of Nobles  ของเหล่าขุนนาง เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับวิกฤตการคลังของประเทศ  แต่ว่าที่ประชุมมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง รุนแรง และไม่ได้ข้อยุติ หลุยส์ที่ 16 จึงตัดสินใจยุบสภาลง
1781 กุมภาพันธ์, เนคเกอร์พิมพ์รายงาน Compte rendu au roi (report to the king) เป็นรายงานการคลังของประเทศให้สาธารณะชนได้รับรู้รายรับและรายจ่ายเป็นครั้งแรก เพื่อแสดงฐานะการคลังของประเทศที่มีรายรับรายจ่ายประมาณ 10 ล้านลีฟร์ แต่ว่า Compte rendu ของเนคเกอร์ปกปิดเงินกู้ 520 ล้านลีฟร์ที่กู้มาระหว่างที่เขาอยู่ในตำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ไปสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา
เนคเกอร์ทำรายงานฉบับนี้เพื่อแสดงว่าฝรั่งเศสมีฐานะการเงินที่เข้มแข็ง เพื่อจะนำไปขอกู้เงินอีกเพื่อไปสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา รายงาน Compte rendu นี้ทำให้เนคเกอร์ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชน และยังทำให้ประชาชนของฝรั่งเศสสนับสนุนการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯด้วย
พฤษภาคม, เนคเกอร์ลาออกจากตำแหน่ง เพราะว่า Compte rendu ถูกโจมตีจากสภา  หลุยส์ได้ทรงตั้งชาร์ล โคโลญจ์ (Chales-Alexandre de Colonne)  ขึ้นแทน ตอนที่เขาเข้ารับตำแหน่งนั้นพบว่าฝรั่งเศสมีหนี้สินอยู่ 110 ล้านลีฟร์
1783 รมต.โคโลนน์ พยายามปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยเปิดเสรีการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศมาขึ้น  ส่งเสริมการแข่งขัน, อนุญาตให้นำทรัพ์สินของโบสถ์ออกขาย, เก็บภาษีเกลือและยาสูบ แต่ว่าโดยรวมแล้วแผนของเขาถูกต่อต้านจากรัฐสภา
3 กันยายน, (Peace of Paris) การลงนามสนธิสัญญาสันติภาพกรุงปารีส เป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดสงครามการปฏิวัติอเมริกา ถูกจัดขึ้นภายในพระราชวังแวร์ไซน์  ลงนามโดยเดวิด ฮาร์ตเลย์ (David Hartley) ผู้แทนจากอังกฤษ และจอห์น อดัม (John Adams) , จอห์น เจย์ (John Jay) และเบนจามิน แฟรงคลิน 
1785 คดีสร้อยเพชร (Affair of the Diamond Necklace
สร้อยเพชรชิ้นหนึ่ง ถูกสั่งทำโดยหลุยส์ ที่ 15 (Louis XV) ช่วงต้นปี 1770s โดยผีมือของช่างฝีมือชาวปารีส ชื่อ ชาร์ล (Clarles-Auguste Böhmer) และพอล (Paul Bassenge) เป็นสร้อยที่ใช้เพชรน้ำหนักรวมกัน 2,800 การัต ซึ่งหลุยส์ ที่ 15 ได้สั่งทำขึ้นเพื่อจะมอบให้กับมาดามบาร์รี่ (Madame du Barry) แต่ว่าหลุยส์ ที่ 15 สวรรคตก่อนที่สร้อยจะเสร็จ 
สร้อยเส้นนี้จึงถูกเสนอขายให้กับพระราชินี มาเรีย-อังตัวเนตต์ สองหน ในปี 1778, 1784 แต่ว่าพระองค์ปฏิเสธที่จะซื้อ 
ต่อมาในเรื่องนี้มีตัวละครใหม่เข้ามาคือ พระคาร์ดินัล โรฮัน (Cardinal de Rohan, bishop of Strasbourgh) ซึ่งแอบหลงรักพระราชินี มาเรีย-อังตัวเนตต์ แต่ว่าพระราชินีไม่โปรดพระคาร์ดินัล โรฮันเพราะว่าพระคาร์ดินัลเคยเขียนจดหมายโจมตีพระมารดาของพระองค์ (มาเรีย-เทเรซ่า แห่งออสเตรีย) 
พระคาร์ดินัล โรฮัน ต้องการกลับมาเป็นที่โปรดของราชสำนักอีก จึงถูกหลอก
คืนวันที่ 11 สิงหาคม, 1784 พระคาร์ดินัล โรฮัน ได้นัดพบกับผู้หญิงคนหนึ่งในสวนของพระราชวังแวร์ซายย์ ซึ่งพระคาร์ดินัล โรฮัน เข้าใจว่าเป็นพระราชินี  ซึ่งความเป็นจริงแล้วผู้หญิงคนนี้เป็นโสเภณี ชื่อนิโคล (Nicole Leguay) ที่มีใบหน้าคล้ายกับพระราชินี ถูกว่าจ้างมาโดย จีนน์ เดอ วาลอยส์ เซนต์-เรมี (Jeanne de Valois-Saint-Rémy) หรือฉายา มาดาม เดอ ลา มอตเต้ (Madame de La Motte)
โสเภณีซึ่งปลอมเป็นพระราชินีถูกสั่งให้บอกกับพระคาร์ดินัลโรฮัน ว่าพระองค์ต้องการที่จะได้สร้อยเพชรชิ้นนี้โดยที่ไม่ต้องการให้หลุยส์ทรงทราบ และโสเภณีได้มอบตั๋วเงินซึ่งมีลายเซ็นต์ปลอมของพระราชินีอยู่ แต่แท้จริงแล้วเซ็นต์โดย หลุยส์ มาร์ค วิลเลตต์ (Louis Marc Antoine Retaux de Villette)  มูลค่า 1.6 ล้าน โดยแบ่งจ่ายเป็นสี่ไตรมาส ครั้งแรกวันที่ 31 กรกฏาคม 1785 , ไม่นานสร้อยเพชรถูกส่งถึงมือของ มาดาม เดอ ลา มอตเต้ และเธอได้แกะเพชรนำไปขาย
12 กรกฏาคม, ช่างเพชรได้ไปพบกับพระราชินี มาเรีย-อังตัวเนตต์ ตัวจริง เพื่อมอบตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ แต่ว่าพระราชินี ไม่เข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น จึงได้ทรงเผาตั๋วเรียกเก็บเงินทิ้งซะ 
1 สิงหาคม, ช่างเพชรติดต่อกับนางสนมของพระราชินี ชื่อว่ามาดาม แคมปัน (Madam Campan) จึงรู้ว่าตั๋วเรียกเก็บเงินถูกเผาทิ้งแล้ว ช่างเพชรยังไม่เชื่อว่าพระราชินีตัวจริงไม่รู้เกี่ยวกับการสั่งซื้อสร้อยเพชร
9 สิงหาคม, ช่างเพชรได้เข้าเฝ้าพระราชินี มาเรีย-อังตัวเนตต์ และเรื่องทั้งหมดจึงถูกเปิดเผยและมีการดำเนินคดี
พระคาร์ดินัล โรฮัน ถูกจับและขังไว้ภายในคุกบัสติลล์ ระหว่างการดำเนินคดี แต่ว่าวันที่ 31 พฤษภาคม 1786 ได้รับการตัดสินให้พ้นผิดในคดีที่ถูกหลอกให้ซื้อสร้อยเพชร แต่ว่าถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองลาเชสดู (Abbey de lad Chaise-Dieu)
มาดาม เดอ ลา มอตเต้ ถูกเฆี่ยน และรับโทษจับคุกตลอดชีวิต แต่ว่าไม่นาน ในปี 1789 เธอหนีออกจากคุกได้ และเดินทางไปอาศัยอยู๋ในลอนดอน
1786 โคโลนน์เสนอแผนปฏิรูปเศรษฐกิจต่อหลุยส์ ซึ่งหัวใจหลักของแผนคือการให้เสรีการค้าภายในประเทศ และการเก็บภาษีที่ดินแบบใหม่ (land value tax) ซึ่งจะยกเลิกสิทธิพิเศษของชนชั้นสูงที่เคยได้รับการยกเว้นภาษี และภาษีระบบใหม่นี้จะเก็บผ่านสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกโดยเจ้าของที่ดินในพื้นที่นั้นเป็นผู้เลือก 
แต่ว่าโคโลนน์รู้อยู่แล้วว่ารัฐสภาจะไม่ผ่านกฏหมายนี้ เขาจึงโน้มน้าวให้หลุยส์เปิดประชุมสภาชนชั้นสูง ( Assembly of Notables) ขึ้นมา
1787 22 กุมภาพันธ์, เปิดการประชุมสภา Assembly of Notables ที่พระราชวังแวร์ซายย์ แม้ว่าแผนการเก็บภาษีที่ดินของโคโลนน์ จะได้รับการสนับสนุนจากหลุยส์ แต่ว่าที่ประชุมปฏิเสธเพราะพวกเขาได้รับผลกระทบ ประธานในที่ประชุมคือ ชาร์ล บริเอน อดีตรัฐมนตรีคลัง , เขากล่าวหาว่าโคโลนน์เป็นต้นเหตุของการขาดดุลการคลังจำนวนมหาศาล เขาควรจะรับผิดชอบ 
8 เมษายน, โคโลนน์ออกจากตำแหน่งหลังจากกฏหมายปฏิรูปของเขาไม่ผ่านสภา Assembly of Notables , หลุยส์ ได้ตั้งชาร์ล บริเอน เป็นนายกรัฐมนตรี และให้ดูแลงานด้านการคลังด้วย
25 พฤษภาคม, หลุยส์ ที่ 16 สั่งยุบสภา Assembly of Notables
7 พฤศจิกายน, หลุยส์ ที่ 16 ตรากฤษฏีกาแวร์ซายย์ (Edict of Versailles) ซึ่งให้สิทธิพลเมืองที่ไม่ใช่แคโธริค มีสิทธิในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตนเองได้อีกครั้ง  รวมถึงมีสิทธิในการแต่งงานโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา { ตั้งแต่ 22 ตุลาคม 1685,  หลุยส์ ที่  14 ตรากฤษฏีกา Edict of Fontainebleau (Revocation of the Edict of Nantes) เพื่อยกเลิกกฤษฏีกา  Edict of Nantes ซึ่งเป็นกฏหมายที่ออกตั้งแต่ปี 1598 โดยกษัตริย์อองรี ที่ 4 (Henry IV of France) ตามกฏหมายนั้นอนุญาตให้ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนท์มีสิทธิในการนับถือนิกายของตนเอง ในขณะที่ยุคนั้นยังประชาชนส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสยังเป็นแคโธริค แต่เมื่อหลุยส์ ที่ 14 ประกาศใช้ Edict of Fontainebleau มายกเลิกสิทธิดังกล่าว มีการบังคับให้โบสถ์และโรงเรียนของนิกายโปรเตสแตนท์ต้องปิดตัวลง และผู้นับถือโปรเตสแตนท์กว่าล้านคนได้ทยอยเดินทางออกจากฝรั่งเศสในช่วงเวลาสิบปี แม้ว่าหลุย ที่ 14 จะสวรรคตไปกว่าร้อยปีแล้ว แต่ Edict of Foontainbleau ยังมีผลบังคับใช้ จนกระทั้งถูกยกเลิกในสมัยของหลุยส์ ที่ 16 }
1788 สิงหาคม, ชาร์ล บริเอน ลาออกจากตำแหน่ง เพราะว่าประเทศอยู่ในภาวะล้มละลาย ไม่สามารถชำระหนี้ได้กว่า 6 สัปดาห์, หลุยส์ ได้ตั้งเนคเกอร์กลับมาดูแลการคลัง
::French Revolution::
1789 5 พฤษภาคม, เปิดประชุมสภาฐานันดร  (Estate General) ภายในพระราชวังแวร์ซาย เป็นการประชุมที่จัดขึ้นครั้งแรก หลังจากมีกฏหมายนี้มาแล้ว 150 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการคลัง ที่ประชุมประกอบไปด้วยผู้แทนจากสามกลุ่ม คือ ขุนนาง, นักบวช, และประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและแรงงาน ซึ่งการประชุมดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่น
20 มิถุนายน, (Tennis Court Oath) ผู้แทนของกลุ่มฐานันดร ที่ 3 (3rd Estate) ได้ประกาศตัวเองเป็นสภาแห่งชาติ (National Assembly) และประกาศจะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา , ทว่าตอนแรกหลุยส์ ที่ 16 ไม่ยอมรับสภาแห่งชาตินี้และได้สั่งให้ทหารเข้ามาดูแล แต่ว่ามีทหารและประชาชนส่วนใหญ่ในปารีสเวลานั้นตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นมาเพื่ออารักขาสมาชิกของสภาแห่งชาติ
14 กรกฏาคม, ข่าวลือว่าหลุยส์ ใช้กำลังยุบ National Assembly ทำให้เกิดการประท้วงและจราจลในปารีส และผู้ชุมนุมการบุกปล้นอาวุธในคุกบัสติล (the Bastile) กลายเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส จากนั้นผู้ชุมนุมได้บังคับให้หลุยส์ และสมาชิกราชวงศ์ย้ายจากพระราชวังแวร์ซายย์ และถูกกักบริเวณที่พระราชวังตูเลรีส์ (Tuileries palace) ใจกลางกรุงปารีส และหลุยส์ ที่ 16 จำต้องยอมรับอำนาจของ National Assembly
หลุยส์ ทรงบันทีกไดอารี่ของพระองค์ในวันนี้เอาไว้ว่า “Rein” (Nothing, ศูนย์) , หลุยส์ ที่ 16 ไม่ยอมรับอำนาจของ National Assemble ตั้งแต่ต้น พระองค์ระวังอยู่แล้วว่าเหตุการณ์วุ่นวายนี้จะเกิดขึ้น และได้มีการวางกำลังทหารเอาไว้รอบกรุงปารีส แต่ว่าการใช้กำลังทหารก็ไม่อาจจะหยุดความวุ่นวายได้
สมุดบันทึกของหลุยส์ ไม่ใช่สมุดที่พระองค์บันทึกเหตุการณ์ประจำวันหรือความคิด แต่ว่าพระองค์ชอบการล่าสัตว์และจะบันทึกจำนวนสัตว์ซึ่งถูกพระองค์หรือสมาชิกในราชวงศ์ฆ่าในแต่ละวันเอาไว้ แต่ว่าที่ 14 นี้พระองค์บอกว่า “ศุนย์” 
1791 21 มิถุนายน, หลยุส์ ที่ 16 พยายามจะหลบหนีออกจากปารีส ไปยังมงเมดี้ (Montmedy)  เมืองซึ่งเป็นค่ายทหารทางตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งยังคงจงรักภักดี โดยมีเจ้าหน้าที่อารักขา 3 คนติดตาม แต่ว่าถูกจับตัวได้ที่ วาเรนน์ (Varennes) ใกล้กับพรหมแดนเยอรมัน  เมื่อพระองค์ถูกส่งตัวกลับมายังปารีส การหลบหนีนี้ทำให้ฝ่ายปฏิวัตินำมาโจมตีว่าพระองค์ไม่มีความเหมาะสมกับการเป็นกษัตริย์อีก
3 กันยายน, รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ (Frecnch Constitution of 1971) ฝรั่งเศสเปลี่ยนการปกครองมา
14 กันยายน, หลยุส์ ที่ 16 ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ
1792 22 เมษายน, ประกาศสงครามกับออสเตรีย โดยทรงหรั่งพระแสงไปพร้อมกัน
10 สิงหาคม, มีผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งบุกพระราชวังตูเลรีส์ หลังจากนั้นอีกสามวัน 
13 สิงหาคม, หลุยส์ ที่ 16 ก็ถูกจับเข้าคุก Temple (Paris) ในป้อมปราการเก่าของอัศวินเทมพลาร์ในปารีส ในฐานะนักโทษ
2 กันยายน, Legislative Assembleประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ
11 ธันวาคม, หลุยส์ ที่ 16 ถูกนำตัวขึ้นสอบสอบสวน โดยที่ประชุมแห่งชาติ (National Convention) และถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเป็นกบฏร้ายแรง (high treason) ด้วยคะแนนเสียง 361 ต่อ 360 ตัดสินประหารชีวิต
1793 21 มกราคม, ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน บริเวณพระราชวังแห่งการปฏิวัติ (Palace de la Revolution)
ก่อนที่จะถูกประหาร ทรงตรัสประโยคสุดท้ายว่า
“I die innocent of all the crimes imputed to me. I pardon the authors of my death, and pray God that the blood you are about to shed will never fall upon France.
ข้าพเจ้าตายเช่นผู้บริสุทธิปราศจากมลทิลใดๆ ตามที่ถูกกล่าวหา, ข้าพเจ้าอโหสิกรรมให้กับผู้เขียนจุดจบของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าอธิษฐานต่อพระผู้เป็นเจ้าโปรดได้ทรงอำนวยพระพร ให้โลหิตที่กำลังจะไหลรินของข้านั้นหาได้เป็นจุดจบของฝรั่งเศส”
16 ตุลาคม, มารี อังตัวเนตต์ ถูกประหารชีวิต
หลังหลุยส์สวรรคต คณะปฏิวัติได้ตั้งนามสกุลของพระองค์ว่า Capet ตามพระนามของฮูกห์ คาเปต (Hugh Capet) กษัตริย์พระองค์แรกของแฟรงค์ (Franks)  ซึ่งคณะปฏิวัติเรียกหลุยส์ ที่ 16 ว่า หลุยส์ คาเปต เพื่อเป็นการหลบหลู่
พระศพถูกนำมาฝังไว้ที่สุสานเมเดลีน (cemetery de la Madeleine)

1815 ในรัชสมัยของหลุยส์ ที่ 18 , มีการย้ายพระศพมาไว้ที่วิหารเซนต์เดนิส (Basilica of Saint-Denis)

Don`t copy text!