Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

George Lakoff

จอร์จ เลคอฟฟ์ (George P. Lakoff)
แนวคิด Conceptual metaphor
เลคอฟฟ์ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1941 ในนิวเจอร์ซี่ (Bayonne, New Jersey)
1962 สำเร็จการศึกษาจากด้านคณิตศาสตร์และวรรณกรรม จากเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology)
1963 9 มิถุนายน, แต่งงานกับโรบิ้น (Robin Tolmach Lakoff)
1965 สอนหนังสือที่ฮาร์วาร์ด (Harvard) 
1966 จบปริญญาเอกด้านภาษาศาสตร์จาก ม.อินเดียน่า (Indiana Universtiy)
1969 ย้ายมาสอนที่ ม.มิชิแกน (University of Michigan)
1972 มาสอนหนังสือที่ ม.แคลิฟอร์เนีย, เบิร์กเลย์ (University of California at Berkeley) ในคณะวิทยาศาสตร์การรับรู้และภาษา (Cognitvie Science and Linguistics) เขาทำงานอยู่ที่เบิร์กเลย์จนปัจจุบัน
ช่วงปลายปี 1970s เลคอฟฟ์ ร่วมกับไมเคิ้ล เรดดี้ (Michael Reddy) ค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับ Conceptual metaphor ในการใช้ภาษาของมนุษย์ ซึ่งเราแทบไม่รู้ตัวเลยว่า เหตุผล (reason) หรือแนวความคิด (idea) ที่เรามองว่าเป็นนามธรรม (abstract) นั้น ถูกทำให้เป็นรูปธรรม (object) ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนนามธรรมเป็นรูปธรรมในภาษานี่แหละเมตาฟอร์ (embodied metaphorical thought)
คอนเซปต์ของการสื่อสาร
– แนวคิดเป็นวัตถุ (Ideas Are Objects.)
– ภาษาเป็นพาหนะซึ่งถูกใช้เพื่อใส่แนวคิดเชิงวัตถุ (Language Is a Container for Idea-Objects.)
– การสื่อสารก็คือการส่งแนวคิดเชื่งวัตถุโดยการใช้ภาษา (Communication Is Sending Idea-Objects in Language-Containers.)
1980 เขียน  Metaphors We Live By ร่วมกับมาร์ค จอห์นสัน (Mark Johnson) ซึ่งหนังสือเล่มนี้ชี้เกี่ยวกับประเด็นการใช้เมตาฟอร์ในภาษาของมนุษย์ ซึ่งสมมุติฐานของเลคอฟฟ์และมาร์ค นั้นบอกว่าไม่เพียงแต่ว่าเฟตาฟอร์จะถูกใช้เพื่ออธิบายแนวคิดเพื่อการสื่อสารเท่านั้น แต่ว่าเมตาฟอร์สัมพันธ์กับการทำงานของสมองด้วย (mapping the brain’s metaphor circuitry) 
ผลงานเขียน

Don`t copy text!