Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Ulric Neisser

อูลริค ไนซ์เซอร์ (Ulric Gustav Neisser)
Father of Cognitive Psychology
ไนซ์เซอร์ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม  1928 ในเคล, เยอรมัน (Kiel, Germany) เขามีชื่อเล่นว่าดิ๊กกี้ (Dickkie) แต่เพื่อนๆ เรียกว่าดิ๊ก (Dick) และชื่อจริงเดิม “Ulrich” แต่ภายหลังมีการตัดตัวอักษา “h” ออกไปเมื่อย้ายมาอยู่ในสหรัฐฯ โดยให้เหตุผลว่าต้องการให้ดูเป็นอเมริกันมากขึ้น
พ่อของเขาเป็นชาวยิวชื่อว่าฮานส์ (Hans Neisser) เป็นนักเศรษฐศาสตร์  ส่วนแม่ชื่อว่าชาร์ล๊อตต์ (Charlotte “Lotte” Neisser) เธอนับถือแคโธริกและเป็นนักเคลื่นไหวเพื่อสิทธิสตรีในเยอรมัน 
1933 เมื่อพรรคนาซีเริ่มมีอำนาจในเยอรมัน พ่อจึงได้พาครอบครัวอพยพมาอยู่ในอเมริกา พวกเขามาอาศัยอยู่ที่สวาร์ธมอร์, เพนซิลวาเนีย (Swarthmore, Pennsylvania) โดยฮานส์ได้งานสอนที่โรงเรียนวอร์ตัน (Wharton School, University of Pennsylvania)
เมื่ออยู่ในอเมริกา เนสเซอร์วางเป้าหมายให้กับตัวเองที่จะเป็นนักกีฬาเบสบอลที่ประสบความสำเร็จ 
1946 เข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ด (Harvard) และเลือกเรียนเอกด้านจิตวิทยา เขามีความสนใจจิตวิทยาแบบเกสตัลต์ (Gestalt psychology) และได้จอร์จ มิลเลอร์ (George Miller) เป็นที่ปรึกษาด้านการเรียนจิตวิทยาและภาษา
1950 จบปริญาตรีจากฮาร์วาร์ด โดยเกียรตินิยม (summa cum laude)
หลังจากเรยนจบได้เข้าเรียนต่อโทที่วิทยาลัยสวาร์ธมอร์ (Swarthmore Colloge) โดยได้เป็นลูกศิษย์ของโคห์เลอร์ (Wolfgang Köhler)
1952 จบปริญญาโทจากสวาร์ธมอร์ หลังจากเรียนจบเขาติดตามจอร์จ มิลเลอร์ไปยังเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) แต่ว่าไม่นานก็ได้กลับมาที่สวาร์ธมอร์ เพราะได้รับตำแหน่งเป็นอาาจารย์ และเข้ายังลงเรียนต่อปริญญาเอกที่ฮาวาร์ดด้วย
1956 จบปริญญาเอกจากฮาร์วาร์ด
1957 ได้เป็นอาจารย์ในคณะจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแบรนไนส์ (Brandeis University)
1960 มีผลงานแบบจำลองเกี่ยวกับทฤษฏีความจำ ชื่อว่า pandemonum model of pattern recognition พิมพ์ลงในหนังสือ Scientific American โดยเขาสร้างโมเดลนี้ร่วมกับเซลฟริดจ์ (Oliver Selfridge)
ไม่นานเขาย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) ซึ่งที่นี่เขาเริ่มเขียน Cognitive Psychology
1967 Cognitive Psychology
1976 Cognition and Reality หนังสือเล่มนี้ไนซ์เซอร์ท้าท้าย Cognitive Psychology ของตัวเองและนักวิทยาศาสตร์ในด้านนี้ ว่าหมกหมุ่นกับแบบจำลองและห้องวิจัยมากเกินไปจนกระทั้งละเลยการศึกษาข้อมูลจากสภาพแวดล้อมจริงๆ 
ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ ม.คอร์แนลล์ (Cornell University)
1981 John Dean’s Memory : a case study
1983 ย้ายมาทำงานที่มหาวิทยาลัยอีโมรี (Emory University) และได้ก่อตั้งโครงการ Emory Cognition Project 
1986 เกิดเหตุการณ์กระสวยอวกาศชาแลนเจอร์ระเบิด (Challenger space shuttle) เมื่อทราบข่าว ไนซ์เซอร์ได้ให้นักศึกษาของเขาทำแบบทดสอบ โดยให้บรรยายเหตุการณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากได้ข่าวการระเบิดนั้น ซึ่งต่อมาเขาได้ให้นักศึกษาชุดเดิมทำแบบทดสอบเดิมอีกครั้ง ซึ่งไนซ์เซอร์พบว่าคำตอบของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ น้อยกว่าหนึ่งในสิบของนักศึกษาที่ให้ข้อมูลถูกต้อง แต่ทุกคนกลับเชื่อว่าข้อมุลชุดหลังของตัวเองถูกต้อง ไนซ์เซอร์จึงเรียก Mind (จิต) เป็น conflated things (ส่ิงที่ถูกนำมารวมๆ กัน) เขาบอกว่า ความทรงจำของเรานั้น แท้จริงแล้วเป็นความทรงจำถึงความทรงจำที่ถูกสร้างขึ้นมาอีกที
1995 ได้ตำแหน่งประธานของสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐฯ (American Psychological Association)
1996 กลับมาสอนหนังสือที่คอร์แนลล์ 
1998 เกษียณ , 
The Rising Curve : Long-Term Gains in IQ and Related Measures
2012 17 กุมภาพันธ์, เสียชีวิตจากอาการของโรคพาคินสัน (Pakinson’s disease) ที่อินธาคา, นิวยอร์ค (Ithaca, N.Y.)
ชีวิตส่วนตัว แต่งงานครั้งแรกกับแอนนา (Anna Gabrielle Pierce) มีลูกด้วยกันสี่คน ฟิลิป(Philip), โทเบียส (Tobias),จูเรียส (Juliet), และมาร์ค (Mark)  … ชีวิตแต่งงานของพวกเขาจบด้วยการหย่ากัน

แต่งงานครั้งที่สองกับอาร์เดน (Arden Seidler) มีลูกชายด้วยกันหนึ่งคนโจเซฟ (Joseph) และรับลูกบุญธรรมมาอุปการะคนหนึ่งชื่อเจนิเฟอร์ (Jennifer) , แอนนาเสียชีวิตไปก่อนที่ไนซ์เซอร์จะตาย

Don`t copy text!