Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Daniel Bernoulli

แดเนียล เบอร์นัวล์ลิ  (Daniel Bernoulli)
เบอร์นัวล์ลิ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1700 ในโกรินเก้น, สาธารณะรัฐดัตช์ (Groningen, Dutch Republic) เบอร์นัวล์ลิเป็นชาวสวิส ตระกูลของเขาเป็นนักคณิตศาสตร์มาหลานรุ่นอายุ พ่อของเขาชื่อโจฮันน์ (Johann Bernoullli) เป็นนักคณิตศาสตร์สอนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัย  โจฮันน์เป็นนักคณิตศาสตร์กลุ่มแรกที่พัฒนาแคลคูลัส
เขามีพี่น้องอีกสองคน ชื่อนิโคลัส (Nicolaus) และโจฮันน์ ที่ 2 (Johann II)
กล่าวกันว่าความสัมพันธ์ของเบอร์นัวล์ลิกับพ่อนั้นไม่ค่อยนัก เพราะว่าเขาเรียนเก่งไม่เท่ากับพี่ชายทั้งสองคน และเมื่อถึงวัยที่ต้องเข้าโรงเรียนพ่อที่เห็นว่าเขาเรียนคณิตศาสตร์ไปเก่ง ก็ต้องการให้เบอร์นัวล์ลิหันไปเรียนด้านธุรกิจแทน แต่เบอร์นัวล์ลิปฏิเสธเพราะว่าอยากจะเรียนคณิตศาตร์
ต่อมาพ่อสามารถกล่อมให้เขาไปเรียนแพทย์ได้สำเร็จ โดยที่มีเงื่อนไขว่าพ่อจะต้องสอนคณิตศาสตร์ให้กับเขา
เบอร์นัวล์ลิเข้าเรียนแพทย์ที่บาเซิ้ล (Basel), ไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg), สตราสบูร์ก (Strasbourg) 
1721 จบปริญญาเอกด้านกายวิภาคศาสตร์และพฤกษศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเบเซิ้ล
1724 จักรพรรดินีแคทเธอรีน ที่ 1 (Catherine I) แห่งรัสเซีย ได้ก่อตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St.Petersburg Academy of Sciences)  เบอร์นัวล์ลีและพี่ชายนิโคลัส  ได้ถูกเชิญมาเพื่อรับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ ณ. สถาบันแห่งนี้
มีผลงานเขียนทางคณิตศาสตร์ชิ้นแรก Exercitationes (Mathematical Exercises)
1925 เบอร์นัวล์ลีและพี่ชายเดินทางมาถึงยังรัสเซีย
1926 นิโคลัสเสียชีวิตจากโรควัณโรค, ระหว่างอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เบอร์นัวล์ลีและนิโคลัส มีความสนใจศึกษาเกมเกมหนึ่งที่พวกเขาเรียกว่า St.Petersburg Paradox ชื่อเกมถูกตั้งชื่อภายหลังตามงานเขียนของเบอร์นัวล์ลี ใน St.Peterburg Academy Proceedings (1938) ซึ่งเกมนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยนิโคลัส
กติกาของ St.Petersburg Paradox คือนักพนันจะต้องโยนเหรียญ โดยรางวัลจะเริ่มที่ 2 รูเบิ้ล และทุกครั้งที่เหรียญออกหัว นักพนันจะได้รับรางวัลเป็น 2^n , เกมจะหยุดเมื่อเหรียญออกเป็นก้อย… ปัญหาคือ เกมนี้ควรจะคิดค่าธรรมเนียมการเข้าเล่นเกมที่เท่าไหร่
1727 ได้รู้จักกับออยเลอร์ ( Leonhard Euler) ซึ่งถูกเชิญมาสอนที่สถาบันวิทยาศาสตร์ฯ เช่นเดียวกัน ออยเลอร์และเบอร์นัวล์ลีร่วมกันทำงานวิจัย และได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการไหลของเลือดกับแรงดัน ซึ่งเขายังได้สนใจศึกษาพัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นหนึ่งในทฤษฏีกลศาสตร์ของไหล ที่เรียกตามชื่อเขาว่า Bernoullli’s principle (พิมพ์ใน Hydrodynamica 1738)
1733 เพราะว่ามีอาการป่วยทำให้ตัดสินใจออกจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก กลับมาสอนหนังสือที่ ม.บาเซิ้ล ซึ่งที่นี่เขาต่อมาเขาได้ตำแหน่งอาจารย์ด้านการแพทย์, เมต้าฟิสิกส์ และปรัชญา เบอร์นัวล์ลิ สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้จนกระทั้งเขาเสียชีวิต
1734 เบอร์นัลล์ลิและโจฮันน์พ่อของเขาได้รับรางวัล Grand Prize of the Paris Academy ร่วมกัน ซึ่งว่ากันว่านั้นทำให้พ่อของเขาไม่พอใจที่ลูกชายมีสถานะเท่าเทียมกับเขา จนสั่งห้ามเบอร์นัวล์ลิเข้าบ้าน
1738 Hydrodynamica เป็นผลงานชิ้นสำคัญของเบอร์นัวล์ลิ ผู้บุกเบิกกลศาสตร์ของเหลว  เบอร์นัวล์ลียังได้พยายามใช้หนังสือเล่มนี้ลดความตรึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพ่อ ด้วยการเขียนไว้บนปกว่า “by Daniel Bernoulli, Son of Johann” แต่ว่าดูเหมือนจะไม่ได้ผล  เมื่อปีต่อมาโจฮันน์ได้เขียนหนังสืออีกเล่มชื่อ Hydraulics แต่ว่ามีความคล้ายคลึงกับงานของเบอร์นัวล์ลิออกมาก
1748 ได้เป็นสมาชิกของ Paris Academy of Sciences , ช่วงเวลานี้เขามีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการสั่นของเส้นลวด (string vibrations)  ซึ่งงานเขียนของเขามีถือเป็นการบุกเบิกทฤษฏี Superposition property
1750 ย้ายมาสอนในคณะฟิสิกของ ม.เบเซิ้ล

1782 17 มีนาคม, เสียชีวิตในเบเซิ้ล โดยที่ทั้งชีวิตของเขาไม่เคยแต่งงาน

Don`t copy text!