Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Marie Curie

มารี คูรีย์ (Marie Curie)
มารี เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 1867 ในกรุงวอซอร์ , โปแลนด์ (Warsaw, Poland, Russian Empire)ในขณะที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย 
มารีมีชื่อจริงตอนเด็กว่ามาเรีย ซาโลแม สโกลดอว์สก้า (Maria Salomea Sklodowska) เป็นลูกคนเล็กในพี่น้องทั้งหมดห้าคน พ่อและแม่ของเธอมีอาชีพเป็นครู พ่อชื่อว่าวลาดิสลาฟ (Wladyslaw Sklodowski) และแม่ชื่อโบรนิสลาว่า (Bronislawa Boguska) วลาดิสลาฟเป็นผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า แว่าโบรนิสลาว่าเป็นแคโธริค มารี มีพี่ชื่อมาเรีย (Maria) โซเฟีย (Zofia) โจเซฟ (Jozef) โบรนิสลาว่า (Bronislawa) และเฮเลน่า (Helena) ครอบครัวของพวกเขาเป็นฝ่ายที่สนับสนุนเอกราชของโปแลนด์จากรัสเซีย
1878 พฤษภาคม,แม่ของมารีเสียชีวิตจากโรควัณโรค ขณะนั้นมาเรียมาอายุเพียงสิบปี และถูกส่งเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนประจำ และต่อมาก็ย้ายมาเรียนที่จิมเนเซียม
1883 มารีเรียนจบมัธยมปลายตอนอายุ 15 โดยมีผลการเรียนระดับเหรียญทอง แต่ว่าเมื่อเรียนจบแล้วเธอไม่สามารถไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ในโปแลนด์ เนื่องจากพ่อของเธอไม่มีเงินส่งเสีย และการศึกษาระดับสูงสำหรับผู้หญิงของโปแลนด์ขณะนั้นยังไม่เปิดโอกาส ซึ่งพี่สาวของมารี บรอนย่า(โบรนิสลาว่า) ก็ประสบปัญหาเดียวกัน
มารีจีงได้ทำงานเป็นครูสอนพิเศษตามบ้านให้กับเด็กๆ ในวอร์ซอว์ เพื่อหาเงินทุนส่งให้พี่สาวของเธอเดินทางไปยังฝรั่งเศสและเข้าเรียนแพทย์ที่กรุงปารีส
1891 มารีเดินทางมายังปารีส และเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne) ทางด้านฟิสิกและคณิตศาสตร์ ในตอนแรกมารีอาศัยอยู่ที่อพาร์ตเม้นท์เดียวกับกับพี่สาวของเธอและสามีของพี่สาว คาซีมีร์ซ (Kazimierz Dluski) แต่ว่าอพาร์ตเม้นท์อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยกว่าชั่วโมง  ไม่นานมารีจึงย้ายออกมาอยู่ในย่านลาตินควอเตอร์ (Lation Quarter) ซึ่งใกล้กับที่เรียน
1893 มารีจบการไว้วุฒิปริญญาโททางด้านฟิสิก  โดยได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง แต่ว่าความกระหายความรู้ทำให้เธอยังคงเรียนต่อด้านเคมีอีก 
ระหว่างนี้เธอได้ทำงานในห้องวิจัยของศาสตราจารย์เกเบรียล (Gabriel Lippamann) ได้รับทุนจากสมาคมอุตสาหกรรมให้ทำวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบคุณสมบัติของโลหะผสมและคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็ก
1894 จบปริญญาโทด้านเคมี , ระหว่างนี้มารีได้รู้จักกับปิแอร์ คูรีย์ (Pierre Curie)
ช่วงหยุดฤดูร้อน มารีเดินทางกลับมายังโปแลนด์ โดยหวังว่าจะหางานทำในวอร์ซอว์แต่เธอถูกมหาวิทยาลัยกราโกว์ ปฏิเสธเพราะว่าเธอเป็นผู้หญิง  ทำให้มารีเดินทางกลับฝรั่งเศสและตั้งใจจะเรียนระดับปริญญาเอกต่อ
1895 26 กรกฏาคม, แต่งงานกับปิแอร์ ขณะนั้นปิแอร์มีอายุ 36 ปีแล้ว แต่เพิ่งเรียนจบปริญญาเอกด้านฟิสิกและทำงานเป็นศาสตราจารย์ ปิแอร์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแม่เหล็ก เขาค้นพบปรากฏการณ์ที่เรียกว่าคูรีย์พอย์ต (Curie Point) ซึ่งพบว่าคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กแปรผันไปกับความร้อน
พวกเขาทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกันสองคน ชื่อไอรีน (Irene, b.1897) และอีฟ (Eve)
ปีนี้วิลเฮล์ม โรเอนเจ้น (Wilhelm Roentgen) ค้บพบรังสีเอ็กซ์เรย์ (X-Rays) ซึ่งเป็นปราฏกการณ์ที่ยังไม่สามารถอธิบายได้ในขณะนั้น แต่เขาเห็นว่ามันสามารถถ่ายภาพกระดูกของมนุษย์ลงบนฟิล์มได้
1896 ฮองรี เบคกิเรล (Henri Becquerel) ค้นพบยูเรเนียม (Uranium) และพบว่ามันสามารถแผ่รังสีทะลุเหล็กได้
มารีและปิแอร์ได้สนใจศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของธาตุยูเรเนียม ซึ่งมารีได้ค้นพบว่า รังที่ออกมาจากยูเรเนียมนั้นทำให้อากาศบริเวณรอบๆ มีประจุ, เธอยังพบว่ารังสีจากยูเรเนียมไม่ได้ขขึ้นกับปริมาณของยูเรเนียมไม่ใช่คุณสมบัติทางเคมีของมัน มารีเกิดทฤษฏีที่ถูกต้องในเวลาต่อมาว่ารังสีนั้นมาจากระดับอะตอมของยูเรเนียมไม่ใช่ปฏิกริยาทางเคมี, มารียังค้นพบว่าธาตุทอเรียม (thorium) ปล่อยรังสีได้เหมือนกับยูเรเนียมด้วย
1898 มารีและสามีประกาศว่าค้นพบธาตุโพโลเนียม (Polonium) พวกเขาตั้งชื่อธาตุนี้ตามโปแลนด์ บ้านเกิดของมารี
1903 มารีเรียนจบปริญญาเอก
ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิก ร่วมกับปิแอร์ และอองรี เบคกิเรล
1906 ปิแอร์ สามีของมารีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุถูกรถม้าชน ซึ่งหลังจากนั้นมารีจึงได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกตำแหน่งของสามีของเธอ ซึ่งมารีเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้
1910 เธอสามารถแยกเรเดียม (radium) บริสุทธิออกมาได้ ซึ่งเธอค้นพบเรเดียมตั้งแต่ 12 ปีก่อน
1911 ได้เป็นสมาชิกของ Conseil du Physique Solvay
1912 ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี จากการค้นพบธาตุเรเดียมและโพโลเนียม ทำให้เธอเป็นคนแรกและคนเดียวที่เคยได้รางวัลโนเบลในสองสาขาที่แตกต่างกัน
1914 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของห้องทดลองคูรีย์ (Curie Laboratory) ซึ่งก่อตั้งขึ้นที่สถาบันเรเดียม (Radium Institute, University of Paris)  เป็นช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 ขึ้นพอดี และมารีพยายามโปรโมทการใช้รังสีเพื่อตรวจอาการของทหารที่บาดเจ็บ และพยายามจะใช้เรเดียมเพื่อการรักษาทางการแพทย์
1921 ได้พบกับประธานาธิบดีฮาร์ดิ้ง (Warren G. Harding) ของสหรัฐฯ และได้รับเรเดียม 1 กรัม เป็นของขวัญ
1922 ได้เป็นกรรมาธิการด้านองค์ความรู้ ขององค์การสันนิตบาตชาติ (Committee of Intellectual Co-operation of the League of Nations)
1923 เขียนชีวประวัติของปิแอร์ สามีของเธอที่เสียชีวิตไป ในชื่อ Pierre Curie
1925 เธอตั้งสถาบันเรเดียม (Radium Institute) ขึ้นในกรุงวอร์ซอว์
1927 เข้าร่วมประชุมโซลเวย์ (Solvey Conference on Electrons and Photons)
1929 ประธานาธิบดีฮูเวอร์ (Hoover) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้มอบเงิน 50,000 เหรียญสหรัฐฯ จากชมรมเพื่อนวิทยาศาสตร์ (American Friends of Science) ให้กับมารีเพื่อใช้ซื้อแร่เรเดียมสำหรับห้องวิจัยในกรุงวอร์ซอว์ (ขณะนั้นเรเดียม 1 กรัมมีราคากว่า 120,000 เหรียญ) 

1936 4 กรกฏาคม,​เสียชีวิตในพัสซี่ (Passy, Haute-Savoie, France)  จากอาการ aplastic anemia คาดว่ามีสาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายของเธอสะสมกัมมันตรังสีเป็นเวลาหลายปี

Don`t copy text!