Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Thomas J. Watson Sr.

โธมัส วัตสัน (Thomas John Watson, Sr.)

ผู้ก่อตั้ง IBM

วัตสัน เกิดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1874 ในแคมป์เบลล์, นิวยอร์ค (Campbell, New York, U.S.)  มาจากครอบครัวที่อพยพจากสก็อตแลนด์ช่วงปี 1840s 

พ่อของเขาทำธุรกิจค้าไม้ ชื่อโธมัส (Thomas Watson) และแม่ชื่อเจน (Jane Fulton White) มีอาชีพเป็นครู

  วัตสันเป็นลูกคนสุดท้องของบ้านและเป็นลูกชายคนเดียวในพี่น้องทั้งหมดสี่คน พี่สาวของเขาชื่อเจนนี่ (Jennie), เอฟฟี่ (Effie), ลัวอา (Loua), และเอ็มม่า (Emma) พวกเขาเติบโตขึ้นมาในฟาร์มของครอบครัวใกล้กับเพนต์ โพสต์ (Painted Post) ทางตอนใต้ของนิวยอร์ค

  วัตสันเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนหมายเลข 5 (District School Number Five)  ก่อนที่จะมาเรียนต่อที่สถาบันแอดดิสัน (Addison Academy)

ต่อมาเข้าเรียนทางด้านบัญชีและบริหารธุรกิจที่โรงเรียนพาณิชย์มิลเลอร์ (Miller School of Commerce) 

1892 ลาออกจากโรงเรียนพาณิชย์ หลังจากนั้นได้มาทำอาชีพแรกเป็นพนักงานเก็บเงินในตลาดของคลาเรนซ์ ริสเลย์ (Clarence Risley) ที่เพนต์ โพสต์ (Painted Post)  ได้เงินเดือนสัปดาห์ละ 6 เหรียญ และต่อมาเขาได้ทำงานเป็นเซลล์ขายเครื่องเย็บผ้าและเครื่องดนตรี ร่วมกับจอร์จ คอร์นเวลล์ (George Cornwell) ให้กับร้านของวิลเลี่ยม บรอนสัน (William Bronson)

1893 มาทำงานเป็นเซลล์ขายจักรเย็บผ้าของ Wheeler and Wilson แต่ว่าวัตสันถูกไล่ออกเพราะว่าวันหนึ่งเขาไปนั่งดื่มจนเมา เมื่อออกมาจากร้านปรากฏว่าสินค้าตัวอย่างของบริษัทถูกขโมยไปหมด 

1894 เปิดร้านขายาเนื้อในเมืองบัฟฟาโล่ แต่ว่าไม่นานกิจการก็เจ๊ง ซึ่งทำให้เขาไม่มีเงินที่จะผ่อนส่งค่าเครื่องบันทึกเงินสด (cash register) ที่ซื้อมา วัตสันจึงได้เดินทางไปยังบริษัท NCR (National Cash Register Company) ผู้ผลิตเครื่องบันทึกเงินสดที่เขาซื้อมา เพื่อจะของานทำ ทำให้วัตสันได้พบกับจอห์น แร็ง (John J. Range) จนในที่สุดก็ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานที่ NCR

1896 เข้ามาทำงานกับที่บริษัท NCR ในตำแหน่งพนักงานขายในสายของจอห์น แร็ง 

บริษัท NCR ตั้งอยู่ในเดย์ตัน, รัฐโอไฮโอ (Dayton, Ohio) และจอห์น แพทเตอร์สัน (John Henry Patterson) เป็นประธานบริษัท

1897 ภายในปีเดียววัตสันก็ประสบความสำเร็จมากจนได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย

1912 บริษัท NCR ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดกฏหมายต่อต้านการผูกขาด วัตสันและพนักงานอีก 29 คนถูกตั้งข้อหา

1913 วัตสันและพนักงานอีก 29 คนของบริษัทถูกตัดสินว่ามีความผิดและมีโทษจำคุกคนละหนึ่งปี แต่ว่าระหว่างการอุทรณ์ทำให้เขายังไม่ถูกลงโทษ อย่างไรก็ดี วัตสันได้ลาออกจาก NCR

17 เมษายน, แต่งงานกับแจนเน็ตต์ (Jeanette Kittredge) ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันสี่คน ได้แก่ โธมัส เจ. วัตสัน, จุเนียร์  (Thomas J. Watson, Jr.)  แจนเน็ตต์ (Jeannette Watson Irwin) เฮเลน (Helen Watson Buckner) และอาร์เธอร์ (Arthur K. Watson)

1914 วัตสันถูกไล่ออกจาก NCR  หลังจากนั้นวัตสันจึงได้ติดต่อกับชาร์ล ฟรินต์ (Charles Ranlett Flint) นักการเงิน ผู้ก่อตั้ง CTR (Computing-Tabulating-Recording Company) ขึ้นมาจากการเทคโอเวอร์บริษัทอื่นๆ 4 แห่ง ได้แก่ Bundy Manufacturing Company, International Time Recording Company, The Tabulating Machine Company, and the Computing Scale Company of America มาเป็นบริษัทเดียว CTR เป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ใช้สอยหลายอย่าง อาทิ คอมพิวเตอร์แบบบัตรเจาะรู (electrical punch-cart computing system)  เครื่องตอกบัตร เครื่องหั่นเนื้ออัตโนมัติ  

ฟรินต์พบว่าเขาไม่สามารถบริหาร CTR เองได้ จึงได้จ้างให้วัตสันเข้ามาดูแลกิจการ แต่ว่าในตอนช่วงแรก วัตสันยังมีความเสียงที่จะโดนตัดสินจำคุกอยู่ จึงได้รับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปก่อน

1915 คดีของวัตสันถูกยกฟ้อง ซึ่งหลังจากวัตสันทำงานอยู่ที่ CTR ได้  11 เดือน  เขาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานของบริษัท CTR

1924 CTR เปลี่ยนชื่อเป็น IBM (International Business Machines) 

วัตสันเป็นผู้คิดสโลแกน “Think” และ “ World Peace Through World Trade” ของ IBM

1932 วัตสันสนับสนุนรูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ในการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

1933 วัตสันเป็นผู้จัดการทรัสต์ให้กับมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) จนถึงปี 1956

1937 ได้รับตำแหน่งประธานหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce)

ได้พบกับฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ในการประชุมหอการค้านานาชาติที่จัดขึ้นที่เบอร์ลิน ซึ่งวัตสันได้รับมอบเหรียญ Order of the German Eagle ด้วย ในฐานะที่ IBM เป็นผู้สนับสนุนนาซีเยอรมัน โดย IBM ก่อตั้ง Dehomag (Deutsche Hollerith-Maschinen Gesellschaft mbH)  ขึ้นมาในเยอรมันและเป็นผู้ผลิตเครื่องทำบัตรเจาะรูที่ส่งให้กับรัฐบาลนาซี ซึ่งถูกนำไปใช้เพื่อบันทึกข้อมูลของยิว อย่างไรก็ตามธุรกิจของ IBM ในเยอรมันถือว่าถูกกฏหมายสหรัฐฯ​ ก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศเข้าร่วมสงครามโลก ในปี 1941

1940 เมื่อเกิดสงครามโลก วัตสันส่งเหรียญ Order of the German Eagle คืนให้กับทางการเยอรมัน

1949 กันยายน, ได้รับตำแหน่งประธานบริษัท IBM ในขณะที่ Dehomag ก็เปลี่ยนชื่อเป็น IBM Deutschland

1952 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ พยายามดำเนินคดีผูกขาดตลาดกับ IBM อีกครั้ง เพราะ IBM ครองส่วนแบ่งตลาด เครื่องทำบัตรเจาะรู (tabulating machines) ถึง 90% ในสหรัฐฯ

1956 มอบตำแหน่งซีอีโอของ IBM ให้กับ โธมัส เจ. วัตสัน,​จูเนียร์ลูกชาย

1956 26 มิถุนายน, เสียชีวิต  โดย IBM ขณะที่วัตสันเสียชีวิตนั้นเป็นบริษัทที่มีรายได้กว่า 897 ล้านเหรียญ และมีพนักงาน 72,500 คน

1961 ภรรยาของวัตสัน ก่อตั้งมูลนิธิ Thomas J. watson Foundation ขึ้นมา

Don`t copy text!