ปารีส คอมมูน (Commune de Paris)
ฝ่ายนิยมสังคมนิยมยกย่องว่า ปารีส คอมมูน เป็นการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ครั้งแรกในยุโรป คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ยกย่องเหตุการณ์และการต่อสู้ของชาวปารีส กลุ่มหัวรุนแรง และกองกำลังติดอาวุธในปารีส คอมมูน ว่าเป็น “dictatorship of the proletariat (ยุคเปลี่ยนผ่านจากประชาธิปไตยไปสู่คอมมิวนิสต์)”
ปารีส คอมมูน เป็นรูปแบบการปกครองตนเอง ซึ่งเกิดขึ้นในกรุงปารีส นำโดยโดยกลุ่มหัวรุนแรง นีโอ-จาโคบิน (Neo-Jacobins) อนาธิปไตย (Anarchists) และพวกสังคมนิยม (Sociailists) ซึ่งปารีส คอมมูนมีอายุ 72 วันระหว่างวันที่ 18 มีนาคม 1871 -28 พฤษภาคม 1871
เป็นผลจากสงครามระหว่างปรัสเซีย-ฝรั่งเศส (France-Prussia War, 19 กรกฏาคม 1870-28 มกราคม 1871) ซึ่งอ๊อตโต้ ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck) ได้พยายามรวมสหพันธรัฐเยอรมันเหนือ (North German Confederation) เข้ากับสี่รัฐเยอรมันทางใต้ คือ บาวาเรีย (Bavaria) เวิร์ตเตมเบิร์ก (Württemberg) บาเดน (Baden) และเฮซเซ่-ดารมสแต๊ดต์ (Hesse-Darmstadt) ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐอิสระ แต่ว่าฝรั่งเศสไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้เยอรมันแข็งแกร่ง
19 กรกฏาคม 1870 นโปเลียน ที่ 3 (Napoleon III) จึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมัน แต่ว่าต่อมาฝรั่งเศสแพ้สงครามให้กับฝ่ายเยอรมัน ฝ่ายสภาแห่งชาติ (National Assembly) ซึ่งเป็นรัฐบาลฝรั่งเศสขณะนั้นประกาศยอมแพ้ แต่ว่าปารีส ซึ่งถูกปิดล้อมจากโลกภายนอกโดยกองทัพเยอรมัน ปฏิเสธที่จะยอมแพ้ กลุ่มหัวรุนแรงในปารีสจึงได้ประกาศตั้งรัฐบาลเพื่อปกครองตัวเองขึ้นมา
ลำดับเหตุการณ์
1848 หลุยส์-นโปเลียน โปนาปาร์ต (Louis-Napoleon Bonaparte) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ 2 (The Second French Empire)
1851 หลุยส์-นโปเลียน ทำการปฏิวัติยึดอำนาจรัฐบาลของตัวเอง หลังจากนั้นเขาได้รับการสนับสนุนจากสภาสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิ หลุยส์ นโปเลียน จึงมีพระนามใหม่ว่าจักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 (Napoleon III) ซึ่งทำให้สาธารณรับฝรั่งเศส ที่ 2 จบลงด้วย
1864 (First International) การประชุมสากลว่าด้วยปัญหาแรงงาน จัดโดยกลุ่มฝ่ายซ้าย นักสังคมนิยม นักอนาธิปไตย และคอมมิวนิสต์ จัดขึ้นครั้งแรกในลอนดอน มีแกนนำสำคัญอย่าง คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ไฟร์ดริช เอนเกิ้ล (Friedrich Engels) มิคาอิล บาคุนิน (Mikhail Bakunin) หลุยส์ แบลนกุย (Louis Auguste Blanqui) กุเซปเป้ การิบัลดิ (Giusseppe Garibaldi)
1868 Basel Congress
1869 (French election) การเลือกตั้งทั่วไปในฝรั่งเศส แสดงให้เห็นความแตกแยกของประชาชนออกเป็นสองกลุ่ม โดยการเลอกตั้งรอบแรกนั้น มีผู้ออกเสียง 4.43 ล้านคน ที่สนับสนุนผู้แทนที่สนับสนุนจักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 ในขณะที่ผู้ออกเสียง 3.35 ล้านคนออกเสียงสนับสนุนฝ่าย่สาธารณรัฐ
ในขณะเดียวกันในกรุงปารีส ฝ่ายสาธารณรัฐนั้นครองเสียงส่วนใหญ่ โดยมีผู้สนับสนุน 234,000 เสียง ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนจักรพรรดินั้นมี 77,000 เสียง
ปารีสในขณะนั้นมีประชากร 2 ล้านคน และ 5 แสนคนเป็นแรงงานในโรงงานต่างๆ ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่จะสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐ กรุงปารีสในขณะนั้นจึงเหมือนศูนย์รวมของกลุ่มหัวรุนแรงที่ต้องการการปฏิวัติ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ First International
ผู้นำกลุ่มหัวรุนแรงในปารีสขณะนั้น เช่น กลุ่มของหลุยส์ ออกัสเต้ แบลนกุย (Louis Auguste Blanqui) ที่มีสมาชิกพันกว่าคน โดยหลายคนเคยเป็นนักโทษ
1870 13 กรกฏาคม, Ems Telegram
19 กรกฏาคม, สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) จักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 ประกาศสงครามกับสหพันธรัฐเยอรมันเหนือ ซึ่งนำโดยปรัสเซีย
2 กันยายน, จักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 แห่งฝรั่งเศส พ่ายแพ้ให้กับปรัสเซียในการรบที่สมรภูมิเซดาน (Battle of Sedan) และพระองค์ถูกจับตัวเอาไว้ได้
เมื่อข่าวการแพ้ในสงครามมาถึงปารีส ทำให้ประชาชนในปารีสพากันโกรธแค้นและออกมาประทัวงบนท้องถนน จักรพรรดินียูจีนี (Empress Eugenie) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการได้เสร็จหนีออกจากปารีส
กลุ่มหัวรุนแรงและผู้ที่ฝักใฝ่ระบบสาธารณรัฐในรัฐสภาจึงได้รวมตัวกันจัดประชุมสภาแห่งชาติ (National Assembly) ขึ้นที่โฮเดล เดอ วิลล์ (Hôtel de Ville) และได้สถาปณาสาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Third Republic) ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ทีฝรั่งเศสปกครองด้วยระบบสาธารณรัฐ
4 กันยายน, ที่ประชุมสภาแห่งชาติได้ตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่ารัฐบาลแห่งชาติเพื่อการป้องกันประเทศ (Government of National Defense) ซึ่งรัฐบาลใหม่ของฝรั่งเศสตัดสินใจที่จะทำสงครามกับเยอรมันต่อไป
- นายพล หลุยส์ จูลส์ (General Louis Jules Trochu) ได้รับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล
- ลีออน แกมเบตต้า (Leon Gambetta) รัฐมนตรีมหาดไทย
- จูลส์ ฟาฟเร่ (Jules Favre) รองประธานาธิบดี, รัฐมนตรีต่างประเทศ
- อะโดเฟ เล โฟล (Adolphe Le Flo) รัฐมนตรีกลาโหม
- ลีออน มาร์ติน ฟัวริชอน (Leon Martion Fourichon) รัฐมนตรีกองทัพเรือและอาณานิคม
- เออร์เนสต์ ปิคาร์ด (Ernest Picard) รัฐมนตรีคลัง
- จูลส์ เฟอร์รี่ (Jules Ferry) เลขานุการรัฐบาล
- จูลส์ ไซม่อน (Jules Simon) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษา, ศาสนาและศิลปะ
- อะโดลฟี ครีเมียกซ์ (Adolphe Cremieus) รัฐมนตรียุติธรรม
- เอ็มมานูเอล อะราโก้ (Emmanuel Arago) รัฐมนตรีมหาดไทย
- ปิแอร์ โดเรียน (Pierre Frederic Dorian) รัฐมนตรีคมนาคม (minister of public work)
- อเล็กซานเดอร์ เกลส-ไบซอน (Adexandre Glais-Bizoin) รัฐมนตรี (Minister without Portfolio)
- เฮนรี่ โรเชฟอร์ต (Henri Rochefort) รัฐมนตรี
- ยูจีน เปลเลแตน (Eugene Pelletan) รัฐมนตรี
18-20 กันยายน, จูลส์ ฟาฟเร่ รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้มีโอกาสกับบิสมาร์คที่คฤหาสของรอธสชิลด์ (rothschild) ในเฟอร์เรส (Ferrières) ชานกรุงปารีส แต่ว่าไม่สามารถตกลงเรื่องการยุติสงครามได้ เพราะเยอรมันต้องการดินแดนบางส่วนและเงินชดเชยมหาศาล
19 กันยายน, (Siege of Paris) กรุงปารีสตกอยู่ในวงล้อมของกองทัพปรัสเซีย นำโดยกษัตริย์วิลเลี่ยม (William I of Prussia) , เจ้าชายอัลเบิร์ต (Crown Prince Albert of Saxony) มงกุฏราชกุมาร และเอลมุท ฟอน โมลต์กี้ (Helmuth von Moltke) ซึ่งมีกำลังทหารรวมกันราว 250,000 นาย
ในขณะปารีสมีกำลังทหารปกติ 50,000 นาย ภายใต้การบัญชาการของนายพลลูอีส-จูลส์ ทราชู (Louis-Jules Trochu) ขณะที่กองกำลังสนับสนุนอีก 300,000 นาย สังกัด National Guard (เป็นกองกำลังพลเรือน) เป็นกำลังที่ขาดประสบการณ์และไม่ได้รับการฝึกฝน ส่วนใหญ่ของ National Guard มาจากกลุ่มแรงงาน กลุ่มหัวรุนแรงและสนับสนุนระบบสาธารณรัฐ
ในวันนี้ สมาชิก National Guard หลายพันคน ภายใต้การนำของยูจีน วาร์ลิน (Eugene Varlin) พากันเดินขบวนภายในปารีส เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งรัฐบาลของปารีสขึ้นมาเป็นของตนเอง โดยกลุ่มผู้ประท้วงใช้พากันใช้คำขวํญ “Long Live the Commune” ร้องตะโกนระหว่างการเดินขบวน
ช่วงเดือนตุลาคม นายพลลูอีส-จูลส์ ทราชู พยายามทำกองทัพฝ่าวงล้อมของเยอรมันออกจากปารีสหลายหลัง แตว่าไม่ประสบความสำเร็จ และการสื่อสารระหว่างปารีสกับส่วนอื่นของฝรั่งเศสก็ถูกเยอรมันตัดขาดออกจากกัน
7 ตุลาคม, ลีออน แกมเบตต้า รัฐมนตรีมหาดไทย หนีออกจากปารีส โดยอาศัยบอลลูน “Armand-Barbès” เพื่อที่จะไปรวบรวมกำลังเพื่อกลับมาทลายวงล้อมของเยอรมัน
28 ตุลาคม, มีข่าวมาถึงปารีส ว่าทหารฝรั่งเศส 160,000 นายซึ่งติดอยู่ในวงล้อมของเยอรมันที่เมืองเมตซ์ (Metz) ได้ยอมวางอาวุธ ซึ่งวันเดียวกันนี้ทหารในปารีสก็พยายามจะฝ่าวงล้อมออกจากปารีสอีกครั้งจากด้านบัวเก็ต (Bourget) แต่ก็ล้มเหลว และต้องเสียกำลังพลไปมากมาย
31 ตุลาคม, National Guard นำโดย หลุยส์ ออกัสเต้ แบนควี (Louis Auguste Blanqui), เฟริกซ์ ไพแอ๊ต (Felix Pyat), หลุยส์ ชาร์ล เดเลสคลูซ (Louis Charles Delescluze) บุกยึด Hotel de Ville เรียกร้องให้นายพลลูอีส-จูลส์ ทราชู ลาออก และติดอาวุธให้กับ National Guard นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้มีการตั้งรัฐบาลปกครองตัวเองของปารีสขึ้นมา
แต่ว่าต่อมามีทหารและ National Guard ที่ยังสนับสนนุนายพลลูอีส-จูลส์ ทราชูได้เดินทางมาที่ Hotel de Ville และทำให้ผู้ประท้วงที่ยึด Hotel de Ville เอาไว้ยอมถอยกลับไปโดยที่ไม่เกิดเหตุรุนแรงอะไร
ขณะที่ฝรั่งเศสภายนอกปารีส อะโดฟี เทียร์ (Adolphe Thiers) สมาชิกสภาแห่งชาติ ถูกส่งโดยรัฐบาลให้ได้เดินสายทั่วยุโรปเพื่อหาเสียงสนับสนุนจากนานาชาติในการช่วยฝรั่งเศสต่อต้านเยอรมัน แต่ว่าไม่มีชาติใดที่ยืนมือเขามาช่วยเหลือ ทำให้อะโดฟี เทียร์ เห็นว่าการเจรจากับเยอรมันเพื่อยุติสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
1 พฤศจิกายน, อะโดฟี เทียร์ มีโอกาสได้พบกับบิสมาร์ค ที่เมืองทัวร์ (Tours) ซึ่งถูกเยอรมันยึดเอาไว้ แต่ว่าการเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ และรัฐบาลของบิสมาร์ค ก็ตัดสินใจทำสงครามกับเยอรมันต่อไป
3 พฤศจิกายน, มีการลงคะแนนเสียงในปารีส ว่าจะสนับสนุนให้ Government of National Defence หรือไม่ ซึ่งเสียง 557996 เสียง สนับสนุน ในขณะที่ 62,638 คัดค้าน
ช่วงปลายปี อากาศหนาวเย็น และปารีสเริ่มเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร เชื้อเพลิงสำหรับสร้างความอบอุ่นและยารักษาโรค ประชาชนจำเป็นต้องกินหนูและสัตว์ในสวนสัตว์เพื่อเป็นอาหาร
1871 ต้นปี เยอรมันเบื่อที่จะปิดล้อมปารีสไว้เฉยๆ จึงได้ใช้ปืนใหญ่ยิ่งกระสุนเข้าไปในเมืองวันละหลายร้อยนัด ทำให้กระแสความไม่พอใจนายพลลูอีส-จูลส์ ทราชู เพิ่มสูงขึ้นในปารีส
22 มกราคม, กลุ่มหัวรุนแรงใน National Guard ซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่ม Blanquists ได้รวมตัวกันภายนอกของ Hotel de Ville ซึ่งยังมีทหารรักษาการณ์อยู่ภายใน เหล่าผู้ประท้วงเรียกร้องให้ทหารมาอยู่ใต้การควบคุมของพลเรือน และให้จัดให้มีการเลือกตั้งภายในปารีส ขึ้นมาในทันที
ช่วงเวลาบ่ายสถานการณ์ตึงเครียด และเกิดการปะทะของสองฝ่ายด้วยอาวุธปืน มีฝ่ายผู้ประท้วง 6 คนถูกยิงเสียชีวิต
26 มกราคม, รัฐบาลฝรั่งเศส Government of National Defense ในบอรด๊วกซ์ (Bordeaux) ตกลงทำข้อตกลงยุติสงครามกับเยอรมัน โดยมีเงือนไขพิเศษให้กับปารีส ว่าเยอรมันจะต้องไปบุกเข้ายึดปารีส และทหารฝรั่งเศสจะยอมวางอาวุธ และจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงิน 200 ล้านฟรังค์
8 กุมภาพันธ์, (French legislative election) การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ (National Assembly) ชุดใหม่ของฝรั่งเศส ผลปรากฏว่าฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ยังได้รับเลือกเข้ามาเป็นเสียงส่วนใหญ่ โดยสภามีทั้งหมด 645 ที่นั่ง และ 396 ที่นั่งเป็นของฝ่ายที่สนับสนุนกษัติรย์ และ 222 ที่นั่งเป็นของกลุ่มฝ่ายซ้ายซึ่งสนับสนุนสาธารณรัฐ
17 กุมภาพันธ์, อะโดฟี เทียร์ ได้รับเลือกจากสภาให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งชาติ
24 กุมภาพันธ์, ฝรั่งเศสลงนามในข้อตกลงยุติสงครามกับเยอรมัน
10 มีนาคม, รัฐบาลฝรั่งได้กลับมาใช้แวร์ซายส์ (Versailles) ในการบริหารราชการ
17 มีนาคม, อะโดฟี เทียร์ ได้สั่งให้มีการปลดอาวุธ National Guard ในปารีส และส่งทหารเข้าไปยึดปืนใหญ่ของฝ่าย National Guard ที่มองมาร์แตร์ (Montmartre)
18 มีนาคม, National Guard ในปารีสได้สังหารแม่ทัพของฝรั่งเศสสองนาย นายพลคลู๊ด เลอคอมเต้ (Claude Lecomte) และ นายพลฌาค คลีเมน-โทมัส (Jacques Leon Clement-Thomas) ที่นำกำลังทหารเข้าไปปลดอาวุธ
National Guard เข้ายึด Hotel de Velle และได้ปฏิเสธอำนาจของรัฐบาลฝรั่งเศส วันนี้จึงถือเป็นวันที่เกิด Paris commune ขึ้นมา
ซึ่งกลุ่มผู้ก่อการในการตั้งปารีส คอมมูน นั้นประกอบไปด้วยหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่มีบทบาทที่สุด คือ Blanquists ซึ่งเป็นกลุ่มหัวรุนแรงติดอาวุธ ที่สนับสนุน หลุยส์ ออกัสเต้ แบลนควี , กลุ่มจาโคบิน (Jacobin) , กลุ่มสมาคมแรงงานสากล (International Workingmen’s Association)
โดยที่ National Guard ของปารีส คอมมุน นั้นมีคณะกรรมการกลาง ทั้งหมด 38 คน
26 มีนาคม, คณะกรรมการของปารีส คอมมูน ได้จัดการเลือกตั้งภายในกรุงปารีสขึ้นมาเอง โดยมีสมาชิกที่ถูกเลือกมาทั้งหมด 92 คน โดยมาจากกลุ่ม
ซึ่งพวกเขาได้ฟอร์มรัฐบาลของปารีส คอมมูน ขึ้นมา
- กุสตาฟ คลูสเร็ต (Gustave Cluseret) ผู้แทนด้านกลาโหม (deleage of the Wate)
- ยูจีน โปรตอต (Eugen Protot) ผู้แทนด้านยุติธรรม (delegate to Justice)
- ออกัสตัส วิอาร์ด (Augustus Viard) ผู้แทนด้านเสบียง (delegate to subsistences)
- เอ็ดดูอาร์ด เวลแลนด์ (Edouare Viallant) ผู้แทนด้านการศึกษา (delegate to Education)
- ราอูล ริโกลต์ (Raoul Rigault) เลขานุการด้านความมั่นคง (general security)
- ลีโอ แฟรงเกิ้ล (Leo Frankel) ผู้แทนด้านแรงงาน, อุตสาหกรรมและการค้า
- จูลส์ แอนดรีว (Jules Andrieu) ดูแลงานด้านคมนาคม
ซึ่งรัฐบาลปารีส คอมมูน ได้ออกกฏหมายออกมาหลายข้อ อาทิ การยกเลิกการอุดหนุนศาสนา, ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร, นำระบบปฏิทินสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary calender) กลับมาใช้, กำหนดชั่วโมงแรงงานไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อวัน, ห้ามใช้แรงงานทำขนมปังในเวลากลางคืน , สั่งแบนหนังสือพิมพ์ของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล
28 มีนาคม, ธงแดง (Drapeau rouge) ถูกประกาสใช้เป็นสัญลักษณ์
3 เมษายน, National Guard ถูกส่งไปโจมตีแวร์ซายส์ ที่ตั้งของรัฐบาล
4 เมษายน, ฝ่ายผู้สนับสนนุนปารีส คอมมูน หรือเรียกว่าคอมมูนนาร์ด (Communards) ซึ่งจับตัวประกันเอาไว้ 47 คน ได้สังหารตัวประกันทั้งหมด ด้วยการยิงเป้า หนึ่งในนั้นคือ อาร์กบิชอฟ จอร์เจส ดาร์บอย (Georges Darbboy) หลังจากรัฐบาลฝรั่งเศสปฏิเสธข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัว หลุยส์ ออกัสเต แบนกุย ซึ่งถูกจับตัวไว้
16 พฤษภาคม, ปารีส คอมมูน ได้ทำลาย Vendôme Column ซึ่งเป็นอนุเสาวรีย์ที่สร้างเป็นอนุสรณ์เพื่อฉลองชัยชนะของนโปเลียน ที่ 1 (Napoleon I) ที่เอาชนะรัสเซียและออสเตรียได้ ซึ่งไอเดียการทำลายอนุสาวรีย์ มาจากกุสตาฟ คัวร์เบต (Gustave Courbet) ช่างสีคนหนึ่งของ ปารีส คอมมูน
21-28 พฤษภาคม, (La semaine saglante, The Bloody Week) รัฐบาลฝรั่งเศส ได้ส่งกองทัพเข้ามาปราบปรามปารีส คอมมูน ซึ่งทำให้ฝ่ายก่อการของปารีส คอมมูนถูกสังหารไปกว่า 20,000 คน ในขณะที่ทหารของรัฐบาลฝรั่งเศส เสียชีวิต 750 คน นอกจากนั้นยังมีผู้ถูกจับกุมอีก 38,000 คน
นอกจากนั้นพระราชวังตูไรส์ (Tuileries palace) ห้องสมุดลูฟร์ (Louvre) ที่ทำการศาลยุติธรรม (Palais de Justice) วังโรยัล (Palais-Royal) วังออร์เซย์ (Palais d’Orsay) ก็ถูกเผาในช่วงที่มีการต่อสู้กันระหว่างสองฝ่าย