Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Urbain Le Verrier

เออร์เบน เลอ แวร์ริเยร์ (Urbain Le Verrier)
ผู้พบดาวเนปจูน , และสมมุติฐานเกี่ยวกับดาววัลแคน (Vulcan planet)
เลอ แวร์ริเยร์ เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1811 ในเซนต์โล, ฝรั่งเศส (Saint-Lô) พ่อของเขาชื่อหลุยส์ (Louis-Baptiste Le Verrier) และแม่ชื่อมาเรีย (Marie Jeanne Pauline Josephine Baudre)
1827 เข้าเรียนที่คานคอลเลจ (Lycée Malherbe-Caen)
1831 เข้าเรียนที่อีโคเล่ โพลีเทคนิค (Ecole Polytechnique) ในกรุงปารีส จากนั้นได้เข้าเรียนที่ Gay-Lussac เป็นช่วงเวลาสั้นๆ 
1833 หลังจบการศึกษาได้ทำงานเป็นวิศวกรในโรงงานยาสูบ
1835 ลาออกจากโรงงานยาสูบ
1837 เมื่ออายุ 26 ได้งานเป็นอาจารย์สอนวิชาดาราศาสตร์ที่อีโคเล่โพลีเทคนิค ซึ่งทันที่เขาทำงานเขาก็ทุ่มเทให้กับการศึกษาวงโครจรของดาวพุธ (Mercury) 
แต่งงานกับลูซีลล์ โคเกต์ (Lucille Clotilde Choquet)แต่ต่อมามีลูกด้วยกันสองคน
1839 มีผลงานเขียน On the Secular Variations of the Orbits of the Planets (Sur les variations séculaires des orbites des planètes)
1845 ช่วงเวลานี้เขามีความสนใจเกี่ยวกับการโครจรของดาวยูเรนัส (Uranus) ซึ่งในเวลานั้นนักดาราศาสตร์พบว่าวงโครจรของดาวยูเรนัสผิดปกติกว่าที่คิดคำนวณได้ จึงพยายามหาคำอธิบายว่าเกิดจากสาเหตุอะไร  ซึ่งเลอ แวร์ริเยร์ หลังจากคำนวณแล้ว เข้าจึงได้ตั้งทฤษฏีว่า ดาวยูเรนัสได้รับผลจากแรงดึงดูดจากดาวอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน , เลอ แวร์ริเยร์ ได้มอบรายงานผลของการคำนวณของเขาให้กับนักดาราศาสตร์ประจำสถาบันดาราศาสตร์เบอร์ลิน (Berlin Observatory) ชื่อโจฮันน์ แกลเล่ (Johann Gottried Galle) ซึ่งโจฮันน์ใช้การคำนวนของเลอ แวร์ริเยร์ ก็สามารถค้นพบดาวเนปจูน (Neptune) ได้ภายในเวลาชั่วโมงเดียวจากเริ่มสังเกตุบนท้องฟ้า 
เมื่อเลอ แวร์ริเยร์ เตรียมที่จะประกาศว่าเป็นผู้ค้นพบตำแหน่งของดาวเนปจูน เขาก็พบว่จอห์น อดัม (John Couch Adams) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบดาวดวงนี้ไปก่อนหน้าเขาไม่นาน
อย่างไรก็ตาม เลอ แวร์ริเยร์ และจอห์น อดัมได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ค้นพบดาวเนปจูนทั้งคู่
1846 ได้เป็นสมาชิกของ French Academy of Sciences 
1849 ได้รับลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภา โดยเขาจัดอยู่ในกลุ่ม Amis de l’Ordre ฝ่ายขวาที่ต่อต้านปารีสคอมมูน (Paris Commune) และสนับสนุนนโยบายของหลุยส์-นโปเลียน (Louis-Napolean Bonaparte)
1851 ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก
1854 เขาได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันดาราศาสตร์ปารีส (Paris Observatory) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ทำงานที่นี่จนกระทั้งเสียชีวิต
1855 ได้เป็นสมาชิกของ Royal Swedish Academy of Sciences
1859 ระหว่างที่ศึกษาวงโครจรของดาวพุธ (Mercury) อยู่นั้น เขาพบว่ากลศาสตร์ (The universal gravitation) ของนิวตัน (Isaac Newton) นั้นไม่สามารถอธิบายการโครจรที่ช้าผิดปกติของดาวพุธได้ เขาจึงได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่ามีดาวดาวอีกดวงหนึ่งที่โครจรอยู่ใกล้กับดาวพุธ จึงส่งผลกระทบต่อการโครจร ดวงดาวในข้อสันนิษฐานของเลอ แวร์ริเยร์นี้ จึงถูกตั้งชื่อว่าดาววัลแคน (Vulcan Planet)
เลอ แวร์ริเยร์ คำนวณว่าดาววัลแคน จะโคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 1877 แต่ว่าเมื่อถึงเวลาดังกล่าวกลับไม่พบดาวดวงนี้  ซึ่งใช้เวลาอีกหลายสิบปี จนกระทั้ง 1915 ที่ทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์จะอธิบายความผิดปกติของวงโคจรของดาวพุธ
1870 มีการประท้วงไล่ให้เลอ แวร์ริเยร์ ลาออกจากตำแหน่งที่หอดูดาว 
1873 ได้รับการคืนตำแหน่งผู้อำนวยการของหอดูดาวอีกครั้งหนึ่ง

1877 23 กันยายน, เสียชีวิตในปารีส ร่างของเขาถูกฝังที่สุสานมอนต์ปาร์แนสซ์ (Montparnasse cemetery)

Don`t copy text!